การพัฒนาการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมของวัดในจังหวัดตราด
คำสำคัญ:
การพัฒนา, การบริหารจัดการ, สำนักปฏิบัติธรรมบทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรม 2. ศึกษาองค์ประกอบการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรม และ 3. เสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมของวัดในจังหวัดตราด เป็นการวิจัยผสานวิธี ประกอบด้วย การวิจัยเชิงปริมาณ โดยใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูลจากผู้ใช้บริการ จำนวน 367 คน และการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการสัมภาษณ์เชิงลึกผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 18 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 11 รูปหรือคน
ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพของการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรม และ การบริหารจัดการตามหลักสัปปายะ โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง สภาพการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรม มีจุดแข็งคือ สถานที่ตั้งและสิ่งอำนวยความสะดวก สิ่งแวดล้อมเอื้อต่อการปฏิบัติธรรม และการสนับสนุนจากชุมชน จุดอ่อนคือ จำนวนไม่เพียงพอ ขาดบุคลากรที่มีประสิทธิภาพ ปัญหาด้านการเดินทาง ขาดการประชาสัมพันธ์ โอกาส คือ การสนับสนุนจากมหาเถรสมาคมและหน่วยงานภาครัฐ เครือข่ายความร่วมมือ และอุปสรรค คือขาดแคลนทุนทรัพย์ เยาวชนขาดความสนใจ 2. องค์ประกอบการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมของวัดในจังหวัดตราด คือหลักสัปปายะ 7 ได้แก่ ด้านอาวาสสัปปายะ สภาพแวดล้อมที่สงบ ร่มรื่น อากาศดี ด้านโคจรสัปปายะ การเดินทางสะดวกสบาย ด้านภัสสสัปปายะ การสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ ด้านปุคคลสัปปายะ พระวิปัสสนามีความรู้และประสบการณ์ ด้านโภชนสัปปายะ อาหารที่สะอาดถูกหลักโภชนาการ ด้านอุตุสัปปายะ อากาศดีไม่ร้อนหรือหนาวเกินไป และด้านอิริยาปถสัปปายะ การจัดการอิริยาบถที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล 3. การพัฒนาการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมของวัดในจังหวัดตราด ใช้หลักบริหารจัดการ 3 ด้าน คือ ด้านสถานที่มีห้องปฏิบัติธรรมที่สะดวก สะอาด สงบปลอดภัย ด้านพระวิปัสสนาที่มีทักษะการถ่ายทอดที่ดี มีการประเมินผลเพื่อพัฒนาคุณภาพการสอน การบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ และการสร้างเครือข่ายและการประชาสัมพันธ์กิจกรรม
References
เณรัชฌา ศักดิ์ศิริสัมพันธ์. (2557). พุทธวิธีบริหารเพื่อการพัฒนาสำนักปฏิบัติธรรม (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูวรดิตถ์ธรรมาภรณ์. และคณะ. (2564). รูปแบบการบริหารจัดการศูนย์ปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดมหาสารคาม. Journal of Buddhist Education and Research: JBER, 7(2), 67-76.
พระครูวินัยธรศิริเชษฐ์ สิริวฑฺฒโน (ปู่รักษ์). (2565). รูปแบบการบริหารจัดการเสนาสนะที่พึงประสงค์ของวัด ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระครูวิโรจน์เขมคุณ (ไพโรจน์ เขมจิตฺโต). (2563). รูปแบบการบริหารสำนักปฏิบัติธรรมตามหลักสัปปายะ 4 ในจังหวัดสิงห์บุรี. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 5(5), 12-25.
พระครูวิลาศกาญจนธรรม (เล็ก สุธมฺมปญฺโญ). (2557). รูปแบบการจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด ดีเด่นในเขตปกครองคณะสงฆ์ภาค 14 (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระพิพัฒน์ โสภณจิตฺโต (ทับงาม). (2563). การบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดอ่างทอง เพื่อเสริมสร้างศักยภาพทางปัญญา (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหากังวาล ธีรธมฺโม (ศรชัย). (2557). การพัฒนาประสิทธิภาพการบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พระมหาอัครวัฒน์ กิตฺติญาโณ (เหมือนพันธ์). (2564). การพัฒนาการบริหารจัดการเสนาสนะของวัดตามมาตรฐานสุขาภิบาลในจังหวัดชัยภูมิ (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
มนตร์ธัช ยานันท์บุญสิริ. (2565). ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด. วารสารสันติศึกษา, 10(6), 2384 - 2396.
สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ. (2566). ทะเบียนสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดตามมติมหาเถรสมาคม. สืบค้น 20 ตุลาคม 2566, จาก https://www.onab.go.th/th/content/category/ detail/ id/ 20/iid/32919
อารีย์ เกาะเต้น และกฤษฎา นันทเพ็ชร. (2561). การพัฒนารูปแบบการบริหารศูนย์ปฏิบัติธรรมในประเทศสหรัฐอเมริกา. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(4), 1448 - 1460.
Downloads
เผยแพร่แล้ว
How to Cite
ฉบับ
บท
License
Copyright (c) 2024 วารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เพื่อให้เป็นไปตามกฎหมายลิขสิทธิ์ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องลงลายมือชื่อในแบบฟอร์มใบมอบลิขสิทธิ์บทความให้แก่วารสารฯ พร้อมกับบทความต้นฉบับที่ได้แก้ไขครั้งสุดท้าย นอกจากนี้ ผู้นิพนธ์ทุกท่านต้องยืนยันว่าบทความต้นฉบับที่ส่งมาตีพิมพ์นั้น ได้ส่งมาตีพิมพ์เฉพาะในวารสารสหวิทยาการนวัตกรรมปริทรรศน์ เพียงแห่งเดียวเท่านั้น หากมีการใช้ภาพหรือตารางหรือเนื้อหาอื่นๆ ของผู้นิพนธ์อื่นที่ปรากฏในสิ่งตีพิมพ์อื่นมาแล้ว ผู้นิพนธ์ต้องขออนุญาตเจ้าของลิขสิทธิ์ก่อน พร้อมทั้งแสดงหนังสือที่ได้รับการยินยอมต่อบรรณาธิการ ก่อนที่บทความจะได้รับการตีพิมพ์ หากไม่เป็นไปตามข้อกำหนดเบื้องต้น ทางวารสารจะถอดบทความของท่านออกโดยไม่มีข้อยกเว้นใดๆ ทั้งสิ้น