ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์สำหรับสัตว์เลี้ยง ผ่านแอปพลิเคชันช้อปปี้ในประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัจจุบันมีผู้นิยมเลี้ยงสัตว์เป็นจำนวนมาก และมีความต้องการซื้อผลิตภัณฑ์สำหรับสัตว์เลี้ยง บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์สาเหตุความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์สำหรับสัตว์เลี้ยงผ่านแอปพลิเคชันช้อปปี้ในประเทศไทย และ 2) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์สำหรับสัตว์เลี้ยงผ่านแอปพลิเคชันช้อปปี้ในประเทศไทย รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง คือผู้ที่เคยซื้อผลิตภัณฑ์สำหรับสัตว์เลี้ยงผ่านแอปพลิเคชันช้อปปี้และพักอาศัยอยู่ในประเทศไทยจำนวน 400 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และโมเดลสมการโครงสร้าง
ผลการวิจัยพบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการรับรู้ในคุณภาพสินค้า 2) ด้านการตระหนักรู้ 3) ด้านความไว้วางใจ และ 4) ด้านความ ตั้งใจซื้อ สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี โดยพิจารณาจาก ค่า CMIN/df = 1.97, ค่า GFI = 0.93, ค่า AGFI = 0.90, ค่า SRMR = 0.05, ค่า RMSEA = 0.05 และค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ = 0.44 แสดงว่าตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์สำหรับ สัตว์เลี้ยงผ่านแอปพลิเคชันช้อปปี้ ได้ร้อยละ 44 พบว่าด้านการตระหนักรู้ มีอิทธิพลทางตรงต่อความตั้งใจซื้อ ซึ่งผู้ประกอบการขายผลิตภัณฑ์สำหรับสัตว์เลี้ยงผ่านแอปพลิเคชันช้อปปี้สร้างความตระหนักรู้ให้แก่ผู้บริโภค เพื่อให้เกิดความตั้งใจซื้อในอนาคต
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กัญญานีน์ กุลกนก และ สมชาย เล็กเจริญ. (2563). อิทธิพลของการโฆษณาที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อเครื่องสำอางบำรุงผิว Keracosmetic บนอินสตาแกรมของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารการประชาสัมพันธ์และการโฆษณา, 15(1), 93-110. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jprad/article/view/248532
ชูใจ สุภาภัทรพิศาล และสุมาลี รามนัฏ. (2562). อิทธิพลเชิงโครงสร้างของปทัสถานทางจิตใจและอิทธิพลทางสังคมที่มีผลต่อความไว้วางใจและความตั้งใจซื้อโทรศัพท์สมาร์ทโฟนของประชาชนในกรุงเทพมหานคร. วารสารการเมือง การบริหาร และกฎหมาย, 13(1), 329-344. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/polscilaw_journal/article/view/258723
นฤมล กิมภากรณ์ และคณะ. (2562). การรับรู้คุณค่าหลายมิติจากประสบการณ์การบริโภคผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม. วารสารวิทยาการจัดการ, 36(2), 1-30. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jms_psu/article/view/192791
นงนภัส ชัยรักษา และ สุมามาลย์ ปานคำ. (2564). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อความภักดีในการซื้อเสื้อผ้าบนเพจเฟซบุ๊ก TONPRIGSHOP ของผู้บริโภคในประเทศไทย. วารสารวิชาการบริหารธุรกิจ, 10(2), 43-57. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/apheitvu/article/view/246906
ปาณิศา ศรีละมัย และ ศุภชาต เอ่ียมรัตนกลุ. (2561). อิทธิพลของความไว้วางใจที่มีต่อการตัดสินใจซ้ือผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดผิวหน้าที่มีส่วนผสมจากธรรมชาติผ่านร้านค้าปลีก. วารสารสหวิทยาการวิจัยฉบับบัณฑิตศึกษา. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 7(2), 69-78. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JIRGS/article/view/229650
เว็บไซต์ Soppee. (ม.ป.ป.). เกี่ยวกับ Shopee: Shopee เป็นแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซชั้นนำ ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และไต้หวัน. สืบค้นเมื่อ 11 เมษายน 2566, จาก https://careers.shopee.co.th/about
ศุภาวีร์ มงคลชาติ และ วิลาสินี ยนต์วิกัย. (2560) ปัจจัยส่วนประสมทางการตลาดที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อผลิตภัณฑ์สัตว์เลี้ยงสำหรับแมวของผู้บริโภคที่เลี้ยงแมวในประเทศไทย. วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์, 12(3), 67-73. สืบค้นจาก
https://so06.tci-thaijo.org/index.php/vrurdihsjournal/article/view/107911
สำนักงานพัฒนาธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์. (2565). รายงานผลการสำรวจพฤติกรรมผู้ใช้อินเทอร์เน็ตในประเทศไทย ปี 2565. สืบค้นเมื่อ 13 ตุลาคม 2565, จาก shorturl.at/drQS5
สมชาย เล็กเจริญ และ ปานนุช มีประสงค์. (2565) ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องสําอางบนเพจเฟซบุ๊ก LA’ PEAKของผู้บริโภคในประเทศไทย. วารสารศิลปการจัดการ, 6(3), 1299-1314. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jam/article/view/255570
