พุทธบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิผลการบริหารงาน ของสถานีตำรวจภูธรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
คำสำคัญ:
พุทธบูรณาการ, ประสิทธิผล, การบริหารงาน, สถานีตำรวจภูธรบทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาประสิทธิผลการบริหารงานของสถานีตำรวจภูธรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานของสถานีตำรวจภูธรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 3. เพื่อนำเสนอพุทธบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิผลการบริหารงานของสถานีตำรวจภูธรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรคือ ประชาชนในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กำหนดกลุ่มตัวอย่างจำนวน 400 ตัวอย่าง เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบเป็นขั้นตอน การวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญที่คัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 21 รูปหรือคน แบ่งเป็น 6 กลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา
ผลการวิจัยพบว่า 1. ประสิทธิผลการบริหารงานของสถานีตำรวจภูธรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยภาพรวมมีการปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ( =3.79, S.D.=0.27) 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิผลการบริหารงานของสถานีตำรวจภูธรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า 1. การบริหารงานตามยุทธศาสตร์ 4 ด้านของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ สามารถร่วมกันทำนายประสิทธิผลการบริหารงานของสถานีตำรวจภูธรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ร้อยละ 80.8 (Adjusted R2=.808) 2. หลักพละ 4 สามารถร่วมกันทำนายประสิทธิผลการบริหารงานของสถานีตำรวจภูธรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้ร้อยละ 94.1 (Adjusted R2=.941) 3. พุทธบูรณาการเพื่อเสริมสร้างประสิทธิผลการบริหารงานของสถานีตำรวจภูธรในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา พบว่า สามารถนำหลักพละ 4 มาประยุกต์ได้ดังนี้ ด้านปัญญาพละ เป็นการบริหารงานด้วยปัญญา ด้านวิริยพละ เป็นการบริหารงานด้วยความเพียร ด้านอนวัชพละ เป็นการบริหารงานด้วยความสุจริต และ ด้านสังคหพละ เป็นการบริหารงานด้วยการสงเคราะห์
References
คณิตดา กรรณสูต. (2565). พุทธวิธีการบริหารจัดการองค์กรคุณภาพของบริษัทมหาชนจำกัด (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
จังหวัดพระนครศรีอยุทธยา. (2566). ข่าวจาก สนง.ประชาสัมพันธ์. สืบค้น 11 พฤศจิกายน 2566, จาก https://ww2.ayutthaya.go.th/news/detail/14581.
ชัยยุทธ ถาวรานุรักษ์. (2565). สภาพปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาโครงสร้างการบริหารองค์กรตำรวจไทย. วารสารกฎหมายสงขลานครินทร์, 4(2), 1-20.
ถนัด ไชยพันธ์. (2560). การประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมเพื่อการส่งเสริมประสิทธิผลในการบริหารงานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น จังหวัดอุบลราชธานี (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา:มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ปกาศิต เจิมรอด. (2563). การพัฒนาการมีส่วนร่วมในการป้องกันอาชญากรรมของประชาชนในชุมชน เทศบาลนครพระนครศรีอยุธยา อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารวิชาการอยุธยาศึกษา, 12(1), 41-55.
พระอธิการอนุชา นุตฺตลาโภ. (2566). การพัฒนาสมรรถนะการปฏิบัติงานตามหลักพละ 4 ของบุคลากรองค์การบริหารส่วนตำบลพลับพลาไชย อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 6(4), 15-28.
มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. (2539). พระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วันเพ็ญ วัฒนกูล. (2566). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมประสิทธิผลการบริหารงบประมาณด้านการศึกษาโรงเรียนสังกัดกรุงเทพมหานคร กลุ่มเขตกรุงธนใต้ (ดุษฎีนิพนธ์ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วิศิษฎ์ แดนโพธิ์ และ คณะ. (2562). การบริหารงานตำรวจในการป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ของกองบัญชาการตำรวจภูธรภาค 5. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 6(5), 2251-2270.
สำนักงานยุทธศาสตร์ตำรวจ. (2564). แผนปฏิบัติราชการสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2564. สืบค้น 4 มกราคม 2566, จาก https://rtpstrategy.police.go.th.
MGR Online. (2558). การปฏิรูปตำรวจในสถานการณ์สังคมปัจจุบัน. สืบค้น 4 มกราคม 2566, จาก https://mgronline.com/daily/detail/9580000000479.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น