การสื่อสารนโยบายสาธารณะโดยการประยุกต์ใช้โซเซียลมีเดียของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลมิตรภาพ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี
คำสำคัญ:
การสื่อสารนโยบายสาธารณะ, หลักพุทธสื่อสาร, ผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลมิตรภาพบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. ศึกษาระดับการสื่อสารนโยบายสาธารณะโดยการประยุกต์ใช้โซเชียลมีเดียของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลมิตรภาพ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี 2. ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างพุทธสื่อสารกับการสื่อสารนโยบายสาธารณะโดยการประยุกต์ใช้โซเชียลมีเดียของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลมิตรภาพ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี 3. นำเสนอแนวทางการสื่อสารนโยบายสาธารณะโดยการประยุกต์ใช้โซเชียลมีเดียของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลมิตรภาพ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี เป็นแบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณและเก็บข้อมูลจากการแจกแบบสอบถาม จากกลุ่มตัวอย่างจำนวน 367 คน และสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 9 รูปหรือคน ได้วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการหาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพวิเคราะห์เนื้อหา ประกอบบริบท นำเสนอเป็นความเรียงประกอบตารางแจกแจงความถี่เพื่อสนับสนุนข้อมูลเชิงปริมาณ
ผลการวิจัยพบว่า 1. การสื่อสารนโยบายสาธารณะโดยการประยุกต์ใช้โซเชียลมีเดียของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลมิตรภาพ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.27, S.D. = 0.62) 2. ความสัมพันธ์ระหว่างพุทธสื่อสารกับการสื่อสารนโยบายสาธารณะโดยการประยุกต์ใช้โซเชียลมีเดียของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลมิตรภาพ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี พบว่า โดยภาพรวม มีความสัมพันธ์เชิงบวกในระดับมาก (R = .851**) 3. แนวทางการสื่อสารนโยบายสาธารณะโดยการประยุกต์ใช้โซเชียลมีเดียของผู้บริหารองค์การบริหารส่วนตำบลมิตรภาพ อำเภอมวกเหล็ก จังหวัดสระบุรี พบว่า ผู้รับสาร (Receiver) เป็นตัวบ่งชี้ว่าควรมีวิจารณญาณในการเลือกรับข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ มีกระบวนการคิด การวิเคราะห์ การแยกแยะ และกลั่นกรองข้อมูลข่าวสารที่ได้รับจากผู้ส่งสารก่อนที่จะเชื่อหรือนำข้อมูลนั้น ไปใช้หรือบอกต่อผู้ส่งสารคนอื่น ๆ ให้ถูกต้อง ครบถ้วน
References
กานดา รุณนะพงศา. (2566). ความหมายโซเชียลมีเดียหมายถึง. สืบค้น 5 มกราคม 2566, จาก https://www.gotoknow.org/posts/567331%5B2
ณัฐพล บัวอุไร. (2566). ผลการจัดการเรียนรู้โดยใช้สื่อสังคมออนไลน์ตามทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง. สืบค้น 4 มกราคม 2566, จาก http://www.slideshare.net/jokesparrow/ss-21042416.
นิเทศ สนั่นนารี, จรัส ลีกา และสาริกา ไสวงาม. (2561). การสื่อสารเชิงพุทธเพื่อสร้างความปรองดองในสังคม. วารสารบัณฑิตศึกษามหาจุฬาขอนแก่น, 5(1), 159-160.
ปฎิภาณ ชัยช่วย. (2558). การสื่อสารประเด็นสาธารณะของสังคมไทยผ่านนวัตกรรมการสื่อสารเพื่อการรณรงค์เว็บไซต์ Change.org. วารสารวิชาการ Veridian E-Journal, Silpakorn University สาขามนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์และศิลปะ, 9(2), 1526-1536.
ปัทมา สมพรชัยกิจ และอรนุช เลิศจรรยารักษ์. (2556). การสื่อสารภายในองค์การสำนักเทศกิจกรุงเทพมหานคร (วารสารศาสตรมหาบัณฑิต สาขาการจัดการการสื่อสารองค์กร). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พระครูธรรมธรบุญเที่ยง พุทธสาวโก. (2564). การบูรณาการหลักพุทธธรรมกับการสื่อสารทางการเมืองเพื่อเสริมสร้างความสมานฉันท์ (ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระปรีชา ขนฺติพโล. (2560). พุทธวิธีการสื่อสารศีล 5 เพื่อส่งเสริมชุมชนหมู่บ้านสันติสุข อำเภอปง จังหวัดพะเยา (พุทธศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาธรรมนิเทศ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มนัสนันท์ ศิวะพรพัฒนา. (2565). การสื่อสารทางการเมืองของนักการเมืองที่มีผลต่อการไปใช้สิทธิ์เลือกตั้งทั่วไปของประชาชนในอำเภอบ้านบึง จังหวัดชลบุรี (รัฐศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รัฐนันท์ หนองใหญ่. (2558). ปัจจัยการสื่อสารภายในองค์กรที่ส่งผลต่อการเปิดรับข่าวสารของพนักงาน : กรณีศึกษาโรงแรมเดอะซายน์แอนล์วิลล่า (บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการประชาสัมพันธ์และสื่อสารมวลชน). ชลบุรี: มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุภาพร นิภานนท์. (2559). กลยุทธ์การสื่อสารและการบริหารประเด็นเพื่อผลักดันนโยบายระบบสุขภาพมาตรฐานเดียว. นิเทศสยามปริทัศน์, 16(21), 157-170.
องค์การบริหารส่วนตำบลมิตรภาพ. (2565). เกี่ยวกับองค์การบริหารส่วนตำบลมิตรภาพ. สืบค้น 2 พฤศจิกายน 2565, จาก http://mittraphapmuaklek.go.th/about-us/organizational
Yamane. T. (1967). Statistic: an introductory analysis. (3rd ed.). New York: Harper & Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น