การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการตัดสินใจในการออกเสียงเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่นในจังหวัดตรัง

ผู้แต่ง

  • ณรงค์กร ดำรงคดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ธัชชนันท์ อิศรเดช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • สุรพล สุยะพรหม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

สาราณียธรรม, การตัดสินใจออกเสียงเลือกตั้ง, การเลือกตั้งท้องถิ่น

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปของการตัดสินใจออกเสียงเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่น 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการตัดสินใจออกเสียงเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่น 3. เพื่อนำเสนอการบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการตัดสินใจออกเสียงเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่นในจังหวัดตรัง โดยประยุกต์หลักสาราณียธรรม 6 เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 18 รูปหรือคน ส่วนการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง 400 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ

ผลการวิจัยพบว่า 1. ประชาชนมีความกระตือรือร้นและตื่นตัวในกิจกรรมทางการเมือง ยอมรับความแตกต่างในอุดมการณ์ทางการเมือง มีความรู้ความเข้าใจการมีส่วนร่วมทางการเมือง วิเคราะห์สถานการณ์ทางการเมืองอย่างมีเหตุผลและแก้ไขความขัดแย้งได้อย่างเหมาะสม 2. การกล่อมเกลาทางการเมืองและหลักสาราณียธรรมส่งผลต่อการตัดสินใจออกเสียงเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาท้องถิ่นในจังหวัดตรัง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. การบูรณาการหลักสาราณียธรรม 6 เพื่อส่งเสริมการตัดสินใจออกเสียงเลือกตั้ง ประกอบด้วย ปฏิบัติดีและใช้วาจาที่ดีต่อกันบนพื้นฐานเหตุผล คิดสิ่งที่เป็นประโยชน์ แบ่งปันผลประโยชน์เป็นธรรม รักษากฎระเบียบและให้ความสำคัญกับศีลธรรม ปฏิบัติตามมติของเสียงข้างมาก

References

กรณัฐ ระงับทุกข์. (2564). การพัฒนาความเป็นพลเมืองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนที่มีผลต่อการเลือกตั้งทั่วไปในกรุงเทพมหานคร (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

กลุ่มงานสารนิเทศ. (2555). การใช้สิทธิออกเสียงเลือกตั้ง. กรุงเทพฯ: สำนักประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร.

กษิดิศ รอดน้อย. (2566). ความทันสมัยทางการเมืองที่ส่งผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งผู้บริหารและสมาชิกสภาองค์การบริหารส่วนตำบล จังหวัดเพชรบูรณ์ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ณฐมน หมวกฉิม. (2564). การตื่นตัวทางการเมืองของเยาวชนในระบอบประชาธิปไตยที่มีผลต่อการเลือกตั้งทั่วไปของไทย (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ไพวรรณ ปุริมาตร. (2564). พลวัตทางการเมืองกับการเสริมสร้างวัฒนธรรมทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของนักการเมืองท้องถิ่น (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

โภคิน พลกุล. (2530). ปัญหาและข้อคิดบางเรื่องจากรัฐธรรมนูญ. กรุงเทพฯ: สมาคมสังคมศาสตร์แห่งประเทศไทย.

รัชฎากร เอี่ยมอำไพ. (2564). รูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมทางการเมืองของประชาชนที่มีผลต่อการตัดสินใจในการเลือกตั้งทั่วไป. (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ลิขิต ธีรเวคิน. (2559). ประชาธิปไตยไทยในทศวรรษ 21 : ทางตัน ทางออก และแนวทางแก้ไข. ในวุฒิสาร ตันไชย, อรทัย ก๊กผล, ธีรพรรณ ใจมั่น และภควัต อัจฉริยปัญญา. ประชาธิปไตยไทยในทศวรรษใหม่ (KPIYEARBOOK) (หน้า 3-28). กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

สถาบันพระปกเกล้า. (2551). ทศธรรม : ตัวชี้วัดการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: สถาบันพระปกเกล้า.

สุมาลี บุญเรือง. (2564). การพัฒนาการตื่นตัวทางการเมืองของประชาชนในระบอบประชาธิปไตยที่มีผลต่อการเลือกตั้งทั่วไป (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดตรัง. (2563). จำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ส.อบจ. และนายก อบจ. ตรัง. ตรัง: องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจังหวัดตรัง.

Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis. New York: Harper and Row.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-01

How to Cite