ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการใช้บริการออกแบบรูปภาพโฆษณาผ่านเพจเฟซบุ๊ก Tanee Graphic ของผู้ใช้บริการในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุความตั้งใจใช้บริการออกแบบภาพโฆษณาผ่านเพจเฟซบุ๊ก Tanee Graphic ของผู้ใช้บริการในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล 2) ศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจในการใช้บริการออกแบบรูปภาพโฆษณาผ่านเพจเฟซบุ๊ก Tanee Graphic ของผู้ใช้บริการในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ที่เคยใช้บริการออกแบบรูปภาพโฆษณาผ่านเพจเฟซบุ๊ก Tanee Graphic และพักอาศัยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 300 คน สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และโมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการตระหนักรู้ถึงแบรนด์ 2) ด้านภาพลักษณ์ของแบรนด์ 3) ด้านคุณค่าของแบรนด์ และ 4) ด้านความตั้งใจใช้บริการ สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี โดยพิจารณาจากค่า CMIN/df = 1.95, ค่า GFI = 0.95, ค่า AGFI = 0.92, ค่า SRMR = 0.04, ค่า RMSEA = 0.06 และค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์= 0.67 แสดงว่าตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของความตั้งใจใช้บริการออกแบบภาพโฆษณาผ่านเพจเฟซบุ๊ก Tanee Graphic ได้ร้อยละ 67 พบว่าด้านการตระหนักรู้ถึงแบรนด์ และด้านภาพลักษณ์ของแบรนด์มีอิทธิพลทางตรงต่อความตั้งใจใช้บริการ ตามลำดับ ซึ่งถ้าผู้ประกอบการนำผลการวิจัยนี้ไปใช้จะเป็นประโยชน์ต่อธุรกิจออกแบบรูปภาพโฆษณา ทำให้ผู้ใช้บริการเกิดการตระหนักรู้ถึงแบรนด์ จดจำภาพลักษณ์ของแบรนด์ และคุณค่าของแบรนด์ ส่งผลให้ผู้ใช้บริการเกิดความตั้งใจใช้บริการออกแบบรูปภาพโฆษณาผ่านเพจเฟซบุ๊ก Tanee Graphic
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
ชัชญา สกุณา และ สุพิชฌาย์ ฉิมจินดา. (2564). ภาพลักษณ์และการตัดสินใจซื้อสินค้าแบรนด์ MUJI ผ่านกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดเรื่องการปรับลดราคาของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. วารสารวิชาการคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏนครสวรรค์, 8(2), 148-155. สืบค้นจาก https://so05.tci-thaijo.org/index.php/hssnsru/article/view/254966
ธีรนาฏ ขาวละออง และ สมบัติ ธํารงสินถาวร. (2564). ปัจจัยทางด้านการตลาดที่ส่งผลต่อความภักดีของผู้บริโภคต่อร้านอาหารเชิงท่องเที่ยวในจังหวัดชลบุรี : บทบาทของความชื่นชอบความหลากหลายของผู้บริโภค. วารสารรัชต์ภาคย์, 15(42), 354-367. สืบค้นจาก
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/RJPJ/article/view/252451
ธีรศักดิ์ จินดาบถ, สุนันทา เหมทานนท์ และ พิไลวรรณ ประพฤติ. (2561). การรับรู้คุณค่าและความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ยางของผู้บริโภคชาวไทย. วารสารบริหารธุรกิจศรีนครินทรวิโรฒ, 9(2), 106-116. สืบค้นจาก https://ejournals.swu.ac.th/index.php/MBASBJ/article/view/10679
นิมิต ซุ้นสั้น. (2562). การทดสอบความสัมพันธ์คุณค่าตราสินค้า ต่อความพึงพอใจลูกค้าและความภักดีตราสินค้าในโรงแรมแบบบูติ. วารสารวิชาการท่องเที่ยวไทยนานาชาติ, 15(2), 138-160.สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jitt/article/view/216455
พัทธิยา ชูสวัสดิ์ และ สุมามาลย์ ปานคํา. (2566). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์สําหรับสัตว์เลี้ยงผ่านแอปพลิเคชันช้อปปี้ในประเทศไทย. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(4), 1783-1800. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/264702
ยงยุทธ นิลเปล่งแสง และ สมชาย เล็กเจริญ. (2563). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุต่อการใช้บริการออกแบบกราฟิกผ่านช่องทางเฟซบุ๊กของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารบัณฑิตศาส์น, 18(2), 146-153. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mgsj/article/view/245125
เว็บไซต์ Datareportal. (2023). จำนวนผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตในประเทศไทย (Digital 2023: Thailand). สืบค้นเมื่อ 18 ตุลาคม 2566, จาก https://datareportal.com/reports/digital-2023-thailand
สิริกร เสือเหลือง และ สุรสิทธิ์ อุดมธนวงศ์. (2563). อิทธิพลของบุคคลที่มีชื่อเสียงและการรับรู้โฆษณาแฝงผ่านการตระหนักรู้ตราสินค้า ที่ส่งผลต่อความตั้งใจซื้อรถจักรยานยนต์ของผู้ชมซีรีส์ออนไลน์ ในเขตกรุงเทพมหานคร. วารสารวิจัยวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์, 4(2), 67-80. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jmsr/article/view/jmsr4-2-006
