ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความตั้งใจใช้บริการระบบรับฟังเสียงผู้บริโภคบนเว็บไซต์ของผู้ประกอบการ ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุพฤติกรรมความตั้งใจใช้บริการระบบรับฟังเสียงผู้บริโภคบนเว็บไซต์ของผู้ประกอบการในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล และศึกษาปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความตั้งใจใช้บริการระบบรับฟังเสียงผู้บริโภคบนเว็บไซต์ของผู้ประกอบการในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงปริมาณ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถามออนไลน์ กลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้ประกอบการที่เคยใช้บริการระบบรับฟังเสียงผู้บริโภคบนเว็บไซต์และพักอาศัยในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 476 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบสะดวก สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และโมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัยพบว่า โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านคุณภาพของข้อมูล 2) ด้านคุณภาพของเว็บไซต์ 3) ด้านความไว้วางใจ และ 4) ด้านพฤติกรรมความตั้งใจซื้อ สอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์เป็นอย่างดี โดยพิจารณาจากค่า CMIN/df = 2.00, ค่า GFI = 0.94, ค่า AGFI = 0.91, ค่า SRMR = 0.01, ค่า RMSEA = 0.05 และค่าสัมประสิทธิ์การพยากรณ์ = 0.77 แสดงว่าตัวแปรในโมเดลสามารถอธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมความตั้งใจใช้บริการระบบรับฟังเสียงผู้บริโภคบนเว็บไซต์ ได้ร้อยละ 77 พบว่า ด้านคุณภาพของข้อมูลด้านคุณภาพของเว็บไซต์เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อพฤติกรรมความตั้งใจใช้บริการตามลำดับ ซึ่งผู้ให้บริการระบบรับฟังเสียงผู้บริโภคบนเว็บไซต์ควรคำนึงถึงการนำเข้าคุณภาพของข้อมูลที่ถูกต้องเพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นทำให้เกิดพฤติกรรมความตั้งใจใช้บริการ รวมถึงด้านคุณภาพของเว็บไซต์ที่ควรพัฒนาให้มีความทันสมัยและสะดวกต่อการใช้งาน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กวิสรา ภักดีนอก. (2565, 15 มีนาคม). คุณภาพข้อมูล คุณภาพระบบ คุณภาพบริการ ความเป็นส่วนตัวและความปลอดภัยที่ส่งผลต่อความพึงพอใจและความตั้งใจเชิงพฤติกรรมของผู้ใช้แอปพลิเคชันเป๋าตังในกรุงเทพมหานคร. สืบค้นเมื่อ 25 มีนาคม 2566, จากhttp://dspace.bu.ac.th/jspui/handle/123456789/5131
กุลจิรา แปงชิด, และพีรญา ชื่นวงศ์. (2561). ความไว้วางใจในการเลือกซื้อสินค้าผ่านทางสื่อสังคมออนไลน์ของนักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย. วารสารนิเทศศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 1(2), 25-42. สืบค้นจาก https://so01.tci-thaijo.org/index.php/CRRUJC/article /view/165478
ธาดาธิเบศร์ ภูทอง. (2561). ผลกระทบของภาพลักษณ์ดิจิทัลของจุดหมายปลายทางการท่องเที่ยวผ่านแพลตฟอร์มสื่อสังคมต่อคุณค่าเชิงความเพลิดเพลินทางอารมณ์และความตั้งใจเชิงพฤติกรรมที่จะเดินทางไปท่องเที่ยว. Veridian E-Journal, Silpakorn University ฉบับภาษาไทย มนุษย์ศาสตร์ สังคมศาสตร์ และศิลปะ, 11(3), 2193-2218. สืบค้นจาก https://he02.tci-thaijo.org/index.php/Veridian-E-Journal/article/view/159694
นวลใย พิศชาติ, เพ็ญจันทร์ แสนประสาน และ วารี วณิชปัญจพล. (2564). ความไว้วางใจกับการบริการพยาบาล. วารสารการพยาบาลและสุขภาพ สสอท., 3(3), 1-12. สืบค้นจาก https://rsujournals.rsu.ac.th/index.php/ajnh/article/view/2669
บุหงา ชัยสุวรรณ. (2563). Social media listening Tool และตัวอย่างการนำมาใช้ในการวิจัยเชิงวิชาการทางด้านนิเทศศาสตร์. สืบค้นเมื่อ 12 พฤศจิกายน 2565, จาก http://gscm.nida.ac.th/th/previews.php?id=285
พณณกร กระบวนศรี, อุษณีย์ เส็งพานิช และ รัตนา สิทธิอ่วม. (2565). ปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจเชิงพฤติกรรมในการทํางานที่บ้านของบุคลากรกรมบัญชีกลาง. วารสารวิทยาการจัดการมหาวิทยาลัยราชภัฏพิบูลสงคราม, 4(3), 15-29. สืบค้นจาก https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmspsru/article/view/262617
มัลลิกา ธรรมณรงค์ และ วิชิต อู่อ้น. (2564). ตัวแบบจําลองปัจจัยเชิงสาเหตุของความพึงพอใจทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการจองห้องพักบนเว็บไซต์ออนไลน์ในประเทศไทย. วารสารศิลปการจัดการ, 5(3), 733-748. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jam/article/view/250999
