แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร

Main Article Content

ธีระวุฒิ จันทะพันธ์
สุมาลี ศรีพุทธรินทร์
จารุวรรณ เชียวน้ำชุม

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา 2) ประเมินความต้องการจำเป็นในการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม 3) พัฒนาแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม และ 4) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม พื้นที่วิจัย คือ โรงเรียนสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาและครู จำนวน 252 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้เกณฑ์ร้อยละและวิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย มีจำนวน 3 ฉบับ คือ (1) แบบสอบถาม (2) แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง (3) แบบประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและดัชนีการจัดลำดับความสำคัญของความต้องการจำเป็นแบบปรับปรุง


ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมากและมากที่สุด ตามลำดับ 2) ความต้องการจำเป็นมีค่าสูงกว่าค่าโดยรวม ได้แก่ การมีวิสัยทัศน์ การมีความคิดสร้างสรรค์ ด้านการมีบุคลิกภาพแบบผู้นำเชิงนวัตกรรม 3) แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม ประกอบด้วย (1) ด้านการมีวิสัยทัศน์ (2) ด้านการเปิดรับความเสี่ยง (3) ด้านการทำงานเป็นทีมและการมีส่วนร่วม (4) ด้านการมีความคิดสร้างสรรค์ (5) ด้านการสร้างบรรยากาศองค์กรแห่งนวัตกรรม (6) ด้านการมีบุคลิกภาพแบบผู้นำเชิงนวัตกรรม รวมทั้งสิ้น 31 แนวทาง 4) ประเมินความเหมาะสมและความเป็นไปได้ของแนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม พบว่า ทั้งความเหมาะสมและความเป็นไปได้ โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

How to Cite
จันทะพันธ์ ธ., ศรีพุทธรินทร์ ส., & เชียวน้ำชุม จ. (2024). แนวทางพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร. วารสารสหวิทยาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 7(2), 1032–1058. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/jmhs1_s/article/view/270409
บท
บทความวิจัย

References

กนกพิชญ์ สรรพศรี และ พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร. (2565). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นําเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในศตวรรษที่ 21 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาฬสินธุ์ เขต 1. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, 6(1), 27-38.

กนกวรรณ จันทรนิมะ, อมร มะลาศรี และ สุพจน์ ดวงเนตร. (2565). การศึกษาภาวะผู้นำและแนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยภูมิ เขต 2. วารสารการบริหารการศึกษาและภาวะผู้นำมหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร, 10(39), 93-101.

กุลชลี จงเจริญ. (2562). ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรม. เอกสารประกอบการสอน. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

ฐิตินันท์ นันทะศรี, วาโร เพ็งสวัสดิ์, วัลนิกา ฉลากบาง และ พรเทพ เสถียรนพเก้า. (2562). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ. วารสารวิชาการและวิจัยสังคมศาสตร์, 14(3), 93-105.

ตรี ภูวิโคตรธนกุล, วัลลภา อารีรัตน์ และ ประกฤติยา ทักษิโณ. (2562). โมเดลภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อสมรรถนะครูในการจัดการเรียนรู้ตามแนวสะเต็มศึกษา : โมเดลแข่งขันภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมและภาวะผู้นำเชิงวิชาการ. วารสารบริหารการศึกษามหาวิทยาลัยขอนแก่น, 15(2), 70-84.

นภาพร ศรีสุคันธพฤกษ์, จอมพงศ์ มงคลวนิช และ ปองสิน วิเศษศิริ. (2566). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นําเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษากรุงเทพมหานคร. วารสารสังคมศาสตร์และวัฒนธรรม, 7(3),117-131.

นาวิน นิลแสงรัตน์, สรายุทธ์ เศรษฐขจร และ วิชาญ สาคุณ. (2564). การพัฒนาภาวะผู้นําเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารมหาวิทยาลัยในภาคกลาง. วารสารวิชาการสถาบันเทคโนโลยีแห่งสุวรรณภูมิ, 7(2), 497-509.

พรพิมล อินทรรักษา (2562). แนวทางการพัฒนาภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราชเขต 4. วารสารพุทธสังคมวิทยาปริทรรศน์, 6(3), 122.

พิสิฐธวัฒน์ กลิ่นไธสงค์, ถนอมวรรณ ประเสริฐเจริญสุข และ อัจศรา ประเสริฐสิน. (2559). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา. วารสารบริหารการศึกษา, 12(1), 177-186.

