ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้บริการออกแบบเว็บไซต์ UX/UI บนเพจเฟซบุ๊กในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล

Main Article Content

นัทธิพร อุ้ยสุวรรณ์
สมชาย เล็กเจริญ

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความตั้งใจใช้บริการออกแบบเว็บไซต์ UX/UI บนเพจเฟซบุ๊กในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้บริการออกแบบเว็บไซต์ UX/UI
บนเพจเฟซบุ๊กในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รูปแบบการวิจัยเป็นเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ที่เคยใช้บริการออกแบบเว็บไซต์ UX/UI บนเพจเฟซบุ๊กและพักอาศัยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 400 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบสะดวก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และโมเดลสมการโครงสร้าง


ผลการวิจัยพบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านคุณภาพการออกแบบเว็บไซต์  2) ด้านการรับรู้คุณภาพเว็บไซต์ 3) ด้านการรับรู้ข้อมูล 4) ด้านความตั้งใจใช้บริการ สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี โดยพิจารณาจากค่า CMIN/df = 2.11,  ค่า GFI = 0.95, ค่า AGFI = 0.90, ค่า SRMR = 0.05, ค่า RMSEA = 0.05 และค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ = 0.67 แสดงว่าตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความตั้งใจใช้บริการออกแบบเว็บไซต์ UX/UI บนเพจเฟซบุ๊ก ได้ร้อยละ 67 พบว่า ด้านการรับรู้ข้อมูล ด้านการรับรู้คุณภาพเว็บไซต์ ด้านคุณภาพการออกแบบเว็บไซต์ มีอิทธิพลทางตรงต่อความตั้งใจใช้บริการออกแบบเว็บไซต์ UX/UI บนเพจเฟซบุ๊กตามลำดับ ซึ่งผู้ให้บริการออกแบบเว็บไซต์ UX/UI บนเพจเฟซบุ๊กควรสร้างการรับรู้ข้อมูลเกี่ยวกับการออกแบบเว็บไซต์ที่ทันสมัยและรายละเอียดตรงตามความต้องการของผู้ใช้บริการ เพื่อให้เกิดความตั้งใจใช้บริการในครั้งต่อไป

Article Details

How to Cite
อุ้ยสุวรรณ์ น., & เล็กเจริญ ส. (2023). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจใช้บริการออกแบบเว็บไซต์ UX/UI บนเพจเฟซบุ๊กในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(4), 1988–2005. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/264635
บท
บทความวิจัย

References

กุลนิษฐ์ พงศ์พันธุ์พณิชย์ และ สุมามาลย์ ปานคํา. (2563). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความตั้งใจใช้ บริการเทรนเนอร์ออนไลน์ผ่านโซเชียลมีเดียของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 5(2), 94-105. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/240667

ธาดาธิเบศร์ ภูทอง. (2560). ผลกระทบของคุณภาพเว็บไซต์และการยอมรับเว็บเพื่อการท่องเที่ยวต่อความพึงพอใจ และความตั้งใจที่จะใช้บริการเว็บไซต์ตัวแทนการท่องเที่ยวออนไลน์. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร มนุษยศาสตร์สังคมศาสตร์และศิลปะ, 10(3), 2174-2188. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-view/110261

จูลี่ เมย์ มิ่งเจริญ และ สมชาย เล็กเจริญ. (2563). อิทธิพลการรับรู้คุณภาพการบริการอิเล็กทรอนิกส์ที่มีผลต่อการรับรู้คุณค่าและความภักดีในการใช้บริการซื้อบัตรโดยสารผ่านเว็บไซต์สายการบินไทยของผู้บริโภคในประเทศไทย. วารสารนิเทศศาสตร์ปริทัศน์, 24(3), 179-192. สืบค้นจาก

https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jca/article/view/244967

ธนะชัย หนันแก้ว และคณะ. (2563). การเปิดรับข่าวสาร การรับรู้ความเสี่ยง และการรับรู้ถึงประโยชน์ที่มีผลต่อความตั้งใจใช้บริการธนาคารบนโทรศัพท์มือถือของผู้บริโภคในจังหวัดกาญจนบุรี. วารสารมหาวิทยาลัยคริสเตียน, 26(32), 30-45. สืบค้นจากhttps://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/110261

ธัญลักษณ์ รัตน์ปัญญาพร. (2560). การตระหนักถึงข้อมลูสารสนเทศในการใช้เว็บไซต์สุขภาพในบริบทของประเทศไทย. วารสารระบบสารสนเทศด้านธุรกิจ, 2(3), 6-15. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/111359/86997/

