ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรฝ่ายเครื่องจักรกล ก่อสร้างงานดินที่ 6 สำนักเครื่องจักรกล กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับปัจจัยในการปฏิบัติงาน 2) ระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานและ 3) เพื่อศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรฝ่ายเครื่องจักรกลก่อสร้างงานดินที่ 6 สำนักเครื่องจักรกล กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กลุ่มตัวอย่าง คือ บุคลากรในฝ่ายเครื่องจักรกลก่อสร้างงานดินที่ 6 จำนวน 127 คน เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ
ผลการวิจัยพบว่า 1) ระดับปัจจัยในการปฏิบัติงานของบุคลากร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2) ระดับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 3) ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรฝ่ายเครื่องจักรกลก่อสร้างงานดินที่ 6 สำนักเครื่องจักรกล กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีจำนวน 5 ปัจจัย ได้แก่ 1) ขวัญและกำลังใจในการทำงาน 2) ความสำเร็จในการทำงาน 3) สภาพแวดล้อมในการทำงาน 4) ความรู้ความเข้าใจในงานที่ทำ 5) นโยบายการบริหาร โดยรวมสามารถอธิบายถึงประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรฝ่ายเครื่องจักรกลก่อสร้างงานดินที่ 6 สำนักเครื่องจักรกล กรมชลประทาน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ถึงร้อยละ 84.3 ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.01 และสามารถสร้างเป็นสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ Y = 0.529 + 0.181X5 + 0.235X7 + 0.177X2 + 0.160X1 + 0.113X6 และสมการณ์พยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน Z = 0.302X5 + 0.243 X7 + 0.178X2 + 0.162X1 + 0.160X6
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในวารสาร ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการ
References
กรัณฑ์รัตน์ ประเสริฐธนากุล. (2565). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพการทำงานจากที่บ้าน (Work from Home) ในช่วงสถานการณ์โควิด-19 ของบุคลากรห้องสมุดเครือข่ายความร่วมมือห้องสมุดด้านประกันคุณภาพการศึกษา. วารสารวิจัย สมาคมห้องสมุดแห่งประเทศไทยฯ, 15(1), 81-98. สืบค้นจาก https://so06.tci-thaijo.org/index.php/tla_research/article/view/254113
กิตติชัย ลาภวุฒิโรจน์. (2558). ความสัมพันธ์ระหว่างกระบวนการบริหารกับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร เทศบาลเมืองวังน้ำเย็น จังหวัดสระแก้ว (วิทยานิพนธ์รัฐประศาสน- ศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
จันทรานี สงวนนาม. (2553). ทฤษฎีและแนวปฏิบัติในการบริหารสถานศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). นนทบุรี: บุ๊คพอยท์.
ณัฏฐพันธ์ เขจรนันท์. (2545). การจัดการทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพฯ: ซีเอ็ดยูเคชั่น .
นันทิยา บุญยปรารภชัย และ ประพล เปรมทองสุข. (2566). โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของปัจจัยที่ส่งผลต่อความความสุขในการทำงานของพนักงานห้างสรรพสินค้า เขตกรุงเทพมหานคร.วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(1), 147-162. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/258911
นิดา ประพฤติธรรม. (2563). ปัจจัยที่มีผลต่อแรงจูงใจซึ่งส่งผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากร สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน. วารสารบริหารธุรกิจ, 10(2), 58-80.
นิรุตต์ จรเจริญ และมาลินี คำเครือ. (2565). การวิเคราะห์องคประกอบเชิงยืนยันขวัญกําลังใจในการ ปฏิบัติงานของพนักงานบริษัทเอกชนในจังหวัดกาญจนบุรี. วารสารวิชาการบัญชีและการจัดการ, 14(4), 150–173. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/mbs/article/view/252019
มณีรัตน์ ทองเรือง และ แก้วตา ผู้พัฒนพงศ. (2562). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานในเขตนิคมอุตสาหกรรมบางปูจังหวัดสมุทรปราการ(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
วรัญญา ผลดี. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการปฏิบัติงานของพนักงานสายวิชาการและพนักงานสายปฏิบัติการวิชาชีพและบริหารทั่วไป. เชียงราย: มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
ศาสตร์ศิลป์ ทองแรง. (2557). ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของบุคลากรสายสนับสนุน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี(วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจ). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ศิริขวัญ ผลวิจิตร. (2562). ปัจจัยที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงินการบัญชีหน่วยงานราชการเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร(สารนิพนธ์หลักสูตรบัญชีมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
อดิศร สุขเกษม, ฐนันวริน โฆษิตคณิน และ ชนิดาภา ดีสุขอนันต์. (2566). ความสัมพันธ์ระหว่างแรงจูงใจกับความจงรักภักดีต่อองค์กรของพนักงาน ฝ่ายซ่อมบำรุงของบริษัทในเขตนิคมอุตสาหกรรม จังหวัดระยอง. วารสารนวัตกรรมการจัดการศึกษาและการวิจัย, 5(1), 37-48. สืบค้นจาก https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jemri/article/view/258429
Herzberg, F. (1959). The Motivation to Work. New York: John Wiley & Sons.
Maslow, A. M. 1954. Motivation and Personality. New York: Harper and Row.
Vroom, H. V., & Edward, D. L. (1997). Management and Motivation. New York: Penguin Book.