การพัฒนาการบริหารเครือข่ายกองบุญพระภิกษุอาพาธจังหวัดจันทบุรี

ผู้แต่ง

  • พระสมุห์วีระ สุนฺทโร (โสธร) มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การพัฒนา, การบริหาร, เครือข่าย, กองบุญพระภิกษุอาพาธจังหวัดจันทบุรี

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพทั่วไปของการบริหารเครือข่ายกองบุญพระภิกษุอาพาธจังหวัดจันทบุรี 2. ศึกษาปัจจัยความสำเร็จในการบริหารเครือข่ายกองบุญพระภิกษุอาพาธจังหวัดจันทบุรี และ 3. นำเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารเครือข่ายกองบุญพระภิกษุอาพาธจังหวัดจันทบุรี ผู้วิจัยกำหนดรูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยการเก็บข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึก (In-depth Interview) จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ (Key Informants) จำนวน 25 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ (Focus Group Discussion) จำนวน 12 รูปหรือคน โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า 1. จุดแข็งที่สำคัญได้แก่ การมีเครือข่ายการบริหารที่มีประสิทธิภาพ คณะกรรมการที่มีความรู้ความสามารถและจิตอาสา ความสามารถในการระดมทุนอย่างต่อเนื่อง และการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้ในการบริหารจัดการ ส่วนจุดอ่อนที่สำคัญ ได้แก่ การสื่อสารภายในเครือข่ายที่ขาดความชัดเจน ข้อจำกัดด้านงบประมาณและทรัพยากร และการขาดแผนกลยุทธ์ที่ชัดเจน 2. ปัจจัยความสำเร็จในการบริหารเครือข่ายประกอบด้วย 4 ปัจจัยหลัก ได้แก่ ภาวะผู้นำที่มีประสิทธิภาพ การบริหารจัดการกลุ่มที่มีประสิทธิภาพ การส่งเสริมการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน และการได้รับการสนับสนุนจากภายนอกอย่างครอบคลุม ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลให้การดำเนินงานของเครือข่ายมีความเข้มแข็งและยั่งยืน สามารถตอบสนองความต้องการของพระภิกษุอาพาธได้อย่างมีประสิทธิภาพ 3. แนวทางการพัฒนาการบริหารเครือข่ายครอบคลุม 4 ด้านหลัก ได้แก่ ด้านการเงิน ด้านสมาชิก ด้านกระบวนการภายใน และด้านการเรียนรู้และพัฒนา โดยเน้นการจัดการงบประมาณอย่างเป็นระบบ การเพิ่มและพัฒนาสมาชิก การปรับปรุงกระบวนการทำงานภายใน และการส่งเสริมการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง การดำเนินการตามแนวทางเหล่านี้จะช่วยยกระดับประสิทธิภาพการบริหารเครือข่าย และส่งผลให้การดูแลพระภิกษุอาพาธมีคุณภาพและยั่งยืนมากยิ่งขึ้น

References

กริช ธีรางศุ และอำนาจ ชนะวงศ์. (2564). แนวทางการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือสาหรับสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 24. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏร้อยเอ็ด, 15(2), 20-30.

จักรกฤษณ์ พิญญาพงษ์ และคณะ. (2566). การพัฒนาเครือข่ายเพื่อยกระดับชุมชนต้นแบบในการป้องกันป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ (รายงานการวิจัย). กรุงเทพฯ: ศูนย์ศึกษาปัญหาการเสพติด.

ทนันเดช ยงค์กมล. (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการเครือข่ายสถานศึกษาของโรงเรียนในเครือสารสาสน์ (วิทยานิพนธ์การศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา). พะเยา: มหาวิทยาลัยพะเยา.

นฤชา โฆษาศิวิไลซ์. และคณะ. (2559). รูปแบบการพัฒนาเครือข่ายพลังสังคมเชิงบูรณาการในการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน. วารสารวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย, 11(38), 105-118.

บำเพ็ญ เขียวหวาน และคณะ. (2566). แนวทางพัฒนาเครือข่ายสวัสดิการชุมชนตามแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง (รายงานการวิจัย). นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

พรธิดา วิเศษศิลปานนท์. (2555). การพัฒนาระบบการบริหารจัดการเครือข่ายกองทุนสวัสดิการชุมชนระดับอำเภอ. วารสารสมาคมนักวิจัย, 17(3), 63-73.

พระครูชินวรานุวัตร (สิงห์ ชินวโร). (2558). การพัฒนาการบริหารจัดการสาธารณะสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการ ในเขตการปกครองคณะสงฆ์ภาค 15 (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระไพศาล วิสาโล. (2546). พุทธศาสนาไทยในอนาคต แนวโน้มและทางออกจากวิกฤต. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์.

สนธยา พลศรี. (2548). เครือข่ายการเรียนรู้ในงานพัฒนาชุมชน. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

อนันต์ มาลารัตน์ และคณะ. (2551). การพัฒนารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการเครือข่ายชุมชนด้านสุขภาพ. วารสารพฤติกรรมศาสตร์, 14(1), 151-165.

อภิษฎาข์ ศรีเครือดง (2557). การพัฒนาเครือข่ายการบริหารงานของเทศบาลนครนนทบุรี (รายงานการวิจัย). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-05

How to Cite