อรวรรยา ข่ายทอง และ สุมามาลย์ ปานคํา. (2566). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อความตั้งใจซื้อเครื่องสําอางผ่านแอปพลิเคชันเซโฟราในประเทศไทย. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(4), 1801-1818. สืบค้นจาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/264750
อินทกะ พิริยะกุล และ ระพีพรรณ พิริยะกุล. (2563). การจัดการประสบการณ์ลูกค้าและการปรับแต่งตามลูกค้าเพื่อสร้างคุณค่าตราสินค้าโดยมีเพศเป็นตัวแปรกำกับ. วารสารบริหารธุรกิจ เศรษฐศาสตร์และการสื่อสาร, 16(3), 29-44. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/BECJournal/article/view/242561
El-Jalil, A., Gaber, S., Atito, M., Rady, A., & Fawy, W. M. (2023). The effect of brand image and brand awareness through social media on purchase intention in the Egyptian youth hostels. Minia Journal of Tourism and Hospitality Research MJTHR, 15(1), 53-71. https://doi.org/10.21608/mjthr.2022.171387.1074
Grand View Research. (2023). E-commerce market size, share & trends analysis report by type (B2C, B2B, C2C), By Channel (Website, Social media, Marketplace), By Product (Electronics, Fashion, Furniture, Home Goods, Food & Beverages), By Region, and Segment Forecasts, 2023-2030. Retrieved from https://www.grandviewresearch.com/industry-analysis/e-commerce-market
Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J., & Anderson, R.E. (2010). Multivariate data analysis (7th ed.). Upper Saddle River, NJ: Prentice Hall.
Hair, J.F., Black, W.C., Babin, B.J., & Anderson, R.E. (2014). A primer on Partial Least Squares Structural Equation Modeling (PLS-SEM). California, CA: Sage Publications.
Hoelter, J. W. (1983). The effects of role evaluation and commitment on identity salience. Social Psychology Quarterly, 46(2), 140–147. https://doi.org/10.2307/3033850
Hu, L.T., & Bentler, P. M. (1999). Cutoff criteria for fit indexes in covariance structure analysis: Conventional criteria versus new alternatives. Structural Equation Modeling, 6(1), 1–55. https://doi.org/10.1080/10705519909540118
Irpan, I., & Ruswanti, E. (2020). Analysis of brand awareness and brand image on brand equity over customer implications to purchase intention at PT. SGMW Motor Indonesia (Wuling, Indonesia). Journal of Multidisciplinary Academic, 4(3), 127-134. Retrieved from https://www.kemalapublisher.com/index.php/JoMA/article/view/447
Joreskog, K. G., & Sorbom, D. (1984). Advances in factor analysis and structural equation models. Lanham: Rowman & Littlefield Publishers.
Kline, R. B. (2011). Principles and practices of structural equation modeling (3rd ed.), New York: The Guilford Press.
Lu, J., Ren, L., Zhang, C., Wang, C., Shahid, Z., & Streimikis, J. (2020). The influence of a firm’s CSR initiatives on brand loyalty and brand image. Journal of Competitiveness, 12(2), 106-124. https://doi. org/10.7441/joc.2020.02.07
Muchtar, M., Hurriyati, R., Dirgantari, P. D., & Sigarlaki, F. F. (2022). Analisis digital advertising terhadap purchase intention melalui brand awareness sebagai variabel intervening. Jurnal Informatika Ekonomi Bisnis, 251-256. https://doi.org/10.37034/infeb.v4i4.183
Schreiber, J. B., Stage, F. K., King, J., Nora, A., & Barlow, E. A. (2006). Reporting structural equation modeling and confirmatory factor analysis results: A review. The Journal of Educational Research, 99(6), 323–337. https://doi.org/10.3200/JOER.99.6.323-338
Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2004). A beginner's guide to structural equation modeling. (2nd ed.). Lawrence Erlbaum Associates Publishers.
Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2010). A beginner’s guide to structural equation modeling. (3rd ed.). Routledge.
Supardin, L., Rokhmawati, H. N., & Kuncorowati, H. (2023). The role of brand image, price and trust on purchase intention herbal medicine. International Journal of Economics and Management Review, 1(2), 69-82. https://doi.org/10.58765/ijemr.v1i2.147
Thompson, B. (2004). Exploratory and confirmatory factor analysis: Understanding concepts and applications. American Psychological Association. https://doi.org/10.1037/10694-000
Ullman, M. T. (2001). The declarative/procedural model of lexicon and grammar. Journal of Psycholinguistic Research, 30(1), 37–69. https://doi.org/10.1023/A:1005204207369