การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาการบริหารงานขององค์การบริหารงานส่วนตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา

ผู้แต่ง

  • พระปราโมทย์ พุทฺธธมฺโม (แซ่ลี้) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พงศ์พัฒน์ จิตตานุรักษ์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุริยา รักษาเมือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การประยุกต์, หลักพุทธธรรม, การบริหารงาน

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนาการบริหารงาน 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักพุทธธรรมกับการพัฒนาการบริหารงาน และ 3. ศึกษาปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะต่อการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อการพัฒนา ประสิทธิภาพการบริหารงานขององค์การบริหารงานส่วนตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา ระเบียบวิธีวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณดำเนินการโดยศึกษากลุ่มตัวอย่างจำนวน 367 คน โดยวิธีการสุ่มแบชั้นภูมิ จากประชากรจำนวน 4,389 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน

ผลการวิจัยพบว่า 1. ความสัมพันธ์ระหว่างหลักพุทธธรรมกับการพัฒนาการบริหารงานของ องค์การบริหารงานส่วนตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา พบว่า หลักอิทธิบาท 4 โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับปานกลาง (R=.774**) 2. การบริหารงานตามหลักอิทธิบาท 4 เพื่อการพัฒนาการบริหารงานขององค์การบริหารงานส่วนตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา พบว่า บุคลากรเอาใจใส่ในการปฏิบัติหน้าที่ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากทุกด้าน 3. การพัฒนาการบริหารงานขององค์การ บริหารงานส่วนตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา พบว่า ด้านคุณภาพการให้บริการได้มาตรฐาน ด้านปริมาณงานได้จำนวนมากขึ้น ด้านเวลาในการดำเนินการแต่ละขั้นตอนลดลง

References

จิตตานันท์ ติกุล และคณะ. (2559). รูปแบบการบริหารจัดการที่เหมาะสมของศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทาง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (รายงานวิจัย). นครราชสีมา:มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี.

ธงชัย คล้ายแสง. (2562). การพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงกีฬาโดยการบูรณาการหลักพุทธธรรมของจังหวัดบุรีรัมย์ (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระจำเริญ อุตฺตเตโช (นวน). (2561). การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อการบริหารงานขององค์การบริหารส่วน ตำบลบ้านโพธิ์ อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณทิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาจรูญ อภิธมฺมจิตฺโต และคณะ. (2564). หลักธรรมเพื่อการบริหารตน บริหารคน และบริหารงาน. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาปรีชา เขมนนฺโท (เหล่าทวีคุณ). (2561). การประยุกต์หลักอิทธิบาทธรรมเพื่อการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาวิเศษ กนฺตธมฺโม (มั่งคั่ง). (2564). พุทธบูรณาการเพื่อการพัฒนาประสิทธิผลการบริหารงานของเทศบาลเมืองในจังหวัดชลบุรี (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พัทธนัญพร พิพิธวรโภคิน. (2563). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อเพิ่มผลิตภาพในการปฏิบัติราชการของบุคลากรองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดปทุมธานี

(ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สมคิด บางโม. (2550). องค์การและการจัดการ (ฉบับพิมพ์ที่ 4 แก้ไขเพิ่มเติมจากฉบับพิมพ์ที่ 3). กรุงเทพฯ: บริษัทวิทยพัฒน์ จำกัด.

สุทิน สลางสิงห์. (2564). ประสิทธิภาพการบริหารการเงินการคลังของโรงพยาบาลชุมชนจังหวัดมุกดาหาร. วารสารวิจัยและพัฒนาระบบสุขภาพ, 14(2), 152-153.

องค์การบริหารส่วนตำบลเทพราช อำเภอบ้านโพธิ์ จังหวัดฉะเชิงเทรา. (2565). บุคลากรที่ปฏิบัติงานขององค์การบริหารส่วนตำบลเทพราช. สืบค้น 14 กุมภาพันธ์ 2565, จาก http ://www.teppharach.go.th

Yamane Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd ed.). New York: Harper and Row Publication.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-07-01

How to Cite