ไพฑูรย์ สินลารัตน์. (2555). หลักและเทคนิคการสอนระดับอุดมศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รัตติกรณ์ จงวิศาล. (2556). ภาวะผู้นำ : ทฤษฎีการวิจัยและแนวทางสู่การพัฒนา. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ลฎาภา นาคคูบัว และ จันทรัศม์ ภูติอริยวัฒน์. (2564). การพัฒนาตัวบ่งชี้ภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในพื้นที่นวัตกรรมการศึกษา. วารสารวิจัยและพัฒนาหลักสูตร, 12(1), 1-12.

ศุภิญญากิจ เกตุวิเศษกูล และ ไพบูลย์ ลิ้มมณี. (2563). การพัฒนาโปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน ประเภทสามัญศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน จังหวัดกาฬสินธุ์. วารสารวิชาการธรรมทรรศน์. 20(3), 49-60.

สนธยา พลศรี. (2547). ทฤษฎีและหลักการพัฒนาชุมชน. (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

สุธิดา สอนสืบ และ พชรวิทย์ จันทร์ศิริสิร. (2565). โปรแกรมเสริมสร้างภาวะผู้นำเชิงนวัตกรรมของผู้บริหารสถานศึกษาในยุคดิจิทัล สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาอุบลราชธานี อำนาจเจริญ. วารสารพุทธปรัชญาวิวัฒน์, 6(2), 212-225.

สุนทร โคตรบรรเทา. (2560). การบริหารการศึกษาหลักการและทฤษฎี (ฉบับปรับปรุง). กรุงเทพฯ: ปัญญาชน.

สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร. (2565, 25 ธันวาคม). รายงานผลการดําเนินงานตามแผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษามุกดาหาร. สืบค้นเมื่อ 25 กรกฎาคม 2566, จาก https://www.sesaomuk.go.th/o12-65.

Avolio, B. J., & Mhatre, K. H. (2011). Advances in Theory and Research on Authentic Leadership. Oxford: Oxford University Press.

Carmeli, A., Gelbard, R., & Gefen, D. (2010). The Importance of Innovation Leadership in Cultivating Strategic Fit and Enhancing Firm Performance. The Leadership Quarterly, 21(3), 339-349.

Daft, R. L. (2008). New Era of Management. (2nd ed). China: China Translation and Printing Services.

Dotlich, D.L., & Noel J.L. (1998). Action Learning: How the World’s Top Companies are Re-Creating Their Leaders and Themselves. San Francisco, CA: Jossey-Bass.

Dubrin, A. J. (2004). Leadership: Research Findings, Practice, and Skills. (4th ed). New York: McGraw-Hill.

Fuad, D. R. S. M. et al. (2021). The Development and Validation of the Principal Innovation Leadership Scale in Malaysian Secondary Schools. International Journal of Evaluation and Research in Education (IJERE), 11(1), 193-200.

Fullan, M., & Stiegelbauer, S. (1995). The New Meaning of Education Change. (2nd ed). London: Cassell.

Horth, D., & Buchner, D. (2014). Innovation Leadership: How to Use Innovation to Lead Effectively, Work Collaboratively and Drive Results. Center for Creative Leadership. Open Journal of Leadership, 10(3), 18.

Hunter, S. T., & Cushenbery, L. (2011). Leading for Innovation: Direct and indirect influences. Advances in Developing Human Resources, 13(3), 248-265.

Imaginnationcomau. (2016, March 7). 8 Reasons Why Innovation is Important to Businesses Today. Retrieved April 20, 2023, from http://www.imaginenation.com.au/innovation-blog/8-reasons-innovation-important-businesses-today/.

Loader, A. (2016). Why Should You Show Innovative Leadership?. Retrieved April 28, 2023, from https://blog.castle.co/innovative-leadership.

Pagaura, A. R. (2020). Innovative Leadership Attributes of School Administrators in the Philippines: Implications for Educational Management. Interdisciplinary Research Review, 15(2), 1-7.

Sen, A., & Eren, E. (2012). Innovative Leadership for the Twenty-First Century. Social and Behavioral Science, 41(3), 1-14.

Stoner, J.A.F., & Charles, W. (1986). Management. (3rd ed). New Jersey: Prentice Hall.

Ubaidillah, M. (2018). Innovation Leadership in Improving the Quality of Education. International Journal of Mechanical Engineering and Technology, 9(7), 1288-1299.

Weiss, S.D., & Legrand, C. (2011). Innovative Intelligence. Ontario: John Wiley and Sons.