การยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศในยุควิถีชีวิตใหม่

ผู้แต่ง

  • สุทิพย์ ประทุม -
  • สรัญณี อุเส็นยาง

คำสำคัญ:

การยอมรับเทคโนโลยี, วิถีชีวิตใหม่

บทคัดย่อ

เทคโนโลยีสารสนเทศมีความสำคัญต่อมนุษย์ เป็นการนำความรู้ทางด้านเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับสารสนเทศสามารถสร้างประโยชน์ได้อย่างกว้างขวาง และอำนวยความสะดวกในการใช้ชีวิตประจำวันได้มากขึ้น เช่น การค้นหา การจัดเก็บข้อมูล การทำธุรกรรมต่าง ๆ ตลอดจนติดต่อสื่อสารที่รวดเร็ว ทำให้ผู้ใช้งานสามารถรับรู้ข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับงานที่ทำอย่างสะดวกสบาย และรวดเร็ว ซึ่งเป็นผลดีเมื่อเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามามีบทบาท ทำให้มนุษย์มีพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปจากเดิม เช่น สามารถสั่งซื้อของออนไลน์ สั่งอาหารผ่านเดลิเวอรี่ โดยไม่จำเป็นต้องออกจากบ้าน เพราะใช้สื่อออนไลน์ในการสื่อสารระหว่างกัน เพื่อให้การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเกิดประโยชน์และเหมาะสมกับยุคสมัยใหม่ที่กำลังก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว จึงต้องมีการปรับตัวในทุกภาคส่วน ทั้งในด้านการทำงานของพนักงานที่ต้องปรับเปลี่ยนการทำงานโดยทำที่บ้านใช้เทคโนโลยีในการสื่อสารการทำงาน การประชุมผ่าน conference application เป็นการทำงานร่วมกันของทุกคนในองค์กรแบบออนไลน์ ส่วนในด้านธุรกิจพบว่าธุรกิจหันมาสนใจการทำการตลาดออนไลน์มากขึ้นและใช้เทคโนโลยีให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด เพื่อให้ธุรกิจมีรายได้และดูแลพนักงานกันต่อไปจึงก่อให้เกิดวิถีชีวิตใหม่ อย่างไรก็ตามการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ นอกจากจะเกิดผลดีก็ย่อมเกิดผลเสียได้ เช่น การเข้าถึงยากของผู้ใช้งานเทคโนโลยี เพราะมีปัจจัยหรือเหตุผลอีกหลาย ๆ อย่างที่ไม่เอื้อต่อการใช้งานจึงทำให้เกิดปัญหาได้ ดังนั้นภาครัฐและเอกชนต้องร่วมมือกันพัฒนาช่องทางการเรียนรู้แบบใหม่ สร้างแพลตฟอร์มการเรียนรู้ชั่วคราว เพื่อรองรับและแก้ปัญหาดังกล่าว โดยบทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศในยุควิถีชีวิตใหม่ ทั้งนี้กระบวนการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศในยุควิถีชีวิตใหม่ ประกอบด้วย ขั้นที่ 1 ขั้นการรับรู้ ขั้นที่ 2 ขั้นการสนใจ ขั้นที่ 3 ขั้นการประเมิน ขั้นที่ 4 ขั้นการทดลอง และขั้นที่ 5 ขั้นการยอมรับ

References

กรมสุขภาพจิต. (2563). New normal ชีวิตวิถีใหม่. สืบค้น มกราคม 25, 2565 จากhttp://www.dmh.go.th/apps

ไชยยศ เรืองสุวรรณ. (2526). ความหมายของนวัตกรรม. สืบค้น มกราคม 20, 2565 จาก https://innovation forkm.weebly.com/

ณัฐวุฒิ สง่างาม. (2554). การสร้างแบรนด์ด้วยการตลาดสีเขียวของกระดาษไอเดีย กรีน. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ตรองจิต รุ่งหิรัญ. (2563). พฤติกรรมการรับฟังการรับรู้ต่อประโยชน์ด้านความรู้และด้านความบันเทิงและความคิดเห็นของผู้ฟังในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อรายการวิทยุประเภทบันเทิงคลื่นความถี่เอฟ.เอ็ม.88.0 เมกะเฮิรต์. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิต.

ทนงศักดิ์ แสงสว่างวัฒนะ, ณิชนันท์ ศิริไสยาสน์, และโชติ บดีรัฐ. (2563). New Normal วิถีชีวิตใหม่และการปรับตัวของคนไทยหลังโควิด-19: การงาน การเรียน และธุรกิจ. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 4(3), 371-385.

ปรีภัทร เกตุมงคลพงษ์, เกียรติ บุญยโพ, กุลประวีณ์ ศิริภูริพลังกร และไพรัตน์สาอุดม. (2563, กันยายน). ปัจจัยการยอมรับการใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้งานเทคโนโลยีดิจิทัลในการปฏิบัติงานของบุคลากรในบริษัทเอกชน จังหวัดกรุงเทพมหานคร ในสถานการณ์การระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019. วารสารการบริหารการปกครองและนวัตกรรมท้องถิ่น, 4(3), 141-156.

