รูปแบบการสร้างเสริมระบบการบริหารจัดการเศรษฐกิจชุมชน แบบมีส่วนร่วมวิถีปกติใหม่ ของชุมชนลำไทร อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวิเคราะห์ปัญหาและอุปสรรคการบริหารจัดการเศรษฐกิจชุมชน แบบมีส่วนร่วมวิถีปกติใหม่ ของชุมชนลำไทร และเพื่อสังเคราะห์แบบจำลองระบบการบริหารจัดการเศรษฐกิจชุมชน แบบมีส่วนร่วมวิถีปกติใหม่ ของชุมชนลำไทร ใช้รูปแบบการวิจัยแบบผสานวิธี เชิงปริมาณ สำรวจข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่าง 400 ชุด ร่วมกับการวิจัยแบบมีส่วนร่วมแบ่งเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะก่อนทำ สนทนากลุ่มย่อย 5 ชุมชน จำนวน 12 ท่าน ระยะทำวิจัย ประชุมกลุ่ม 30 คน และสนทนากลุ่มย่อย 12 คน ระยะสรุปผล นำเสนอระบบการสร้างเครือข่าย สนทนากลุ่มย่อย 12 คน ระยะติดตามผล จัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 50 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถาม แบบสัมภาษณ์ แบบสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับของความคิดเห็นเกี่ยวกับคุณค่า ของระบบเศรษฐกิจชุมชน ในปัจจุบันโดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.48 2) แบบจำลองระบบการบริหารจัดการเศรษฐกิจชุมชน แบบมีส่วนร่วมวิถีปกติใหม่ ของชุมชนลำไทร มีรหัสแบบจำลอง 53346 Model
องค์ความรู้จากงานวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ในการนำไปใช้ในการบริหารจัดการชุมชนเชิงองค์รวมที่มีการร่วมคิดร่วมทำจากทุกภาคส่วน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กชนิภา อินทสุวรรณ์. (2565). โควิด-19: การจัดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศอย่างยั่งยืน. วารสาร มจร สังคมศาสตร์ปริทรรศน์, 11(1), 416-424. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jssr/article/view/253119
กมลพร กัลยาณมิตร. (2564). การนำกลยุทธ์การบริหารสู่การปฏิบัติ ในรูปแบบความปกติใหม่. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(4), 402-422. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/ index.php/JSBA/article/view/249858
กาญจนา รอดแก้ว, ภุชงค์ เสนานุช และ รณรงค์ จันใด. (2564). การศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน. วารสารสถาบันพระปกเกล้า, 19(1), 48-66. สืบค้นจาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/kpi_journal/article/view/247029
ฐาปกรณ์ ทองคํานุช, เบญจพร เชื้อผึ้ง, ธาริดา สกุลรัตน์, และ พิมพ์พร พิมพ์สุวรรณ. (2564). รูปแบบการเชื่อมโยงการจัดการห่วงโซ่อุปทานสินค้าเกษตรสู่ธุรกิจโรงแรมและธุรกิจบริการในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วารสารศิลปศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 3(2),118-132. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/art/article/view/253586
ผการัตน์ พินิจวัฒน์. (2565). ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน. วารสารศิลปะศาสตร์ราชมงคลสุวรรณภูมิ, 4(1), 202–212. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/art/article/view/ 258274
พระธรรมโกศาจารย์ (ประยูร ธมฺมจิตฺโต). (2549). พุทธวิธีบริหาร. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.
พันธุ์ทิพย์ รามสูตร. (2540). แนวคิดและทฤษฎีที่ใช้ในการศึกษาพฤติกรรม. กรุงเทพฯ: ภาควิชาสุขศึกษาและพฤติกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล.
มนสิชา อนุกูล. (2565). แนวทางการจัดการส่งเสริมกลุ่มอาชีพชุมชน ตำบลบางขะแยง อำเภอเมือง จังหวัดปทุมธานี. วารสารวิทยาการจัดการปริทัศน์, 24(1), 137-146. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/msaru/article/view/258377
วสันต์ ปานสังข์. (2564). คณะอนุกรรมการส่งเสริมวิสาหกิจชุมชนพหุภาคีในระคับท้องถิ่น. วารสารการบริหารนิติบุคคลและนวัตกรรมท้องถิ่น, 7(1), 365-377. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jsa-journal/article/view/244750
วันเพ็ญ พรินทรากูล. (2565). การแก้ไขปัญหาของชุมชนด้วยกระบวนการวิจัยท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดลำพูน. วารสารศิลปการจัดการ, 6(1), 374–387. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jam/article/view/253067
สํานักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข. (2549). การมีส่วนร่วมของประชาชน. กรุงเทพฯ: สํานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพ.
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2564, 10 กรกฎาคม) แผนการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมจากผลกระทบของไวรัสโควิด-19 และโครงการภายใต้กรอบวงเงิน 4 แสนล้านบาท ตาม พ.ร.ก. กู้เงินฯ 1 ล้านล้านบาท (รอบที่ 1). สืบค้นเมื่อ 4 มิถุนายน 2565, จาก http://thaime.nesdc.go.th
สำนักบริหารการทะเบียน กรมการปกครอง. (2562). ข้อมูลจากทะเบียนราษฎร์อำเภอวังน้อย ณ เดือน มกราคม พ.ศ. 2562. สืบค้นเมื่อ 4 มิถุนายน 2565, จาก https://stat.bora.dopa.go.th/stat/statnew/statMONTH/statmonth
สำนักสนับสนุนขบวนองค์กรชุมชน สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน. (2558). คู่มือสนับสนุนการพัฒนาระบบเศรษฐกิจและทุนชุมชน. กรุงเทพฯ: สถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน.
สุพิณ เกชาคุปต์. (2536). พฤติกรรมองค์การ: แนวการศึกษาบูรณาการ. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัย ธรรมศาสตร์.
สุวิมล ติรกานันท์. (2550). การสร้างเครื่องมือวัดตัวแปรในการวิจัยทางสังคมศาสตร์: แนวทางสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.