การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสุขภาวะพระสงฆ์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในจังหวัดอ่างทอง
คำสำคัญ:
การบริหารจัดการ, สุขภาวะพระสงฆ์, สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการบริหารจัดการสุขภาวะพระสงฆ์ 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการสุขภาวะพระสงฆ์ 3. เพื่อนำเสนอการพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการสุขภาวะพระสงฆ์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในจังหวัดอ่างทอง ระเบียบวิธีวิจัยเป็นแบบผสานวิธี ได้แก่ การวิจัยเชิงปริมาณโดยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลจากลุ่มตัวอย่างจำนวน 323 รูป ใช้แบบสอบถามที่มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.970 วิเคราะห์ข้อมูล ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ การวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยวิธีการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญจำนวน 18 รูปหรือคน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาเชิงพรรณนา และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 9 รูปหรือคน
ผลการวิจัยพบว่า 1. การบริหารจัดการสุขภาวะพระสงฆ์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในจังหวัดอ่างทอง ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.93 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการสุขภาพพระสงฆ์ พบว่า ด้านการบริหารจัดการตามหลัก PDCA ส่งผลต่อการบริหารจัดการ สุขภาวะพระสงฆ์ 3 ด้าน กระบวนการบริหารจัดการตามหลัก PDCA สามารถร่วมกันทำนายการบริหารจัดการสุขภาพพระสงฆ์ ได้ร้อยละ 17.1 และปัจจัยตามหลักอิทธิบาทธรรม พบว่าหลักอิทธิบาทธรรม ส่งผลต่อการบริหารจัดการสุขภาพพระสงฆ์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในจังหวัดอ่างทอง ทั้ง 4 ด้าน และพบว่าหลักอิทธิบาทธรรม สามารถร่วมกันทำนายการบริหารจัดการสุขภาพพระสงฆ์ของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ในจังหวัดอ่างทอง ได้ร้อยละ 25.4 3. รูปแบบการบริหารจัดการสุขภาวะพระสงฆ์ พบว่า การนำเอาหลักบริหารจัดการตามแบบ PDCA มาประยุกต์กับหลักอิทธิบาทธรรม สามารถนำมาพัฒนาการบริหารจัดการสุขภาวะพระสงฆ์ในจังหวัดอ่างทองประกอบด้วย 5 ด้าน ได้แก่ 1. เอาใจใส่ในการพัฒนาและจัดทำองค์ความรู้เรื่องพฤติกรรมสุขภาพ 2. พัฒนาระบบข้อมูลให้มีคุณภาพมีมาตรฐาน 3. พัฒนาระบบบริหารจัดการด้านสุขภาพให้มีประสิทธิภาพ 4. จัดระบบหลักประกันสุขภาพที่เท่าเทียมกัน 5. พัฒนาและปรับปรุงระบบสวัสดิการให้ครอบคลุม
References
กรมการแพทย์. (2559). กรมการแพทย์เปิดตัวโครงการพัฒนาการดูแลสุขภาพพระสงฆ์สามเณรทั่วไทย. สืบค้น 23ตุลาคม 2566, จาก www.dms.moph.go.th/
dmsweb/prnews/pr0101022559.pdf
เกศี จันทราประภาวัฒน์. (2565). พุทธบูรณาการส่งเสริมประสิทธิผลการจัดการขยะของเทศบาลนครลำปาง (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
บุญเติม แสงดิษฐ์. (2556). คู่มือสร้างเสริมสุขภาพและวันสำคัญในการรณรงค์ส่งเสริมสุขภาพ. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์พลสยามปริ้นติ้ง.
ผู้จัดการออนไลน์. (2559). อึ้ง! วิจัยพบพระสงฆ์ฉันเครื่องดื่มชูกาลังวันละ 3 ขวด อาหารใส่บาตรห่วย. สืบค้น 23ตุลาคม 2566, จาก. http://www.manager.co.th/QOL /ViewNews.aspx?NewsID=9560000064131.
พระครูพิพัฒน์สุตคุณ (เตชธโร). (2560). การมีส่วนร่วมด้านนโยบายภาครัฐสำหรับการดูแลผู้สูงอายุในจังหวัดพิจิตร (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตร์ดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระปลัดทัศนพล เขมจาโร (พรหมมา). (2564). รูปแบบการบริหารจัดการสุขภาพของพระสงฆ์ตามธรรมนูญสุขภาพ พระสงฆ์แห่งชาติของพระสังฆาธิการในจังหวัดพิจิตร (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระสมุห์บุญโชค กิตฺติสาโร (คำภีระ). (2565). การบริหารการฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดวัดถ้ำกระบอก อำเภอพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรี (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พฤทธิพงศ จักกะพาก. (2565). การประยุกตหลักพุทธธรรมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของคณะกรรมการไตรภาคีสังกัดกระทรวงแรงงาน (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พัชรี ดำรงสุนทรชัย. (2550). แนวทางการจัดการความรู้เพื่อสุขภาวะชุมชน (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ภัทราพร จันตะนี. (2565). การบูรณาการหลักพุทธธรรมเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรมหาวิทยาลัยราชภัฏกลุ่มศรีอยุธยา (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
รวิวรรณ รักถิ่นกำเนิด. (2560). จำนวนพระภิกษุและสามเณรในประเทศไทย. สืบค้น 23 ตุลาคม 2566, สืบค้นจาก http://www.tcijthai.com/news/2016/09/watch/6407.
รัตนา ตฤษณารังสี. (2565). การส่งเสริมคุณภาพชีวิตตามแนวพุทธธรรมาภิบาลของแรงงานไทยสภาองค์การนายจ้าง เอส.เอ็ม.อี แห่งประเทศไทย (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วลัญช์ชยา เลิศรัชชาพันธุ์. (2559). การส่งเสริมการจัดการสุขภาวะแบบองค์รวมเพื่อประชาชนขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคกลางตอนบน (ดุษฎีนิพนธ์ พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
อุ่นเอื้อ สิงห์คำ. (2557) กระบวนการและผลกระทบของการสร้างเสริมสุขภาวะองค์รวมวิถีพุทธ (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนบูรณาการศาสตร์). อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี.
Taro Yamane. (1967). Statistic: And Introductory Analysis. (New York: Harper and Row.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น