ผลของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Math League ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

วิไลวรรณ อิสลาม
จุติพร อัศวโสวรรณ
มนิต พลหลา

บทคัดย่อ

             การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Math League (2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์หลังได้รับการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Math League กับเกณฑ์คะแนนเฉลี่ย ร้อยละ 70 และ (3) ศึกษาระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Math League กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนควนเกยสุทธิวิทยา อำเภอร่อนพิบูลย์ จังหวัดนครศรีธรรมราช ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 30 คน ซึ่งได้มาด้วยวิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ (1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Math League หน่วยการเรียนรู้เรื่อง ความคล้าย กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ทั้งหมด 6 แผน (2) แบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน มีลักษณะเป็นแบบทดสอบแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ มี 4 ตัวเลือก จำนวน 25 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .28 - .84 มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .79 และ (3) แบบวัดความพึงพอใจ มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้ t-test 
              ผลการวิจัย พบว่า (1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ หลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Math League สูงกว่าก่อนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ หลังการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Math League สูงกว่าเกณฑ์คะแนนเฉลี่ยร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ (3) ความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Math League อยู่ในระดับ ความพึงพอใจมาก

Article Details

How to Cite
อิสลาม ว., อัศวโสวรรณ จ., & พลหลา ม. (2019). ผลของการจัดการเรียนรู้แบบร่วมมือด้วยเทคนิค Math League ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 12(1), 44–49. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/journal_sct/article/view/103135
บท
บทความวิจัย

References

Arompain, W. (2009). A Study of Learning Achievement Mathematics Learning Retention on Dividing by Decimal and Group Working Behaviors of Phathomsuksa Six Students Learning Approach by Using Student Team Achievement Division Technique and Team-Games-Tournament Technique. M.Ed. Thesis (Curriculum and Instruction), Rajabhat Nakhon Ratchasima University, Thailand. [in Thai]

Kongkul, W. (2011). The Effects of A Mathematics Taught using Techniques Math League on Basic logic The 4th Grade Students (Mattayomsuksa 4)’Achievement. Academic Documents Kuan Niang Wittaya School Phatthalung. [in Thai]

________. (2015). Math League a new Teaching Technique that Stimulates Learning. The Students are Very Well. Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai]

Khokseeumnuai, S. (2014).The Learning Development on Fraction Addition, Sub Traction, Multiplication and Division Using TGT Learning Technique of Mathematics Learning Strand for Prathomsuksa 5 Students.

M.Ed. Thesis (Curriculum and Instruction), Rajabhat Mahasarakam University, Thailand.

[in Thai]

Kunjan, S. (2011). A Study of Teaching Model by Group to Develop Achievement in Mathematics for Mattayomsuksa 1 Students. M.Ed. Thesis (Research and Evaluation), Thaksin University, Thailand.

[in Thai]

National Institute of Educational Testing Service (Public Organization). (2014). Basic National Testing Report (O-NET). Assessment of Student Achievement in Basic Education. The Secondary Education Service Area Office 12. Nakhon Si Thammarat. [in Thai]

_________________________. (2015). Basic National Testing Report (O-NET).Assessment of Student Achievement in

Basic Education The Secondary Education Service Area Office 12. Nakhon Si Thammarat. [in Thai]

Singnukul, M. (2012). A Study of the Academic Achievement and Learning Satisfaction by Matthayomsuksa One Student Instructed on “Linear Equations with One Variable” in Accordance with Constructivism Theory and the Student Teams Achievement Division (STAD) Technique of Cooperative Learning. M.Ed. Thesis (Mathematics

Education), Ramkamhang University, Thailand. [in Thai]

The Institute for the Promotion of Teaching Science and Technology. (2009). Professional Math Teacher. Bangkok: Kurusapa Printing Ladphrao. [in Thai]

________. (2012). Skills and Processes Math. Bangkok: 3-kiw Media. [in Thai]