การพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองตามหลักธรรมาธิปไตยของประชาชนตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง

ผู้แต่ง

  • เอกลักษณ์ สุนทราลักษณ์ เทศบาลเมืองมาบตาพุด
  • อนุภูมิ โซวเกษม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ธัชชนันท์ อิศรเดช มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนาการมีส่วนร่วม, การมีส่วนร่วมทางการเมือง, หลักสุจริต 3

บทคัดย่อ

บทความนี้ มุ่งศึกษา 1. ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักสุจริต 3 กับการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง และ 3. นำเสนอแนวทางการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ตามหลักสุจริต 3 เป็นการวิจัยแบบผสมผสาน การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 390 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ คำนวณค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสุจริต 3 กับการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการนำเสนอเนื้อหาแบบเชิงพรรณนา

ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก  2. ความสัมพันธ์ระหว่างหลักสุจริต 3 กับการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวก อยู่ในระดับปานกลาง 3. แนวทางการพัฒนาการพัฒนาการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชนตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ตามหลักสุจริต 3 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก โดยมีแนวทางในการพัฒนา คือ 1. ด้านกายสุจริต ประชาชนยึดกฎหมายและประพฤติปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนด 2. ด้านวจีสุจริตประชาชนมีการประชาสัมพันธ์ทางการเมือง โดยยึดหลักการสื่อสารทางการเมืองอย่างมีหลักการ 3. ด้านมโนสุจริต ประชาชนมีจิตสำนึกต่อหน้าที่ บทบาทความเป็นพลเมืองของประเทศ

References

คะนอง วังฝายแก้ว. (2560). การเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม ของนักการเมืองท้องถิ่นตามหลักสุจริต 3. (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

จรูญ สุภาพ. (2515) หลักรัฐศาสตร์. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพานิช.

ปิ่นอนงค์ ทองบ่อ. (2563). การเสริมสร้างความเข้าใจการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยของประชาชนในเขตเทศบาลตำบลพระอินทราชา อำเภอบางปะอิน จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาณรงค์ ธมฺมเมธี (ศรีพันลม). (2564). การมีส่วนร่วมของประชาชนกับการเลือกตั้งทั่วไปของชุมชนท่าเตียน กรุงเทพมหานคร. (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระมหาสมคิด สมฺปนฺโน และคณะ. (2564) การนำหลักสุจริตมาพัฒนาศักยภาพของนักการเมืองท้องถิ่น. วารสารมหาจุฬาตานีปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, 3(5), 40-46.

พระมหาหรรษา ธมฺมหาโส. (2561). สุจริตธรรมในฐานะเครื่องมือป้องกันการทุจริตคอร์รัปชันในสังคมไทย ปัจจุบัน. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2566, จาก https://www.mcu.ac.th/article/detail/439

รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560. (2560, 6 เมษายน). ราชกิจจานุเบกษา. (หมวด 1) เล่ม 134 ตอนที่ 40. หน้า ก.

สากล พรหมสถิต. การมีส่วนร่วมของประชาชนในทางการเมือง. (งานประชุมวิชาการรัฐประศาสนศาสตร์ระดับชาติ ครั้งที่ 7/2561). รัฐประศาสนศาสตร์ไทย 4.0: ประชารัฐ นวัตกรรม และความท้าทาย. สืบค้นเมื่อ 15 มีนาคม 2566, จาก http://blog.bru.ac.th/wp-content/uploads/bp-attachments/15097

สุรพล สุยะพรหม และ สุทธิรัก ศรีจันทร์เพ็ญ. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยทางการจัดการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Turner, B. S. (2000). Contemporary Problems in the Theory of Citizenship. Citizenship and Social Theory. London: Sage Publications Ltd.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-14

How to Cite