การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อนักการเมืองท้องถิ่น ในอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี

ผู้แต่ง

  • สุมาลี บุญเรือง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • พระครูปริยัติวิสุทธิบัณฑิต (ประจักษ์ จกฺกธมฺโม) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • อภิวัฒน์ จ่าตา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

ความไว้วางใจทางการเมือง, นักการเมืองท้องถิ่น, หลักสังคหวัตถุ 4

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาสภาพการบริหารงานในเทศบาลเมืองบางกรวย 2. เพื่อศึกษาองค์ประกอบความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อนักการเมืองท้องถิ่น และ3. เพื่อนำเสนอการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อนักการเมืองท้องถิ่น ในอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี โดยการวิจัยเชิงคุณภาพใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 19 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารงานในเทศบาลเมืองบางกรวย ด้านคน ต้องมีการพัฒนาบุคลากรผ่านการฝึกอบรม เพื่อให้บุคลากรมีความรู้และทักษะที่ทันสมัย ด้านเงิน ต้องมีการจัดทำรายงานทางการเงินและการเผยแพร่ข้อมูลทางการเงินให้ประชาชนทราบ ด้านวัสดุ จัดหาวัสดุและการบริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพสามารถบริการประชาชน ด้านเครื่องจัก การจัดการขยะ การบำรุงรักษาถนน การจัดการน้ำและไฟฟ้า 2. การฝึกฝนให้เป็นคนเปิดเผย การมีความยุติธรรม พูดตรงตามความรู้สึกตนเอง บอกความจริง แสดงความคงเส้นคงวา รักษาคำมั่นสัญญา รักษาความเชื่อมั่น แสดงให้เห็นถึงความสามารถ ถือเป็นองค์ประกอบสำคัญที่ก่อให้เกิดความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชน 3. การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อนักการเมืองท้องถิ่น ในอำเภอบางกรวย จังหวัดนนทบุรี พบว่า ทาน โอบอ้อมอารี ให้ความช่วยเหลือแก่ประชาชน ปิยวาจา วจีไพเราะ พูดอย่างตรงไปตรงมา อัตถจริยา สงเคราะห์ประชาชน บำเพ็ญสาธารณประโยชน์เพื่อประชาชน สมานัตตา เสมอต้นเสมอปลาย การรับผิดชอบต่อสาธารณะและประชาชนในชุมชน

References

ชาญชัย อาจินสมาจาร. (2544). การบริหารการศึกษา. กรุงเทพฯ: ศูนย์สื่อเสริมกรุงเทพ.

นิภา ทัตตานนท์. (2563). ความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดขอนแก่น (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระไกรสร สุมโน. (2563). ความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อนักการเมืองท้องถิ่นในจังหวัดเลย (วิทยานิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์).พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระเมธาวินัยรส (สุเทพ ปสิวิโก). (2564). อิทธิพลพรรคการเมืองที่มีผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานคร (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

สุนันทา เลาหนันท์. (2549). การบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

จริยา มหายศนันทน์. (2558). การพัฒนาบทบาทและหน้าที่ ในการบริหารงานขององค์กร ปกครองส่วนท้องถิ่น (ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-11

How to Cite