การประยุกต์หลักสุจริตธรรมเพื่อส่งเสริมการไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่น ของประชาชนในเขตเทศบาลนครระยอง จังหวัดระยอง
คำสำคัญ:
หลักสุจริตธรรม, การเลือกตั้ง, เทศบาลนครระยองบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้ มุ่งศึกษา 1. ระดับการไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นของประชาชนในเขตเทศบาลนครระยอง จังหวัดระยอง 2. เปรียบเทียบการไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นของประชาชนในเขตเทศบาลนครระยอง จังหวัดระยอง และ 3. ประยุกต์หลักสุจริตธรรมในส่งเสริมการไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นของประชาชนในเขตเทศบาลนครระยอง จังหวัดระยอง เป็นการวิจัยแบบผสานวิธี การวิจัยเชิงปริมาณ ประชากรกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 397 คน การวิจัยเชิงปริมาณ วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาความถี่ คิดเป็นเปอร์เซ็นต์ คำนวณค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้วิธีการสัมภาษณ์ผู้ให้ข้อมูลเชิงลึก จำนวน 9 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการนำเสนอเนื้อหาแบบเชิงพรรณนา เป็นการวิจัยที่ประยุกต์หลักสุจริตเพื่อส่งเสริมการไปใช้สิทธิเลือกตั้ง
ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการไปใช้สิทธิเลือกตั้งท้องถิ่นในเขตเทศบาลนครระยอง จังหวัดระยอง อยู่ในระดับปานกลาง ( =3.17, S.D.=0.74) 2. ประชาชนที่มีอายุ การศึกษา อาชีพ และรายได้ต่างกัน มีปัจจัยในการไปใช้สิทธิเลือกตั้งที่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนเพศไม่มีผลแตกต่าง 3. หลักกายสุจริต ประชาชนควรเตรียมตัวและศึกษาข้อมูลก่อนใช้สิทธิเลือกตั้ง เพื่อรักษากฎระเบียบและไม่ทำผิดกติกา ควรให้เกียรติสถานที่และศึกษาผลงานของผู้สมัครที่ผ่านมาหมายถึงการตรวจสอบความประพฤติของตัวแทนที่เลือก หลักวจีสุจริต ประชาชนควรตระหนักถึงสิทธิและเสรีภาพของตนเอง ขณะเดียวกันต้องเคารพสิทธิของผู้อื่นและปฏิบัติตามกฎหมายและระบอบประชาธิปไตย หลักมโนสุจริต ก่อนเลือกตั้ง ประชาชนควรคิดแยกแยะคุณสมบัติของผู้สมัคร โดยเลือกผู้ที่มีความประพฤติดีและมีความรับผิดชอบต่อส่วนรวม การวางแผนก่อนการลงคะแนนจะช่วยให้เลือกตัวแทนที่เหมาะสมมากขึ้น
References
กองการเลือกตั้ง. (2563). รายงานสถานการณ์การเลือกตั้งท้องถิ่นในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้ง.
คนอง วังฝายแก้ว. (2560). การเสริมสร้างความรับผิดชอบต่อสังคม ของนักการเมืองท้องถิ่นตามหลักสุจริต 3 (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ณัฐกาญจน์ เข็มนาค. (2564). พฤติกรรมทางการเมืองในการออกเสียงลงคะแนน เลือกตั้งทั่วไป ปี พ.ศ. 2562 ในตำบลท่าช้าง อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครราชสีมา.วารสารวิชาการรัฐศาสตร์และรัฐประศาสนศาสตร์, 3(1), 23-33.
นิมิต ไชยรัตน์. (2551). การมีส่วนร่วมของประชาชนที่มีต่อการปกครองส่วนท้องถิ่น: ศึกษาเฉพาะกรณี องค์การบริหารส่วนตำบลบางคูรัด อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี (สารนิพนธ์ศาสนศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการเมืองการปกครอง). นครปฐม: มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย.
บุศรา โพธิสุข. (2558). การมีส่วนร่วมทางการเมืองท้องถิ่นของประชาชน : ศึกษาเฉพาะกรณี ตำบลช้างเผือก อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. วารสารพิฆเนศวร์, 16(1), 151- 161.
พระกันภณ ปญฺญาทีโป (จันทร์พิมพ์). (2566). การมีส่วนร่วมทางการเมืองของ ประชาชนที่มีผลต่อการตัดสินใจเลือกตั้งท้องถิ่นในอำเภอบ้านฉาง จังหวัดระยอง. วารสารพุทธนวัตกรรมและการจัดการ, 6(3), 43-54.
พระครูศรีธรรมวิเทศ (ประเสริฐ ปญฺโญภาโส). (2564). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของประชาชนในการเลือกตั้งทั่วไปในอำเภอเมือง จังหวัดชุมพร (สารนิพนธ์รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระราชบัญญัติสภาตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล กองราชการส่วนตำบล. (2560). ข้อมูลสภา ตำบลและองค์การบริหารส่วนตำบล, (อัดสำเนา).
สุพัตรา สุภาพ. (2556). สังคมวิทยา. กรุงเทพฯ: ไทยวัฒนาพาณิชย์.
สุรพล สุยะพรหม และ สุทธิรัก ศรีจันทร์เพ็ญ. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยทางการจัดการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น