ปัญหากฎหมายในการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของเจ้าอาวาสในฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามความในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

ผู้แต่ง

  • พระครูวิมลสุวรรณกร (สมพงษ์ จนฺทวโร) วัดกู้ จังหวัดนนทบุรี
  • วรพจน์ ถนอมกุล มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

คำสำคัญ:

กฎหมาย, เจ้าอาวาส, เจ้าพนักงาน, ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาแนวคิดและวิวัฒนาการเกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของเจ้าอาวาสตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2535 และกฎหมายไทยที่เกี่ยวข้อง 2. เพื่อศึกษากฎหมายของต่างประเทศที่เกี่ยวกับอำนาจหน้าที่ของเจ้าอาวาส 3. เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหากฎหมายในการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของเจ้าอาวาสในฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา และ 4. เพื่อเสนอแนะปรับปรุงแก้ไขกฎหมายในการปฏิบัติตามอำนาจหน้าที่ของเจ้าอาวาส ในฐานะเป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยการศึกษารวบรวมข้อมูลและเอกสารที่เกี่ยวข้องจากตำราวิชาการ บทความ วิทยานิพนธ์ งานวิจัย และบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการพรรณนาเนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า 1. อำนาจหน้าที่ของเจ้าอาวาสตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ มีการพัฒนาตามบริบทสังคมและการเมือง โดยเฉพาะการแก้ไขปี พ.ศ. 2535 ที่ขยายขอบเขตการบริหารกิจการในวัดให้ครอบคลุมมากขึ้น นอกจากนี้ อำนาจหน้าที่ของเจ้าอาวาสต้องสอดคล้องกับกฎหมายอื่น ๆ เช่น กฎหมายแพ่งและพาณิชย์ที่เกี่ยวกับการจัดการทรัพย์สินของวัด 2. กฎหมายของ ลาว กัมพูชา และญี่ปุ่น พบว่าไม่มีประเทศใดกำหนดให้เจ้าอาวาสเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายอาญา แต่ทุกประเทศให้เจ้าอาวาสมีบทบาทในการปกครองคณะสงฆ์ การศึกษา การเผยแผ่พระพุทธศาสนา การสาธารณูปการ และการสงเคราะห์ โดยมีหน้าที่ดูแลและจัดการกิจการวัดเพื่อความเจริญรุ่งเรืองและความสงบเรียบร้อย 3. พระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พ.ศ. 2505 มาตรา 45 กำหนดให้เจ้าอาวาสเป็นเจ้าพนักงานตามกฎหมายอาญา แต่ขาดความชัดเจนในมาตรา 37 และ 38 ทำให้เกิดความเสี่ยงต่อการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ จึงมีความจำเป็นในการปรับปรุงกฎหมายเพื่อให้ครอบคลุมและชัดเจนยิ่งขึ้น 4. ข้อเสนอแนะ คือควรปรับปรุงกฎหมายโดยเพิ่มความชัดเจนในบทบาทหน้าที่ของเจ้าอาวาส การกำหนดแนวทางในการบริหารทรัพย์สินของวัด การลดความซ้ำซ้อนในกฎหมาย และการอบรมทางกฎหมายให้เจ้าอาวาส รวมถึงการสนับสนุนและตรวจสอบทางกฎหมายที่ชัดเจน

References

กุสุมา รัตนโสภา. (2557). การปรับปรุงกฎหมายสงฆ์สมัยใหม่: มุมมองเชิงเปรียบเทียบ. วารสารการบริหารพระพุทธศาสนา, 10(3), 76-94.

ชลวิจารณ์ ศุภมิตร. (2552). การบริหารคณะสงฆ์ไทยและกฎหมายสงฆ์. วารสารเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา, 47(2), 123-145.

ธรรมธิราช กิตติวงศ์. (2558). ความซับซ้อนทางกฎหมายในหน้าที่ของเจ้าอาวาสตามประมวลกฎหมายอาญา. วารสารกฎหมายพระพุทธศาสนา, 8(2), 85-102.

ประเวศ วะสี. (2542). การพัฒนาระบบกฎหมายเพื่อสนับสนุนบทบาทของเจ้าอาวาสในสังคมไทย. วารสารกฎหมายและสังคม, 6(2), 33-51.

พระธรรมปิฎก (ป.อ. ปยุตฺโต). (2538). การบริหารจัดการวัดและบทบาทของเจ้าอาวาสในสังคมไทย. วารสารพระพุทธศาสนาไทย, 12(1), 45-67.

พระใบฎีกาคทาวุธ คเวสกธมฺโม. (2567). เจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 257 กับเจ้าพนักงานที่เป็นเจ้าอาวาสบริบทของความรับผิดชอบและหน้าที่ต่างกัน. สืบค้น 27 มกราคม 25667, จาก https://deka.in.th/view-509236.html.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2563). หลักแม่บทของการพัฒนาตน (พิมพ์ครั้งที่ 20). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

เอกชัย นพจินดา. (2544). ความท้าทายในการใช้กฎหมายของรัฐกับบทบาททางศาสนา. วารสารกฎหมายและศาสนาไทย, 3(1), 58-74.

Robson, D. (2002). Buddhist Monastic Organization in Sri Lanka. Asian Journal of Religion and Law, 5(3), 112-130.

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2024-11-16

How to Cite