การพัฒนาตัวแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของวิศวกรจัดซื้อ

Main Article Content

กฤษณะ โฆษชุณหนันท์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของวิศวกรจัดซื้อ 2) พัฒนาตัวแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของวิศวกรจัดซื้อ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของวิศวกรจัดซื้อที่มีต่อตัวแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของวิศวกรจัดซื้อ รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยแบบผสมผสาน ใช้แนวคิดการสื่อสารภาษาอังกฤษ การเรียนรู้ตลอดชีวิต และบทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ เป็นกรอบการวิจัย พื้นที่วิจัย คือ นิคมอุตสาหกรรมอมตะซิตี้ จังหวัดชลบุรี และสวนอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา กลุ่มตัวอย่าง คือ วิศวกรจัดซื้อ จำนวน 20 คน โดยใช้วิธีการคัดเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ 1) แบบสัมภาษณ์กึ่งมีโครงสร้าง 2) บทเรียนอิเล็กทรอนิกส์ และ 3) แบบประเมินความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลในการวิจัยเชิงปริมาณโดยใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพ ใช้การวิเคราะห์เนื้อหาและเขียนบรรยายเชิงพรรณนา


ผลการวิจัยพบว่า 1) วิศวกรจัดซื้อมีความต้องการใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารโดยภาพรวมในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ทักษะด้านการอ่าน ทักษะการพูด และทักษะการเขียน เป็นทักษะที่มีความต้องการใช้มากที่สุด 2) ตัวแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของวิศวกรจัดซื้อที่สอดคล้องกับความต้องการเรียนรู้ของวิศวกรจัดซื้อจำแนกออกเป็น 4 ส่วน ประกอบด้วย เนื้อหา ระบบบริหารจัดการการเรียน/การสอน การติดต่อสื่อสาร และแบบประเมิน/แบบทดสอบ และ 3) ระดับความพึงพอใจของวิศวกรจัดซื้อที่มีต่อตัวแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของวิศวกรจัดซื้อโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายด้านพบว่า ด้านที่มีคะแนนเฉลี่ยสูงสุดได้แก่ ด้านการออกแบบ


ข้อค้นพบจากงานวิจัยนี้ การจัดกิจกรรมสำหรับการสอนภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารสำหรับคนช่วงวัยผู้ใหญ่จำเป็นต้องอาศัยนวัตกรรม ทั้งนี้ตัวแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของวิศวกรจัดซื้อที่ตอบสนองความต้องการเรียนรู้ตลอดชีวิต มีส่วนประกอบด้วย 4 ส่วน ได้แก่ เนื้อหา ระบบบริหารจัดการการเรียน/การสอน การติดต่อสื่อสาร และแบบประเมิน/แบบทดสอบ

Article Details

How to Cite
โฆษชุณหนันท์ ก. (2023). การพัฒนาตัวแบบการส่งเสริมการเรียนรู้ภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสารของวิศวกรจัดซื้อ. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 6(4), 2200–2213. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/266723
บท
บทความวิจัย

References

กฤษณะ โฆษชุณหนันท์. (2564). การใช้ภาษาอังกฤษเพื่อการแสวงหาสารสนเทศของวิศวกรจัดซื้อ. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา, 33(118), 121-128.

กฤษณะ โฆษชุณหนันท์ และ พรชิตา อุปถัมภ์. (2561) ทักษะการอ่านภาษาอังกฤษของวิศวกรอุตสาหกรรมยานยนต์. วารสารพัฒนาเทคนิคศึกษา, 30(106), 143-149.

คณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ. (2561). ยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ. 2561-2580). กรุงเทพฯ: สำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ชาติ.

ถนอมพร เลาหจรัลแสง. (2545). หลักการออกแบบและการสร้างเว็บเพื่อการเรียนการสอน. กรุงเทพฯ: อรุณการพิมพ์.

ฟรอนทิส [FRONTIS]. (2022). 8 Disruptive Technologies ที่จะมาพลิกโฉมโลกธุรกิจใน 5 ปีข้างหน้า. สืบค้นจาก https://frontiscompany.com/8-disruptivetechnologies-shaping-the-next-5-years.

Abdulla, M.D., & Kumar, S.A. (2016). Blooming English Language Skills for Budding Engineers to Flourish in Global Environment. Journal of English Language and Literature (JOELL), 3(1), 58-63.

Abumandour, E.-S.T. (2022), Applying E-learning System for Engineering Education – Challenges and Obstacles. Journal of Research in Innovative Teaching & Learning, 15(2), 150-169.

Bergeson, T. (2008). Communication. Retrieved from http://www.k12.wa.us/curriculumInstruct/-communication/default.aspx

Commonwealth of Australia. (2011). Commonwealth of Australia. (2011). Realising the Economic Potential of Senior Australians: Turning Grey into Gold. Australia: Advisory Panel on the Economic Potential of Senior Australians.

Craig, R.T. (2007). Pragmatism in the Field of Communication Theory. Communication Theory, 17(2), 125-145.

Dillon, A., & Zhu, E. (1997). Designing Web-based Instruction: A Human-computer Interaction Perspective. In Web-based Instruction,

Badrul H. K.(ed). New Jersey: Educational Technologies Publications.

Khan, B.H, (Ed.). (1997). Web-based Instruction. New Jersey: Educational Technologies Publications.

Kluensuwan, P., Chaisiri, T., Poomarin, W., & Rungruangsuparat, B. (2019). Needs Analysis of English for Engineering Staff in the Electronics Industry in Phra Nakhon Si Ayutthaya and Pathum Thani, Thailand. NIDA Journal of Language and Communication, 24(36), 64-90.

Knowles, M. S. (1980). The Modern Practice of Adult Education: From Pedagogy to Andragogy. New Jersey: Cambridge Adult Education.

McClusky, H. Y. (1975). Education for Ageing: The Scope of the Field and Perspectives for the Future. In S.M. Grabowski & W. D. Mason (Eds.), Learning for Ageing (324–355). Washington, D.C.: Adult Education Association of the United States of America.

Paulston, C.B., & Bruder, M. N. (1976). Teaching English as a Second Language: Techniques and Procedures. Cambridge: Winthrop Publishers.

Phusum, B. (2019). A Study of English Language Learning Strategies Employed by Thai Engineering Students with High English Learning Proficiency(Master of Arts). Srinakharinwirot University.

Richards, J. C., & Rodgers, T. S. (2003). Approaches and Methods in Language Teaching. (2nd ed.). New York: Cambridge University Press.

Riemer, M. J. (2002). English and Communication Skills for the Global Engineer. Global Journal of Engineering Education, 6(1), 91-100.

Rintaningrum, R. (2018). Investigating Reasons Why Listening in English is Difficult: Voice from Foreign Language Learners. Asian EFL Journal, 20(11), 112–120.

Rao, B.S., Manjula, I.S.V., & Lakshmi, G.S. (2020). English Communication Skills and the Needs of Engineering Students. International Journal of Management and Humanities (IJMH), 4(5), 96-98.

Scott, R. (1981). Speaking in Communication in The Classroom. London: Longman.

Shamrao, M. V. (2012). Importance of English Communication for Engineering Students from Rural Areas and its Remedies. IOSR Journal of Mechanical and Civil Engineering (IOSR-JMCE). Retrieved from http://www.iosrjournals.org/iosrjmce/papers/sicete(civil)-volume2/20.pdf

United Nations. (2022). Transforming Education Summit. Retrieved from: https://www.un.org/en/transforming-education-summit