การส่งเสริมภาวะผู้นำนักการเมืองท้องถิ่นตามหลักทุติยปาปณิกธรรม สำหรับนักการเมืองท้องถิ่นในเทศบาลตำบลเมืองคง จังหวัดนครราชสีมา
คำสำคัญ:
ภาวะผู้นำ, นักการเมืองท้องถิ่น, ทุติยปาปณิกธรรมบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาระดับภาวะผู้นำสำหรับนักการเมืองท้องถิ่น 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำนักการเมืองท้องถิ่นกับหลักทุติยปาปณิกธรรม และ 3. นำเสนอการส่งเสริมภาวะผู้นำนักการเมืองท้องถิ่นในเทศบาลตำบลเมืองคง จังหวัดนครราชสีมา ตามหลักทุติยปาปณิกธรรม การวิจัยเป็นแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่าง คือ ประชาชนที่มีสิทธิเลือกตั้งของเทศบาลตำบลเมืองคง อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 327 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบสมมติฐานโดย โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน การวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 10 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับภาวะผู้นำสำหรับนักการเมืองท้องถิ่นในเทศบาลตำบลเมืองคง จังหวัดนครราชสีมา โดยรวมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย 3.81 ด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านการคำนึงถึงความเป็นปัจเจกบุคคล ค่าเฉลี่ย 3.84 คือ ด้านการมีอิทธิพลอย่างมีอุดมการณ์ ค่าเฉลี่ย 3.83 และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด คือ ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ค่าเฉลี่ย 3.73 2. ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำนักการเมืองท้องถิ่นกับหลักทุติยปาปณิกธรรม มีความสัมพันธ์กันอยู่ในระดับสูง (r=.0.781**) มีระดับนัยสำคัญทางระดับสถิติที่ระดับ 0.01 3. การนำเสนอแนวทางการส่งเสริมภาวะผู้นำนักการเมืองท้องถิ่นตามหลักทุติยปาปณิกธรรม 1. ด้านจักขุมา ผู้นำควรเป็นผู้ที่มีความคิดที่ทันสมัย ทันสถานการณ์ และมองการณ์ไกล มีความรอบรู้ รู้เท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็วของสังคมโลก 2. ด้านวิธูโร ผู้นำต้องเข้าถึงปัญหาต่าง ๆ ด้วยปัญญา เพื่อแก้ปัญหาต่าง ๆ ให้ชุมชนนั้นเกิดการพัฒนาในทางที่ดี 3. ด้านนิสสยสัมปันโน ผู้นำต้องมีมนุษยสัมพันธ์ที่ดี โดยใช้การสื่อสารกับประชาชนผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ปฏิบัติงานด้วยความมีจิตใจที่ซื่อสัตย์ สุจริต โดยไม่มีการแสวงหาผลประโยชน์ส่วนตน
References
จรรยา ศิวานนท์. (2558). จิตวิทยาสังคม. กรุงเทพฯ: ภาควิชาจิตวิทยามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
จุมพล หนิมพานิช. (2551). ผู้นำ อำนาจและการเมืองในองค์การ (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี:มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2551). ธรรมะในชีวิตประจำวัน กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระปลัดเอกชัย จนฺทโชโต (คงชีวะ). (2566). พุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นําของนักการเมืองท้องถิ่นจังหวัดสระบุรี. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 6(3), 113-124.
พระปัญญา โชติธมฺโม (แก้วหาวงค์). (2561). ภาวะผู้นำตามหลักปาปณิกธรรมของผู้บริหารเทศบาลเมืองท่าเรือพระแท่น อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี. วารสาร มจร มนุษยศาสตรปริทรรศน์, 9(1), 154-168.
พระปิติพงษ์ ธมฺมปาโล (แน่นนอก). (2566). คุณลักษณะผู้นำทางการเมืองตามแนวพระพุทธศาสนาของผู้บริหารเทศบาลตำบลเมืองคง อำเภอคง จังหวัดนครราชสีมา (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระปิยวัฒน์ ปิยสีโล (จักร์แต). (2554). การบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของเทศบาลเมืองแพร่ จังหวัดแพร่. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มรุต วันทนากร. (2552). ประวัติและการพัฒนาเทศบาล. กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.
เสกสรรค์ สนวา และคณะ. (2561). คุณลักษณะของผู้นำองค์การภาครัฐสมัยใหม่. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 20,(พิเศษ), 399-411.
อารยา บนกลาง. (2565). จำนวนประชากรเทศบาลเมืองคง ปี พ.ศ. 2565. นครราชสีมา: เทศบาลตำบลเมืองคง.
Cronbach, L.J. (1990). Essentials of psychological testing. (5th ed.). New York: Harper Collins.
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Analysis (3rd Ed.). Harper and Row: New York.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น