พุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำทางการเมืองของผู้บริหารงาน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครศรีธรรมราช
คำสำคัญ:
พุทธบูรณาการ, ทุติยปาปณิกธรรม, องค์กรปครองส่วนท้องถิ่นบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาสภาพทั่วไปภาวะผู้นำทางการเมืองของผู้บริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 2. เพื่อศึกษาคุณลักษณะภาวะผู้นำทางการเมืองของผู้บริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น 3. เพื่อนำเสนอรูปแบบพุทธบูรณาการหลักทุติยปาปณิกธรรมในการส่งเสริมภาวะผู้นำทางการเมืองของผู้บริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครศรีธรรมราช ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 26 รูปหรือคน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์เชิงลึก เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึก วิเคราะห์ข้อมูลด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา นําเสนอในลักษณะพรรณนาวิเคราะห์
ผลการวิจัย พบว่า 1. สภาพทั่วไปภาวะผู้นำทางการเมืองของผู้บริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครศรีธรรมราช มี จุดเด่น คือ ความใกล้ชิดกับประชาชน มีจิตอาสาเข้าใจในระบบท้องถิ่นอย่างลึกซึ้งแต่ยังขาดการทำหน้าที่อย่างจริงจัง จุดด้อย ขาดการประเมินผลการติดตามงานอย่างมีประสิทธิภาพ โอกาส เมื่อได้ทำหน้าที่สามารถแก้ไขปัญหาของประชาชนและพัฒนาท้องถิ่นให้ดีขึ้นได้ อุปสรรค ส่วนใหญ่ขาดแคลนทรัพยากร และงบประมาณที่จำกัด 2. คุณลักษณะภาวะผู้นำทางการเมืองของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในจังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่า ด้านทักษะของการใช้อิทธิพล ผู้บริหารใช้อิทธิพลอย่างถูกต้องสร้างโอกาสให้ประชาชนเกิดความไว้วางใจ ด้านทักษะในการมอบหมายงาน ผู้บริหารกำหนดเป้าหมายการทำงานอย่างชัดเจนสามารถปรับแผนการดำเนินงานจนเกิดความมั่นใจ ด้านความยืดหยุ่น การมีความคิดเชิงบวก มอบหมายงานให้สอดคล้องกับความสามารถของบุคลากร ด้านทักษะในการจูงใจ การส่งเสริม สนับสนุนให้กำลังใจแก่บุคลากรอย่างต่อเนื่อง 3. พุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำทางการเมืองของผู้บริหารงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพบว่า ในการส่งเสริมหลักทุติยปาปณิกธรรม จักขุมา มีมุมมองกว้างไกล เห็นอนาคต ทำเพื่อประโยชน์สุขของผู้อื่นมากกว่าตน หลักวิธูโร การเป็นผู้เชี่ยวชาญชำนาญทั้งในงานของตนเอง งานของส่วนรวม หลักนิสสยสัมปันโน มีมนุษยสัมพันธ์ที่ดีต่อการทำงานร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีประสิทธิภาพ
References
โกวิทย์ พวงงาม. (2559). การบริหารและการปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ชนาพร พิทยาบูรณ์. (2560). การสื่อสารของผู้นำกับการเปลี่ยนแปลงสังคม. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยรัตนบัณฑิต, 12 (2), 62-72.
พระครูสังฆรักษ์เอกลักษณ์ อชิโต. (2566). การประยุกต์ใช้หลักทุติยปาปณิกธรรมเพื่อการพัฒนาภาวะผู้นําของนักการเมืองท้องถิ่น ในจังหวัดสมุทรสงคราม (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหานิรุต ญาณวุฑฺโฒ (พยนต์ยิ้ม). (2566). พุทธบูรณาการเพื่อส่งเสริมภาวะผู้นำทางการเมืองของนักการเมืองท้องถิ่น ในจังหวัดสมุทรสงคราม (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พรเศรษฐี วุฒิปัญญาอิสกุล. (2563). บทบาททางการเมืองของผู้นำท้องถิ่น ศึกษาเฉพาะกรณี ผู้นำท้องถิ่นจังหวัดชลบุรี (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
ไพบูลย์ สุขเจตนี. (2564). การพัฒนาความไว้วางใจทางการเมืองของประชาชนที่มีต่อนักการเมืองระดับท้องถิ่นในจังหวัดนนทบุรี (ดุษฎีนิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
วรเดช จันทรศร. (2555). การบริหารการปกครองท้องถิ่น. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
ศักดิ์ชัย ปริพัฒน์ (2562). การนำหลักพุทธธรรมมาปรับใช้ในการบริหารท้องถิ่น: กรณีศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารวิจัยการบริหารจัดการ, 9(2), 23-38.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น