การวัดประสิทธิภาพของธุรกิจรวบรวมผลผลิตของสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดสระบุรี โดยใช้เทคนิค DEA: กรณีศึกษาสหกรณ์โคนม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพของการรวบรวมน้ำนมดิบของสหกรณ์โคนม จ.สระบุรี จำนวน 9 แห่ง โดยศึกษาจากประสิทธิภาพเชิงเทคนิค ด้วยวิธีการวิเคราะห์เส้นห่อหุ้ม ซึ่งเป็นการประเมินประสิทธิภาพทางเศรษฐศาสตร์ โดยรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิตั้งแต่ปี พ.ศ. 2560 – 2564 ตัวแปรที่ใช้วัดประสิทธิภาพกำหนดปัจจัยนำเข้า ได้แก่ ค่าใช้จ่าย และสินทรัพย์ถาวร สำหรับตัวแปรผลผลิต ประกอบด้วย ปริมาณน้ำนมดิบ และรายได้ของสหกรณ์ ผลการศึกษาพบว่า
สหกรณ์โคนมทั้งหมด 9 สหกรณ์ จำนวน 45 DMU มีการรวบรวมน้ำนมดิบจากสมาชิกที่อยู่ในระยะ Increasing Return to Scale 12 DMU, ระยะ Constant Return to Scale 3 DMU และระยะ Decreasing Return to Scale 30 DMU ที่น่าสังเกตคือการรวบรวมผลผลิตของสหกรณ์ที่อยู่ในระยะ Constant Return to Scale มีเพียง 3 DMU จำนวน 2 สหกรณ์ แต่สหกรณ์ที่มีประสิทธิภาพสูงสุดกลับเป็นสหกรณ์ที่ไม่มีโรงงานแปรรูปน้ำนม แต่ทำธุรกิจรวบรวมน้ำนมดิบจากสมาชิกส่งจำหน่ายให้บริษัทเอกชนโดยตรงเพื่อทำการแปรรูปเป็นนมบรรจุกล่องต่อไป ในด้านประสิทธิภาพการรวบรวมน้ำนมดิบของสหกรณ์ พบว่าสหกรณ์ทั้ง 9 แห่ง มีประสิทธิภาพในการรวบรวมน้ำนมดิบจากสมาชิก ที่อยู่บนเส้นพรมแดนประสิทธิภาพ เป็นบางปี ดังนั้น การส่งเสริมให้สหกรณ์ลงทุนสร้างโรงงานแปรรูปของตนเองอาจต้องทบทวนนโยบายดังกล่าวและ ความคุ้มค่าในการลงทุน โดยจะต้องพิจารณาร่วมกับปัจจัยสภาพแวดล้อมต่างๆ เช่น ด้านการตลาด ปัจจัยด้านต้นทุนการผลิต ปัจจัยด้านสภาพแวดล้อมและโรคของโค เพราะว่าการลงทุนเพื่อสร้างโรงงานแปรรูปผลิตภัณฑ์นมของสหกรณ์โคนมเป็นการลงทุนที่ต้องใช้เงินลงทุนที่สูงเพื่อให้การส่งเสริมสหกรณ์โคนมบรรลุตามวัตถุประสงค์ต่อไป
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กรมวิชาการเกษตร. (2562). เทคนิคการส่งเสริมการเลี้ยงโคนม. กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ชุมนุมการเกษตรแห่งประเทศไทย.
จักรพันธ์ สุขสวัสดิ์ และ วินัย พุธกูล. (2550). ประสิทธิภาพทางเทคนิคและประสิทธิภาพต่อขนาดศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบในประเทศไทย. วารสารเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, 14(1), 47-59.
ณคุณ ธรณีนิติญาณ. (2565). การวิเคราะห์ประสิทธิภาพทางเทคนิคของสหกรณ์กองทุนสวนยางโดยใช้วิธี Meta-Frontier Analysis. วารสารบริหารธุรกิจ, 45(176), 24-43.
ทิพวรรณ แววทอง. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อปริมาณน้ำนมดิบในฟาร์มโคนมของเกษตรกรที่เป็นสมาชิกสหกรณ์โคนมมวกเหล็กจำกัด จังหวัดสระบุรี(วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ธีร์วรัญญ์ ชื่นธีรพงศ์ และ ณคุณ ธรณีนิติญาณ. (2566). การวิเคราะห์ประสิทธิภาพทางเทคนิคของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูในประเทศไทย. วารสารสังคมศาสตร์ปัญญาพัฒน์, 5(1), 87-98.
ภรภัทร ไชยสมบัติ และ นราวุธ ระพันธ์คำ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อต้นทุนการผลิตน้ำนมดิบของเกษตรกรในจังหวัดสกลนคร. วารสารเกษตรพระวรุณ, 16(1), 142–153.
วสันตนาวิน หรินทร์ปพนวิช, ฮาซียะห์ ดอรอแซ, อัลอามีน มะแต และ จารินี วัฒนไทย. (2562). ประสิทธิภาพการดำเนินงานของสหกรณ์อิสลามในเขตสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2565, จาก https://profile.yru.ac.th/storage/academic-articles /October2020/rcBnqQOo3oVhv1AnQewN.pdf
สุภาวดี แหยมคง, ธนาทิพย์ สุวรรณโสภี และ ศกร คุณวุฒิฤทธิรณ. (2555). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อองค์ประกอบน้ำนมดิบที่ผลิตโดยสมาชิกของศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบเอกชนแห่งหนึ่งในเขตภาคกลางของประเทศไทย. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2565, จาก https://kukr.lib.ku.ac.th/kukr_es/index.php?/BKN/search_detail/result/10837
สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสระบุรี. (2564). ข้อมูลเพื่อการวางแผนพัฒนาการเกษตรรายการสินค้าของจังหวัดสระบุรี. สืบค้นเมื่อ 11 มิถุนายน 2565, จาก https://shorturl.asia/ZPlGj
อรรถพล สืบพงศกร. (2555). ระเบียบวิธีการของ Data Envelopment Analysis (DEA) และการวัดประสิทธิภาพเชิงเทคนิค. วารสารเศรษฐกิจมหาวิทยาลัยเชียงใหม่, 16(1), 50-88.
อรรถพล สืบพงศกร. (2564). การตรวจสอบประสิทธิภาพธุรกิจโรงแรมในประเทศไทยในช่วง COVID-19. วารสารวิชาการคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, 18(1), 1-25.