การบริหารจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์จังหวัดจันทบุรี

ผู้แต่ง

  • วารีญา ม่วงเกลี้ยง มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
  • ประเสริฐ ธิลาว มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

การบริหารจัดการ, งานสาธารณสงเคราะห์, คณะสงฆ์, การพัฒนาศักยภาพ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาสภาพทั่วไปของการบริหารจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์จังหวัดจันทบุรี 2. ปัจจัยที่ส่งผลต่อการบริหารจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์จังหวัดจันทบุรี 3. นำเสนอการบริหารจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์จังหวัดจันทบุรี รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการเก็บข้อมูลการสัมภาษณ์เชิงลึก จากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ จำนวน 25 รูปหรือคน และการสนทนากลุ่มเฉพาะ จำนวน 12 รูปหรือคน โดยวิเคราะห์ข้อมูลด้วยเทคนิคการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท

ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปของการบริหารจัดการมีทั้งจุดแข็ง เช่น โครงสร้างการบริหารที่เป็นระบบ ผู้นำที่มีวิสัยทัศน์ชัดเจน มีเครือข่ายความร่วมมือที่เข้มแข็ง และจุดอ่อน เช่น การจัดสรรงบประมาณยังไม่เป็นระบบ ขาดแคลนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง การประชาสัมพันธ์ไม่ทั่วถึง ขาดแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน 2. ปัจจัยที่ส่งผล ได้แก่ การมีทรัพยากรที่เพียงพอ การสร้างเครือข่ายความร่วมมือ การพัฒนาทักษะความรู้ของพระสงฆ์ การสร้างความโปร่งใสน่าเชื่อถือ การประยุกต์ใช้ IT การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชน และการพัฒนาระบบติดตามประเมินผล 3. แนวทางที่นำเสนอเน้นการสร้างความมั่นคงทางพระพุทธศาสนา ยกระดับการบริหารจัดการภายใน พัฒนาสู่องค์กรแห่งการเรียนรู้เชิงพุทธ และจัดการทรัพยากรให้เพียงพอ โดยมีกลยุทธ์สำคัญ เช่น จัดตั้งศูนย์อบรมพระธรรมทูต ส่งเสริมการศึกษาพระปริยัติธรรม จัดตั้งกองทุนเพื่อการศึกษาและเผยแผ่ศาสนา พัฒนาระบบฐานข้อมูลดิจิทัล สร้างเครือข่ายความร่วมมือ พัฒนาศักยภาพบุคลากร และนำ IT มาใช้ในการบริหารจัดการ

References

กรมการศาสนา. (2540). คู่มือพระสังฆาธิการว่าด้วยการคณะสงฆ์และการพระศาสนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์กรมศาสนา.

ปนิดา เนื่องพะนอม. (2560). กลยุทธ์การบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏเพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ปัณณธร เธียรชัยพฤกษ์ และคณะ. (2564). กลยุทธ์การบริหารกิจการคณะสงฆ์เพื่อเสริมสร้างความมั่นคงของพระพุทธศาสนา. วารสารมหาจุฬานาครทรรศน์, 8(5), 378-392.

พระครูชินวรานุวัตร (สิงห ชินวโร). (2558). การพัฒนาการบริหารจัดการการสาธารณสงเคราะห์ของพระสังฆาธิการ ในเขตปกครองคณะสงฆ์ ภาค 15 (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูสมุห์ไพทูรย์ สิริภทฺโท และคณะ. (2564). รูปแบบการจัดการงานสาธารณสงเคราะห์ในจังหวัดนครปฐม. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 10(1), 149-159.

พระเทพปริยัติสุธี (วรวิทย์ คงฺคปญฺโญ). (2540). เอกสารประกอบคำบรรยาย เรื่อง การคณะสงฆ์และการพระศาสนา. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระธีรพันธุ์ ฐิตธมฺโม (บุญบาง) และคณะ. (2565). การศึกษางานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์จังหวัดนครสวรรค์ที่มีต่อการพัฒนาสังคม. วารสารวิจัยวิชาการ, 5(2), 25-34.

พระเมธีธรรมาภรณ์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2539). การปกครองคณะสงฆ์ไทย. กรุงเทพฯ: มูลนิธิพุทธธรรม.

พระสมุห์วศิน วิสุทฺโธ (พงษ์ศักดิ์). (2563). พระสงฆ์การจัดการงานสาธารณสงเคราะห์: บทบาทและความสำคัญ. วารสารศิลปะศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 2(1), 357-366.

ฤทัย สันทัดวัฒนา. (2558). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการสมาคมว่ายน้ำแห่งประเทศไทย. วารสารวิชาการ บัณฑิตวิทยาลัยสวนดุสิต, 11(1), 161-169.

สมชัย วงษ์นายะ และทวนทอง เชาวกีรติพงศ์. (2556). การพัฒนากลยุทธ์การบริหารจัดการหมู่บ้านในการดำเนินชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในจังหวัดกำแพงเพชรและจังหวัดตาก. สักทอง : วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 19(1), 1-12.

สุริยนต์ น้อยสงวน. (2559). รูปแบบการปฏิบัติงานสาธารณสงเคราะห์ของคณะสงฆ์ในจังหวัดศรีสะเกษ. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(ฉบับพิเศษ), 383-394.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-05

How to Cite