การวิเคราะห์คุณลักษณะคราฟต์เบียร์ที่มีผลต่อความพอใจของผู้บริโภค
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาคุณลักษณะของคราฟต์เบียร์ที่มีผลต่อความพอใจของผู้บริโภคในรูปแบบการวิจัยเชิงปริมาณ การศึกษามุ่งเน้นศึกษาในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จากกลุ่มตัวอย่างผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไป และเคยดื่มคราฟต์เบียร์อย่างน้อย 3 ครั้ง ซึ่งมีจำนวน 300 ตัวอย่าง วิเคราะห์ด้วยแบบจำลององค์ประกอบร่วม Conjoint Analysis ผลการศึกษาพบว่า คุณลักษณะของคราฟต์เบียร์ที่ผู้บริโภคมีความพึงพอใจมากที่สุด คือ คราฟต์เบียร์บรรจุขวดหรือกระป๋อง ที่มีลักษณะสีทอง แบบใสหรือมีความโปร่งแสง ระดับความขมปานกลาง IBUs ระหว่าง 30 – 60 มีกลิ่นผลไม้ และมีระดับแอลกอฮอล์ 5% ขึ้นไป ด้านราคาของคราฟต์เบียร์ปริมาณ 330 มล. ผู้บริโภคต้องการให้ราคาต่อหนึ่งขวดเท่ากับราคา 150 บาท ผลการศึกษานี้เสนอให้ผู้ผลิตและผู้ประกอบการคุณลักษณะเบียร์ดังกล่าวเป็นข้อมูลในการวางแผนการผลิตและการตลาดที่เหมาะสมเพื่อดึงดูดผู้บริโภคให้เลือกดื่มคราฟต์เบียร์ต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กนิษฐา ไทยกล้า และ สุโข เสมมหาศักดิ์. (2560). คราฟต์เบียร์ในสังคมไทย. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2566, จาก http://cas.or.th/information/
กานต์พิชชา เก่งการช่าง และ ปัญญา ศรีสิงห์. (2563). พฤติกรรมผู้บริโภคและส่วนประสมทางการตลาดที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อคราฟต์เบียร์ ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารสมาคมนักวิจัย, 25(1), 154-169. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jar/article/view/241539
บีแอลที กรุงเทพ. (2561). แนวโน้มตลาดคราฟต์เบียร์ไทยปี 61. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2566, จาก https://www.bltbangkok.com/news/4320/
ปริธิ ทองมิตร. (2560). คราฟท์เบียร์ไทยไม่แพ้เบียร์นอก ‘เบียร์ทำมือ’ ความหวังผลักดันเศรษฐกิจ. สืบค้นเมื่อ 25 ตุลาคม 2566, จาก https://prachatai.com/journal/2016/08/67270
พงษ์นรินทร์ ปิดจัตุรัส และ นิรมาล งามเหมาะ. (2566). การวิเคราะห์องค์ประกอบร่วมคุณลักษณะตราผลิตภัณฑ์ที่มีต่อการตัดสินใจซื้อเครื่องดื่มชูกำลังของผู้บริโภคในจังหวัดนครราชสีมา. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธนบุรี, 17(3), 60-72. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/trujournal/article/view/270042
วรรณา ยงพิศาลภพ. (2565). แนวโน้มธุรกิจ/อุตสาหกรรม ปี 2565-67 อุตสาหกรรมเครื่องดื่ม. สืบค้นเมื่อ 5 กุมภาพันธ์ 2567, จาก https://www.krungsri.com/getmedia/15d97281-3a4e-40e8-a226-9f43b6bdfad2/IO_Beverage_220130_TH_EX.pdf.aspx
อธิวัฒน์ ลาภหลาย, อภิญญา วนเศรษฐ และ วสุ สุวรรณวิหค. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อการบริโภคเบียร์ในประเทศไทยและนโยบายภาครัฐ. วารสารเกษตรศาสตร์ธุรกิจประยุกต์, 14(21), 1-14. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/KAB/article/view/248453
อภิญญา เอกพงษ์. (2558). การประยุกต์ใช้เทคนิคการวิเคราะห์องค์ประกอบร่วมในการพัฒนาแนวคิดผลิตภัณฑ์อาหารชนิดใหม่. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี. 17(3), 71-78. สืบค้นจาก https://li01.tci-thaijo.org/index.php/sci_ubu/article/view/86571
Anderson, D, R., Sweeney, D, J., & Williams, T, A., (2008). Statistics for Business and Economics (10th ed). Ohio: Thomson South-Western.
Aquilani, B., Laureti, T., Poponi, S., & Secondi, L. (2015). Beer choice and consumption determinants when craft beers are tasted: An exploratory study of consumer preferences. Food Quality and Preference, 41, 214-224. https://doi.org/10.1016/j.foodqual.2014.12.005
Brewers Association, (2023). Craft Brewer Definition. Retrieved July 27, 2023, from https://www.brewersassociation.org/statistics-and-data/craft-brewer-definition/
Cattin, P., & Wittink, D. R. (1982). Commercial use of conjoint analysis: A survey. Journal of Marketing, 46(3), 44-53. https://doi.org/10.1177/002224298204600308
Flanders state of the art. (2020). Beer Market in Thailand. Retrieved March 17, 2024, from https://www.flandersinvestmentandtrade.com/export/sites/trade/files/market_studies/Studie%20Beer%20Market%20in%20Thailand.pdf
Green, P. E., & Krieger, A. M. (1991). Segmenting markets with conjoint analysis. Journal of Marketing, 55(4), 20-31. https://doi.org/10.1177/002224299105500402
Lerro, M., Marotta, G., & Nazzaro, C. (2020). Measuring consumers’ preferences for craft beer attributes through Best-Worst Scaling. Agricultural and Food Economics, 8(1), 1-13. https://doi.org/10.1186/s40100-019-0138-4
Sirieawphikul, C., Phuchong, N., Phakdeephirot, N., Laohaphatanalert, K., Papattha, C., & Shoowong, D. (2022). Attitude and Consumption Behavior of Craft Beer Consumers in Bangkok, Thailand. RICE Journal of Creative Entrepreneurship and Management,
(2), 1-15. DOI: https://doi.org/10.14456/rjcm.2022.7