การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเทศบาลตำบลเนินพระ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง

ผู้แต่ง

  • ธีรนัย สุวรรณโชติ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การประยุกต์, หลักพุทธธรรม, การมีส่วนร่วมทางการเมือง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมทางการเมือง 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักอปริหานิยธรรมกับการมีส่วนร่วมทางการเมือง และ 3. นำเสนอการประยุกต์หลักอปริหานิยธรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตำบลเนินพระ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.979 ได้กลุ่มตัวอย่างจากสูตรของทาโร่ ยามาเน่ 392 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยโปรแกรมสำเร็จรูป และการวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 9 รูปหรือคน ได้แก่ นักวิชาการด้านพระพุทธศาสนา นักวิชาการด้านรัฐศาสตร์ และนักการเมืองท้องถิ่น โดยใช้การสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1. การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในเทศบาลตำบลเนินพระ โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2. หลักอปริหานิยธรรม 7 มีความสัมพันธ์กับการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในตำบลเนินพระ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.01 โดยมีความสัมพันธ์เชิงบวก อยู่ในระดับปานกลาง (r=.365**) และ 3. การประยุกต์หลักอปริหานิยธรรม 7 เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน 1. ด้านการเลือกตั้ง ส่งเสริมให้ประชาชนไปใช้สิทธิ และไม่ทำผิดกฎ 2. ด้านการมีส่วนร่วมในการปกครองส่วนท้องถิ่น เปิดโอกาสให้ประชาชนได้ตรวจสอบนักการเมือง หมั่นประชุมกันเพื่อมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา 3. ด้านการประชาพิจารณ์ ประชาชนมีโอกาสชี้แจงข้อเท็จจริง มีสิทธิ เสรีภาพในการรับรู้ข่าวสารทางการเมือง และได้รับความคุ้มครองตามหลักของกฎหมายอย่างเท่าเทียม

References

จารุวรรณ แก้วมะโน. (2566). ความเป็นพลเมืองกับอนาคตประชาธิปไตยไทย. สืบค้น 2 มกราคม 2566, จาก http://ppd.kpi.ac.th/index.php?name=content& main_id=12&page_id=49

จินตนา กะตากูล. (2562). การมีส่วนร่วมการเลือกตั้งทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชน ศึกษาเฉพาะกรณี หมู่ที่ 4 ตำบลช้างซ้าย อำเภอพระพรหม จังหวัดนครศรีธรรมราช (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์การปกครอง). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฎราชวิทยาลัย.

ชูศรี วงศ์รัตนะ. (2541). เทคนิคการใช้สถิติเพื่อการวิจัย (พิมพ์ครั้งที่ 7). กรุงเทพฯ: เทพเนรมิตการพิมพ์.

นิติพันธ์ อินทโชติ. (2563). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองไทย ในจังหวัดชัยภูมิ (ดุษฎีนิพนธิ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระชาญชัย ติสฺสวํโส (ศรีแพทย์). (2562). การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการมีส่วน ร่วมทางการเมืองของประชาชนในเขตเทศบาลนครระยอง จังหวัดระยอง. สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต. พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระทรงวุฒิ รัตนะ. (2564). การกล่อมเกลาทางการเมืองของประชาชนที่มีผลต่อการใช้สิทธิเลือกตั้งทั่วไปในอำเภอบ้านธิ จังหวัดลำพูน. วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์, 4(1), 44-53.

พระมหาเอกกวิน ปิยวีโร (อะซิ่ม). (2564). การนำหลักพุทธธรรมาภิบาลไปประยุกต์ใช้ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดนครศรีธรรมราช (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พัททดล เสวตวรรณ. (2564). การพัฒนาทางการเมืองที่มีผลต่อการบริหารงานขององค์กรส่วนปกครอง ท้องถิ่นในจังหวัดอุทัยธานี (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. (2560, 6 เมษายน) ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 134 ตอนที่ 40 ก.

สันติเลิศ เพ็ชรอาภรณ์. (2547). ปัญหาการมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 : ศึกษาเฉพาะกรณีการเสนอร่างกฎหมายและการถอดถอนผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองของประชาชน (วิทยานิพนธ์นิติศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

สิน พันธุ์พินิจ. (2547). เทคนิคการวิจัยทางสังคม. กรุงเทพฯ: บริษัทจูนพลับลิซซิ่ง จำกัด

สุทน ทองเล็ก. (2564). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนในจังหวัดสระแก้วในการเลือกตั้งทั่วไป ปี พ.ศ. 2562 (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลง กรณราชวิทยาลัย.

Yamane, T. (1973). Statistics: An introductory analysis. (3rd ed.). New York: New York: Harper& Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-09-02

How to Cite