การประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการกล่อมเกลาทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของเยาวชนในอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง

ผู้แต่ง

  • วิภัช แสงงาม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • อภิญญา ฉัตรช่อฟ้า มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • อนุภูมิ โซวเกษม มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การประยุกต์พุทธธรรม, ประชาธิปไตย, การกล่อมเกลาทางการเมือง, จังหวัดระยอง

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์หลักดังนี้ 1. เพื่อศึกษาระดับการกล่อมเกลาทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของเยาวชนในอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง 2. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างหลักพุทธธรรมกับการกล่อมเกลาทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของเยาวชนในอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง และ 3. เพื่อศึกษาการประยุกต์หลักพุทธธรรมเพื่อส่งเสริมการกล่อมเกลาทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของเยาวชนในอำเภอปลวกแดง จังหวัดระยอง การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบผสาน ทั้งการวิจัยเชิงปริมาณและคุณภาพ โดยเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 366 คน ด้วยแบบสอบถาม และสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 9 คน การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติเชิงพรรณนาและการทดสอบสมมติฐานด้วยค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกแบบมีโครงสร้างเพื่อพรรณนาความ

ผลการวิจัยพบว่า 1. ระดับการกล่อมเกลาทางการเมือง โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านสถาบันครอบครัว ด้านสถาบันการศึกษา ด้านชุมชนและกลุ่มเพื่อน ด้านสถาบันทางศาสนาด้านสถาบันทางการเมือง อยู่ในระดับปานกลางทุกด้าน 2. ความสัมพันธ์ระหว่างหลักพุทธธรรมและการกล่อมเกลาทางการเมือง พบว่าหลักสังคหวัตถุ 4 มีความสัมพันธ์เชิงบวกสูง กับการกล่อมเกลาทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตย โดยมีความสัมพันธ์ในระดับสูงกับทุกด้าน 3. การประยุกต์หลักพุทธธรรม เพื่อส่งเสริมการกล่อมเกลาทางการเมืองในเยาวชนอยู่ในระดับมาก โดยหลักที่มีการประยุกต์สูงสุดคือหลักอัตถจริยา การสร้างจิตสำนึก และหลักทาน การให้ความรู้ ขณะเดียวกัน การส่งเสริมการกล่อมเกลาทางการเมืองในสถาบันทางการเมืองและครอบครัวควรเน้นการเปิดโอกาสให้เยาวชนแสดงความคิดเห็นและให้ความรู้เกี่ยวกับการเมืองอย่างต่อเนื่อง

References

คณะกรรมการการเลือกตั้ง. (2566). รายงานสถานการณ์การเลือกตั้งและการรัฐประหารในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: คณะกรรมการการเลือกตั้ง.

พระณัฐพงษ์ ณฏฺฐวํโส (สุดใจ) และคณะ. (2565). การกล่อมเกลาทางการเมืองในระบอบประชาธิปไตยของเยาวชนหนองฉาง จังหวัดอุทัยธานี. วารสาร มจร การพัฒนาสังคม, 7(2), 202-212.

พระสุนทร ธมฺมธโร (บุญคง). (2561). การประยุกต์ใช้หลักสังคหวัตถุ 4 ในชุมชนวัดหนองสนม จังหวัดระยอง (พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ฟาติมา ไทยเศรษฐ์. (2560). สถาบันในกระบวนการกล่อมเกลาทางการเมืองที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมทางการเมืองของนักศึกษาระดับอุดมศึกษา จังหวัดกาญจนบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 37(2), 249-268.

มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. (2564). วัฒนธรรมทางการเมืองและการพัฒนาระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศูนย์ศึกษาทางการเมือง. (2566). การเปลี่ยนแปลงของการเมืองไทย: การรัฐประหารและระบอบประชาธิปไตย. กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาทางการเมือง.

สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์. (2565). การวิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุของการรัฐประหารในประเทศไทย. กรุงเทพฯ: สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

สำนักข่าวไทย. (2566). บทบาทของเยาวชนในการเรียกร้องสิทธิเสรีภาพและการพัฒนาการเมือง. กรุงเทพฯ: สำนักข่าวไทย.

สุรพล สุยะพรหม และ สุทธิรัก ศรีจันทร์เพ็ญ. (2553). ระเบียบวิธีวิจัยทางการจัดการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

อภิวัฒน์ จ่าตา. (2565) การบริหารจัดการของรัฐในการส่งเสริมกัญชาเสรีเพื่อการแพทย์ทางเลือกของไทย. วารสารปัญญาปณิธาน, 4(1), 33-45.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-10

How to Cite