วิชุดา ไชยศิวามงคล, จิตรภรณ์ ทับทิม และ อรณี ปินะการัง. (2565). ความคิดเห็นเกี่ยวกับความสําคัญของคุณภาพสารสนเทศบนเว็บไซต์พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์: นักศึกษาปริญญาตรีมหาวิทยาลัยขอนแก่น. วารสารวิทยาศาสตร์ มข., 44(3), 593-607. สืบค้นจาก https://ph01.tci-thaijo.org/index.php/KKUSciJ/article/view/249584
สุมามาลย์ ปานคํา และ สุภักปรียา แย้มมี. (2564). ปัจจัยเชิงสาเหตุที่มีผลต่อความภักดีในการจองห้องพักบนเว็บไซต์แอร์บีเอ็นบีของผู้บริโภคในประเทศไทย. วารสารศิลปการจัดการ, 5(2), 384-398. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jam/article/view/248032
Aulia, R. P., Said, M., & Syafruddin, C. (2019). Analysis of Behavioral Intention to Use a Community-Based Information System in The City of Banda Aceh, Indonesia. Expert Journal of Marketing, 7(2), 93-99. Retrieved from https://econpapers.repec.org/article/expmkting/v_3a7_3ay_3a2019_3ai_3a2_3ap_3a93-99.htm
Hair, J. F., Black, W. C., Babin, B. J., & Anderson, R. E. (2010). Multivariate Data Analysis. (7th ed.). New Jersey: Prentice Hall.
Hair, J. F., Hult, G. T. M., Ringle, C. M., & Sarstedt, M. (2014). A Primer on Partial Least Squares Structural Equation Modeling (PLS-SEM). California: Sage.
Hoelter, J. W. (1983). The Effects of Role Evaluation and Commitment on Identity Salience. Social Psychology Quarterly, 46(2), 140–147. https://doi.org/10.2307/3033850
Hu, L.T., & Bentler, P. M. (1999). Cutoff Criteria for Fit Indexes in Covariance Structure Analysis: Conventional Criteria Versus New Alternatives. Structural Equation Modeling, 6(1), 1–55. https://doi.org/10.1080/10705519909540118
Joreskog, K. G., & Sorbom, D. (1984). Advances in Factor Analysis and Structural Equation Models. Lanham: Rowman & Littlefield.
Kline, R. B. (2011). Principles and Practices of Structural Equation Modeling. (3rd ed.). New York: The Guilford.
Maizatul, A. M.R., Nurfariza, H.Z., Nor, S. A. S., Fadhilah, A. G., Nurulhuda, A. R. & Raja, S. N. R. I. (2020). Determinants of Behavioural Intention on Online Food Delivery (OFD) APPS: Extending UTAUT2 with Information Quality. Global Business and Management Research: An International Journal, 12(4), 679-689. https://doi.org/10.3390/su11113141
Mohammad, I. A. Z., & Ahmad, I. A. Z. (2020). An Investigation of Factors Affecting E-Marketing Customers’ Behavioral Intention to Use the Telecommunication Industry in Jordan. International Journal of Marketing Studies, 11(3), 125-130. https://doi.org/10.5539/ijms.v11n3p125
PADA Academy. (2021, 8 March). SocialListening กลยุทธ์ฟังเสียงลูกค้า เสริมทัพให้ธุรกิจ. สืบค้นเมื่อ 29 มกราคม 2566, จาก https://www.padaacademy.com/blog/social-listening-strategies-to-listen-to-customers-voices-strengthen-the-business.html
Strengholt, P. (2020). Data Management at Scale. (2nd ed.). California, CA: O'Reilly.
Schreiber, J. B., Stage, F. K., King, J., Nora, A., & Barlow, E. A. (2006). Reporting Structural Equation Modeling and Confirmatory Factor Analysis Results: A Review. The Journal of Educational Research, 99(6), 323–337. https://doi.org/10.3200/JOER.99.6.323-338
Schumacker, R. E., & Lomax, R. G. (2004). A Beginner's Guide to Structural Equation Modeling. (2nd ed.). Lawrence Erlbaum Associates.
Thompson, B. (2004). Exploratory and Confirmatory Factor Analysis: Understanding Concepts and Applications. American Psychological Association.
Tung, F. C., Yu, T. W., & Yu, J. L. (2014). An Extension of Financial Cost, Information Quality and IDT for Exploring Consumer Behavioral Intentions to Use the Internet Banking. International Review of Management and Business Research, 3(2), 1229-1235. Retrieved from https://tehqeeqat.org/english/articleDetails/29329
Ullman, M. T. (2001). The Declarative/Procedural Model of Lexicon and Grammar. Journal of Psycholinguistic Research, 30(1), 37–69. https://doi.org/10.1023/A:1005204207369