รูปแบบการปกครองคณะสงฆ์ตามยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการ พระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์จังหวัดตราด

ผู้แต่ง

  • พระราชวชิรธรรมคณี (บังคม รกฺขิตธมฺโม) วัดบางปรือ จังหวัดตราด

คำสำคัญ:

การบริหารการปกครองคณะสงฆ์, ยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา, คณะสงฆ์จังหวัดตราด

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพทั่วไป กระบวนการบริหารการปกครอง และนำเสนอรูปแบบการบริหารการปกครองคณะสงฆ์ตามยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาของคณะสงฆ์จังหวัดตราด โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ เก็บข้อมูลจากการสัมภาษณ์เชิงลึกและการสนทนากลุ่ม แล้ววิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เนื้อหาประกอบบริบท ผลการวิจัยพบว่า 1. สภาพทั่วไปของการบริหารการปกครองคณะสงฆ์จังหวัดตราดมีทั้งจุดแข็ง ได้แก่ ผู้นำและบุคลากรที่มีความสามารถ ระบบการบริหารจัดการที่เป็นระบบ การทำงานเป็นทีม และการยึดหลักพระธรรมวินัย และจุดอ่อน ได้แก่ การขาดแคลนบุคลากรที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านและงบประมาณ โครงสร้างการบริหารที่เป็นลำดับชั้นสูง และการขาดการนำเทคโนโลยีสารสนเทศมาใช้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. กระบวนการบริหารการปกครองเป็นระบบและครอบคลุม ตั้งแต่การวางแผน การจัดองค์กร การบริหารบุคคล การอำนวยการ และการกำกับดูแล โดยมีการประยุกต์ใช้หลักพุทธธรรมและการบริหารจัดการสมัยใหม่ควบคู่กัน 3. รูปแบบการบริหารการปกครองตามยุทธศาสตร์การปฏิรูปได้เสนอแนวทางการสร้างความมั่นคงทางพระพุทธศาสนา การยกระดับกระบวนการบริหารจัดการภายใน การพัฒนาองค์กรแห่งการเรียนรู้เชิงพุทธ และการบริหารทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ โดยมุ่งเน้นการปรับตัวให้สอดคล้องกับบริบทสังคมปัจจุบัน ควบคู่ไปกับการรักษาหลักพระธรรมวินัยและบทบาทของพระพุทธศาสนาในสังคมไทย

References

เฉลิมพล โสมอินทร์. (2546). ประวัติศาสตร์พุทธศาสนาและการเผยแผ่พระพุทธศาสนาตามยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาไทย. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์สูตรไพศาล.

พระครูโพธิกิตติคุณ (กิตติพงษ์ สุปญฺโญ). (2561). การบริหารกิจการคณะสงฆ์ตามหลักธรรมาภิบาลเชิงพุทธของคณะสงฆ์ภาค 3 (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูวิสุทธานันทคุณ (สุรศักดิ์ วิสุทฺธาจาโร). (2557). การบริหารจัดการวัดเพื่อความมั่นคงแห่งพระพุทธศาสนา (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระครูวิสุทธิสีลาภิวัฒน์ (เมธาภิวัฒน์ ฐิติโก) และคณะ. (2563). การขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนาการปกครองของคณะสงฆ์จังหวัดสระบุรี. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 9(1), 69-81.

พระปลัดธีรภัทร์ นาถสีโล (นาคกลั่น). (2564). รูปแบบการบริหารจัดการโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข ของคณะสงฆ์จังหวัดปทุมธานี (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระปลัดวรเมศวร์ นาควโร (ยิ้มกรุง). (2559). รูปแบบการพัฒนาการบริหารจัดการวัดที่ดีในจังหวัดชัยนาท ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

พระพรหมบัณฑิต (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2558). การปฏิรูปกิจการพระพุทธศาสนา. พระนครศรีอยุธยา: เทียนวัฒนาพริ้นท์ติ้ง.

พระมหาวีระชาติ โปธา และคณะ. (2564). รูปแบบการพัฒนาการปกครองคณะสงฆ์เถรวาท (มหานิกาย): คณะสงฆ์เขตภาคกลาง. วารสารสิรินธรปริทรรศน์, 22(2), 281-297.

พระมหาสัญญา ขนฺติธมฺโม (ตรีสวัสดิ์). (2561). รูปแบบการปกครองสงฆ์ไทยในอนาคต. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร, 6(2), 711-728.

พระราชบัญญัติ คณะสงฆ์ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2561. (2561, 16 กรกฎาคม). ราชกิจจานุเบกษา. เล่ม 135 ตอนพิเศษ 40 ก. หน้า 1.

พระศรีสัจญาณมุนี (สุมินทร์ ยติกโร). (2562). การพัฒนารูปแบบการบริหารงานกิจการคณะสงฆ์ในจังหวัดชัยภูมิ (ดุษฎีนิพนธ์พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพระพุทธศาสนา). พระนครศรีอยุธยา: มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

มนตร์ธัช ยานันท์บุญสิริ. (2564). ยุทธศาสตร์การบริหารจัดการสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการศึกษา). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

วิชาญ ทรายอ่อน. (2559). ปฏิรูปและจรรโลงกิจการพระศาสนา. วารสารสำนักวิชาการ สำนักงานสภาผู้แทนราษฎร, 1-7.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-12-02

How to Cite