ประสิทธิผลการส่งเสริมการบริหารงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดฉะเชิงเทรา
คำสำคัญ:
ประสิทธิผล, การบริหารงาน, งานเผยแผ่พระพุทธศาสนาบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาประสิทธิผลการส่งเสริมการบริหารงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดฉะเชิงเทรา 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการส่งเสริมการบริหารงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดฉะเชิงเทรา 3. นำเสนอประสิทธิผลการส่งเสริมการบริหารงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาของสำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดฉะเชิงเทราโดยการประยุกต์หลักพละ 4 ด้วยการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 18 รูปหรือคน วิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา การวิจัยเชิงปริมาณ เก็บข้อมูลจากแบบสอบถามกลุ่มตัวอย่าง คือ พระสังฆาธิการจังหวัดฉะเชิงเทรา จำนวน 399 รูป สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร
ผลการวิจัยพบว่า การบริหารงานตามหลัก PDCA หลักพละ 4 และประสิทธิผลการส่งเสริมการบริหารงานเผยแผ่พระพุทธศาสนามีระดับมากทุกด้าน การบริหารงานส่งผลต่อประสิทธิผลการส่งเสริมการบริหารงานเผยแผ่พระพุทธศาสนามีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ .05 คือ การปรับปรุง การตรวจสอบ การวางแผน การปฏิบัติตามแผน ทำนายได้ร้อยละ 63.1 ด้านพละ 4 มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 คือ สังคหพละ อนวัชชพละ ปัญญาพละ วิริยพละ ทำนายได้ร้อยละ 48.3 และประสิทธิผลการส่งเสริมการบริหารงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาโดยการประยุกหลักพละ 4 ทั้ง 5 ด้าน คือ ด้านผลผลิต มีแผนงานเผยแผ่ในพื้นที่ที่ตรงกับความต้องการด้วยทรัพยากร 4M มีระบบฐานข้อมูลและกิจกรรมที่สนองต่อคณะสงฆ์และประชาชน ด้านประสิทธิภาพ คุ้มค่า ประหยัดเวลา ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมได้ ด้านความพึงพอใจ ปฏิบัติงานได้รวดเร็วแก้ปัญหาของคณะสงฆ์ ด้านการปรับเปลี่ยน ปรับรูปแบบการทำงานเชิงรุกในพื้นที่ อบรมส่งเสริมงานเผยแผ่ให้ทั่วถึง และด้านการพัฒนา ส่งเสริมความรู้ร่วมกับหลักธรรมเป็นศูนย์การเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมงานเผยแผ่พระพุทธศาสนาที่เหมาะสมทุกช่วงวัย ด้วยการประยุกต์หลักพละ 4 นำไปสู่ประสิทธิผลการส่งเสริมการบริหารงาน และกระบวนการบริหารงานทั้ง 4 ด้าน เป็นฐานในการส่งเสริมการบริหารงานให้ประสบความสำเร็จ
References
พระพงษ์ศักดิ์ สนฺตมโน. (2564). พุทธธรรมาภิบาลเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรเทศบาลในจังหวัดสระแก้ว (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระราชวรเมธี และคณะ. (ม.ป.ป.). แผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา 2560-2564. ม.ป.ท.
รัตนา ตฤษณารังสี. (2565). การส่งเสริมคุณภาพชีวิตตามแนวพุทธธรรมาภิบาลของแรงงานไทยสภาองค์การนายจ้าง เอส. เอ็ม. อี. แห่งประเทศไทย (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา : มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ศูนย์การเผยแผ่พระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2566). แผนแม่บทการเผยแผ่พระพุทธศาสนา พ.ศ. 2566-2580. กรุงเทพฯ: สามลดา.
ศูนย์บริหารวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.(ม.ป.ป.). แผนยุทธศาสตร์สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ 20 ปี ระยะที่ 1 (พ.ศ. 2560-2564). มปท.
สำนักงานพระพุทธศาสนาจังหวัดฉะเชิงเทรา. สรุปข้อมูลเจ้าคณะผู้ปกครองสงฆ์พระสังฆาธิการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2567 จังหวัดฉะเชิงเทรา. สืบค้น 11 มกราคม 2567, จาก http://css.onab.go.th/th/content/category/detail/id/108/iid/65163.
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2566). รายงานประจำปี 2565. กรุงเทพฯ: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สำนักงานเลขาธิการมหาเถรสมาคม. (2562). คู่มือพระสังฆาธิการ. กรุงเทพฯ: สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สุจิตรา สวาทยานนท์. (2566). พุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมประสิทธิผลการปฏิบัติงานของพนักงานในธุรกิจขายปลีกขนาดเล็กในจังหวัดปทุมธานี (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
MGR Online. (2550). เตรียมรวมงานพุทธศาสนา แก้ปัญหาความไม่เป็นเอกภาพ. สืบค้น 21 มกราคม 2567, จาก http://mgronline.com/dhamma/detail/
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น