ธาดาธิเบศร์ ภูทอง. (2560). การรับรู้ข้อมูลสุขภาพออนไลน์ต่อความไว้วางใจ และการตั้งใจใช้งานเว็บไซต์สุขภาพของผู้สูงอายุ. วารสารอิเล็กทรอนิกส์ Veridian มหาวิทยาลัยศิลปากร, 8(1), 1906–3431. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/110261

ปิยนุช พละเยี่ยม และ ชลิตา ศรีนวล. (2561). ความตั้งใจใช้บริการทางการเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารปัญญาภิวัฒน์, 10(2), 154-163. สืบค้นจากhttps://so05.tci-thaijo.org/index.php/pimjournal/article/view/162377

วีระยุต ขุ้ยศร. (2564). ปัจจัยด้านข้อมูลและคุณภาพของเว็บไซต์ ที่ส่งผลต่อความการเลือกใช้เว็บไซต์เพื่อการออกแบบภายใน, วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล., 33(2), 100-144. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/archkmitl/article/view/251842/173768

เว็บไซต์ Enterprise IT Pro. (2564, 27 ธันวาคม). 6 เทรนด์การออกแบบเว็บไซต์ให้ปังในปี 2022. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2566, จาก https://www.enterpriseitpro.net/6-trend-for-design-website/

ภูริพันธ์ คุธีรสุภะเสฏฐ์. (2560). ความสัมพันธ์ของสิทธิและหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐในการส่งเสริมและประสานงานกับภาคเอกชนเพื่อการพัฒนาชุมชน กรณีศึกษา: จังหวัดเชียงใหม่. วารสารวิชาการสารสนเทศและสื่อสาร, 15(2), 34-47. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/111359

สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2565, 21 สิงหาคม). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย2565. สืบค้นเมื่อ 6 มีนาคม 2566, จากhttps://www.etda.or.th/getattachment/

สุมามาลย์ ปานคำ และ กรรณิการ์ ไพบูลย์ (2564). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความตั้งใจในการใช้บริการรับออกแบบตกแต่งภายในบ้านผ่านเพจเฟซบุ๊กของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล, วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 4(2), 522-533. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/249718

Ahmadi, S., Karimialavije, M.R., Malekifar, N., & Mohammadi, S.M. (2015). The Effect of Website Design Quality on the Customer’s Trust and Repurchase Intention from Cosmetic Websites. Indian Journal of Fundamental and Applied Life Sciences, 5(S1), 4154-4164.

Dedeke, A.N. (2016). Travel Web-site Design: Information Rask-fit, Service Quality and Purchase Intention. Tourism Management, 54, 541-55. https://doi.org/10.1016/j.tourman.2016.01.001

Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J., & Anderson, R.E. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed.). New Jersey: Prentice Hall.

Hair, J.F., Hult, G.T.M., Ringle, C.M., & Sarstedt, M. (2014). A Primer on Partial Least Squares Structural Equation Modeling (PLS-SEM). California: Sage Publications.

Hoelter, J.W. (1983). The Effects of Role Evaluation and Commitment on Identity Salience. Social Psychology Quarterly, 46(2), 140–147. https://doi.org/10.2307/3033850

Hu, L.T., & Bentler, P.M. (1999). Cutoff Criteria for Fit Indexes in Covariance Structure Analysis: Conventional Criteria Versus New Alternatives. Structural Equation Modeling, 6(1), 1–55. https://doi.org/10.1080/10705519909540118

Joreskog, K.G., & Sorbom, D. (1984). Advances in Factor Analysis and Structural Equation Models. Lanham: Rowman & Littlefield Publishers.

Kline, R.B. (2011). Principles and Practices of Structural Equation Modeling. (3rd ed.). New York: The Guilford Press.

Schreiber, J. B., Stage, F. K., King, J., Nora, A., & Barlow, E. A. (2006). Reporting Structural Equation Modeling and Confirmatory Factor Analysis Results: A Review. The Journal of Educational Research, 99(6), 323–337. Retrieved from https://doi.org/10.3200/JOER.99.6.323-338

Schumacker, R.E., & Lomax, R.G. (2004). A Beginner's Guide to Structural Equation Modeling. (2nd ed.). New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates Publishers.

Tarkang, M.E., Ozturen, A., & Alola, U.V. (2020). Can Website Quality Moderate the Relationship Between Information-task-fit and Electronic Word of Mouth?. Journal of Public Affairs, 22(3). https://doi.org/10.1002/pa.2476

Thompson, B. (2004). Exploratory and Confirmatory Factor Analysis: Understanding Concepts and Applications. American Psychological Association. https://doi.org/10.1037/10694-000.

Ullman, M.T. (2001). The Declarative/Procedural Model of Lexicon and Grammar. Journal of Psycholinguistic Research, 30(1), 37–69. https://doi.org/10.1023/A:1005204207369