พรรณทิพา แอดำ. (2549). การยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศของขาราชการสำนักงาน ปลัดกระทรวงพลังงาน. ปญหาพิเศษมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

พิชญา สกุลวิทย์, อังคณา อ่อนธานี และจักรกฤษณ์ จันทะคุณ. 2564. การออกแบบการสื่อสารในรูปแบบวิถีใหม่. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 2(3), 127-138.

พระมหากันตินันท์ เฮงสกุลล. (2021). เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารการศึกษา. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย. 3(1), 1-10.

พูนเพิ่ม เสรีวิชยสวัสดิ์ และเกิดศิริ เจริญวิศาล, (2562). การยอมรับและการใช้เทคโนโลยี : บทบาทสำคัญต่อพฤติกรรมเชิงสร้างสรรค์ของบุคลากร ในอุตสาหกรรมไมซ์ของประเทศไทย. วารสารวิทยาลัยดุสิตธานี, 12(3), 505-519.

มนัสพงศ์ พัฒนวิบูลย์. (2553). การรับรู้ข่าวสารและทัศนคติของประชาชนผู้รับบริการเกี่ยวกับภาพลักษณ์ในการให้บริการของธนาคารสินเอเชีย จำกัด (มหาชน). วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.

ศศิพร เหมือนศรีชัย. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับ ERP Software ของผู้ใช้งานด้านบัญชี. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

ศิริชัย กาญจนวาสี. (2545). ทฤษฎีการประเมิน (พิมพ์ครั้งที่ 3) กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สิงหะ ฉวีสุข และสุนันทา วงศ์จตุรภัทร. (2555). ทฤษฎีการยอมรับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ. วิทยานิพนธ์ปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สถาบันพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.

สิริรัตน์ ช่อฉาย. (2564, มกราคม). ศึกษาพฤติกรรมชีวิตวิตใหม่ของนักเรียนในช่วงสถานการณ์ COVID-19. วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์รำไพพรรณี, 2(1), 1-14.

สุพจน์ อิงอาจ และอภิญญา อิงอาจ. (2564). การจัดการเรียนการสอนออนไลน์ที่ส่งผลต่อการตั้งใจอย่างต่อเนื่อง ต่อการเรียนในแบบฐานวิถีชีวิตใหม่ของนักศึกษาระดับปริญญาตรี. วารสารบริหารธุรกิจเทคโนโลยี มหานคร, 18(1), 28-45.

สุวิมล ว่องวาณิช. (2544). แนวทางการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา. กรุงเทพฯ : สถาบันส่งเสริมการประเมินคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาแห่งชาติ.

เสรี วงษ์มณฑา. (2542). การวิเคราะห์พฤติกรรมผู้บริโภค. กรุงเทพฯ: ธีระฟิล์มและไซเท็กซ์.

หทัยกาญจน์ วรรธนสิทธิโชค. (2551). การยอมรับบริการซื้อขายกองทุนรวมทางอินเทอร์เน็ตของผู้ลงทุนในเขต กรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

อนาวิล ศักดิ์สูง, อัศนีย์ ณ น่าน และฑัตษภร ศรีสุข. (2563). การยอมรับเทคโนโลยีโทรศัพท์มือถือและพฤติกรรมผู้บริโภค ออนไลน์ ที่ส่งผลต่อการเลือกใช้บริการสั่งอาหารผ่านทางแอปพลิเคชันของผู้บริโภคในจังหวัดลำปาง. วารสารวิจัยมหาวิทยาลัยเวสเทิร์น มนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(3), 162-164.

อรทัย เลื่อนวัน. (2555). ปัจจัยที่มีผลต่อการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศ: กรณีศึกษา กรมการพัฒนาชุมชน ศูนย์ราชการแจ้งวัฒนะ. การค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี.

เอกลักษณ์ ธนเจริญพิศาล. (2554). ความตระหนักและการยอมรับการนำระบบการจัดการ สิ่งแวดล้อม (ISO 14001) มาใช้ในองค์การภาครัฐ: ศึกษากรณีสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม. วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์.

อำนวย เดชชัยศรี. (2544). นวัตกรรมและเทคโนโลยีการศึกษา. กรุงเทพฯ: องค์การค้าของคุรุสภา.

Davis, F. (1985). A technology acceptance model for empirically testing new end-user information systems: theory and results. Doctoral Dissertation, MIT Sloan School of Management Cambridge MA.

Fishbein, M. & Ajzen, I. (1975). Belief, Attitude, Intention, and Behavior: An Introduction to theory and research. Reading, MA: Addison-Wesley.

Foster, G. (1973). Traditional societies and technological change. New York : Harper & Row

Hughes, C. (2003). What does it really takes to get into the Ivy League & other highly selective colleges. New York: McGraw- Hill.

IMC Institute. (2014). Cloud computing in Thailand readiness survey 2014. Retrieved from http://www.slideshare.net/imcinstitute/cloud-survey-39961863.

Krapp, A. (1999). Interest, motivation and learning: An educational-psychological perspective. file:///C:/Users/NCS%202021/Downloads/99krapp_EJPE_neu%20(1).pdf

Roger, E., & Shoemaker, F. (1971). Communication of innovation. New York : The Free Press.

Schiefele, U. (1991). Interest, Learning, and Motivation. https://publishup.unipotsdam.de/opus4- ubp/frontdoor/deliver/index/docId/3170/file/schiefele1991_26.pdf

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2022-06-27