สุรสิทธิ์ อุดมธนวงศ์ และคณะ (2563). อิทธิพลของกลยุทธ์การส่งเสริมการตลาดและภาพลักษณ์ องค์กรที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องดื่มจากตู้อัตโนมัติ กรณีศึกษา เต่าบิน. วารสารการบริหาร-จัดการและนวัตกรรมท้องถิ่น, 4(7), 108-119. สืบค้นจาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/jmli/article/view/259258
สิริกร เสือเหลือง และ สุรสิทธิ์ อุดมธนวงศ์ (2563). อิทธิพลของบุคคลที่มีชื่อเสียงและการรับรู้โฆษณาแฝงผ่านการตระหนักรู้ตราสินค้าที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อรถจักรยานยนต์ของผู้ชมซีรีส์ออนไลน์ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 4(2), 67-80. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jmsr/article/view/jmsr4-2-006
สุธีราเดช นครินทร และคณะ. (2565). บทบาทความไว้วางใจของผู้ซื้อที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าในตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 20(1), 28-43. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/stou-sms-pr/article/view/253571
สุมาลี รามนัฏ และธัญนันท์ บุญอยู่. (2562). อิทธิพลของความได้เปรียบในการแข่งขันอย่างยั่งยืนที่อยู่ในฐานะตัวแปรปฎิสัมพันธ์ระหว่างการมุ้งเน้นการตลาดสู่ผลการดำเนินงานของอุตสาหกรรมอาหารทะเลแช่แข็งไทย. วารสารมหาวิทยาลัยศิลปากร, 39(5), 145-159. สืบค้นจาก
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/sujthai/article/view/153842
สุธีรา เดชนครินทร์ และคณะ. (2565). บทบาทความไว้วางใจของผู้ซื้อที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อสินค้าในตลาดกลางพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์. วารสารการจัดการสมัยใหม่, 20(1), 28-43. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/stou-sms-pr/article/view/253571
สุทธิดา บัวศรี และสมชาย เล็กเจริญ. (2563). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความตั้งใจในการซื้อซ้ำสินค้าผ่านแอปพลิเคชันของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสาร มจร พุทธปัญญาปริทรรศน์, 5(2), 81-92 สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmbr/article/view/240822
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J. & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Hair, J. F., Hult, G. T. M., Ringle, C. M., & Sarstedt, M. (2014). A Primer on Partial Least Squares Structural Equation Modeling (PLS-SEM). California: Sage Publications.
Hoelter, J. W. (1983). The effects of role evaluation and commitment on identity salience. Social Psychology Quarterly, 46(2), 140–147. Retrieved from https://doi.org/10.2307/3033850
Hu, L.T., & Bentler, P. M. (1999). Cutoff criteria for fit indexes in covariance structure analysis: Conventional criteria versus new alternatives. Structural Equation Modeling, 6(1), 1–55.
Joreskog, K. G., & Sorbom, D. (1984). Advances in factor analysis and structural equation models. Lanham: Rowman & Littlefield Publishers.
Kline, R. B. (2011). Principles and practices of structural equation modeling (3rd ed.). New York: The Guilford Press.
Kotler, P., & Armstrong, G. (2006). Principles of marketing, (11th ed.). New Jersey: Prentice-Hall.
Schreiber, J. B., Stage, F. K., King, J., Nora, A., & Barlow, E. A. (2006). Reporting Structural Equation Modeling and Confirmatory Factor Analysis Results: A Review. The Journal of Educational Research, 99(6), 323–337. Retrieved from https://doi.org/10.3200/JOER.99.6.323-338
Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2004). A beginner's guide to structural equation modeling (2nd ed.). Lawrence Erlbaum Associates Publishers.
Thompson, B. (2004). Exploratory and Confirmatory Factor Analysis: Understanding Concepts and Applications. Washington DC: American Psychological Association.
Ullman, M. T. (2001). The declarative/procedural model of lexicon and grammar. Journal of Psycholinguistic Research, 30(1), 37–69. Retrieved from https://doi.org/10.1023/A:1005204207369
Yuling S., Yifan H., Xiang F., & Feng Y. (2022). The Purchase Intention for Agricultural Products of Regional Public Brands: Examining the Influences of Awareness, Perceived Quality, and Brand Trust, Mathematical Problems in Engineering, 1-10. https://doi.org/10.1155/2022/4991059