ปัจจัยด้านองค์กรและการยอมรับนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีที่มีต่อความสำเร็จในการใช้ระบบสารสนเทศในงานสอบบัญชีของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยด้านองค์กรที่มีต่อความสำเร็จของการใช้ระบบสารสนเทศในงานสอบบัญชี ด้านคุณภาพของระบบ ด้านคุณภาพของข้อมูล ด้านประโยชน์ที่ได้รับ ด้านความทันเวลาและด้านความพึงพอใจของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต และ (2) เพื่อศึกษาปัจจัยการยอมรับนวัตกรรมด้านเทคโนโลยีที่มีต่อความสำเร็จของการใช้ระบบสารสนเทศในงานสอบบัญชี ด้านคุณภาพของระบบ ด้านคุณภาพของข้อมูล ด้านประโยชน์ที่ได้รับ ด้านความทันเวลาและด้านความพึงพอใจของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือการวิจัย ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต การวิเคราะห์ข้อมูลและการทดสอบสมมติฐานเพื่อตอบวัตถุประสงค์ในการวิจัย ใช้การวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา และสถิติเชิงอนุมาน ด้วยวิธีการถดถอยพหุ
ผลการวิจัยพบว่า (1) ปัจจัยด้านองค์กรในด้านการสนับสนุนของผู้บังคับบัญชา และด้านโครงสร้างองค์กรมีอิทธิพลทางบวกต่อความสำเร็จในการใช้งานระบบสารสนเทศในงานสอบบัญชี ด้านคุณภาพของระบบ ด้านคุณภาพของข้อมูล ด้านประโยชน์ที่ได้รับ ด้านความทันเวลา และด้านความพึงพอใจ ส่วนในด้านบุคลากรมีอิทธิพลทางลบต่อความสำเร็จในการใช้งานระบบสารสนเทศในงานสอบบัญชีด้านคุณภาพของระบบ ด้านประโยชน์ที่ได้รับ และด้านความทันเวลา และ (2) ปัจจัยการยอมรับนวัตกรรมด้านเทคโนโลยี ด้านความคาดหวังในประสิทธิภาพจากการใช้งาน ด้านสิ่งอำนวนความสะดวกในการใช้งาน และด้านความคาดหวังในการพยายามใช้งานมีอิทธิพลทางบวกต่อความสำเร็จในการใช้งานระบบสารสนเทศในงานสอบบัญชี ด้านคุณภาพของระบบ ด้านคุณภาพของข้อมูล ด้านประโยชน์ที่ได้รับ ด้านความทันเวลา และด้านความพึงพอใจของผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
ชุตินุช อินทรประสิทธิ์. (2562). การสอบบัญชีในยุค Big Data. สุทธิปริทัศน์, 32(103), 189-201. สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/DPUSuthiparithatJournal/article/view/243670
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันทน์. (2559). คู่มือสู่องค์การแห่งความสำเร็จ. กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.
ปรีภัทร เกตุมงคลพงษ์, เกียรติ บุญยโพ, กุลประวีณ์ ศิริภูมิพลังกร และ ไพรัตน์ สาอุดม. (2563). ปัจจัยการยอมรับการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงานของบุคลากรในบริษัทเอกชน จังหวัดกรุงเทพมหานคร ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น. 4(3), 141-156. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/JLGISRRU/article/view/247962
พีรวัส ปทุมุต์ตรังษี, จรูญ ชำนาญไพร, เบญจฐา วัฒนกุล. (2566). การยอมรับเทคโนโลยีที่มีผลต่อการตัดสินใจซื้อสินค้าออนไลน์ของวัยรุ่น ในอำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(1), 49-60. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/258588
มณีรัตน์ วงษ์ซิ้ม. (2559). ปัจจัยที่มีผลต่อความสำเร็จของการนำระบบสารสนเทศทางการบัญชีมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศไทย. จุฬาลงกรณ์ธุรกิจปริทัศน์, 38(4), 1-32.
เรวัต ตันตยานนท์. (2560). ธุรกิจกับการสร้างนวัตกรรม. สืบค้นเมื่อ 20 สิงหาคม 2565, จาก http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/639896./.
สุทิพย์ ประทุม และ สรัญณี อุเส็นยาง. (2565). การยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศในยุควิถีชีวิตใหม่. วารสารลวะศรี, 6(1), 1-18. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/lawasrijo/article/view/257078
Aggelidis, P., & Chatzoglou, D. (2009). Using A Modified Technology Acceptance Model in Hospitals. International Journal of Medical Informatics, 78(2), 115-126. https://doi.org/10.1016/j.ijmedinf.2008.06.006
Camarero, C., Anton, C., & Rodriguez, J. (2013). Technological and Ethical Antecedents of E–book Piracy and Price Acceptance. Journal of the Electronic Library, 32(4), 542–566. DOI:10.1108/EL-11-2012-0149
Laudon, K. C., & Laudon, J. P. (2002). Management Information Systems. New Jersey: Prentice Hall.
Lei, W., Teerapornlertratt, P., Phuvakeereevivat, A., & Kumboon, B. (2023). The Development of Value Co-creation of New Retail in Taian City, The People’s Republic of China. International Journal of Multidisciplinary in Management and Tourism, 7(1), 1–12. https://doi.org/10.14456/ijmmt.2023.1
Ooi, K. B., & Tan, G. W-H. (2016). Mobile Technology Acceptance Model: An Investigation Using Mobile Users to Explore Smartphone Credit Cards. Journal of Expert Systems with Applications, 59, 33-46. https://doi.org/10.1016/j.eswa.2016.04.015
Park, E., & Kim, K. J. (2014). An Integrated Adoption Model of Mobile Cloud Services: Exploration of Key Determinants and Extension of Technology Acceptance Model. Journals of Telematics and Informatics, 31(3), 376–385. https://doi.org/10.1016/j.tele.2013.11.008
Zhao, A., & Phakdeephirot, N. (2023). Research on Influencing Factors of Employee Safety Behavior - Data from Construction Enterprises in Hebei Province, China. International Journal of Multidisciplinary in Management and Tourism, 7(1), 79–104. https://doi.org/10.14456/ijmmt.2023.6