ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์และการลดภาษีขาเข้ารถยนต์ ที่มีต่อผลกำไรของผู้ผลิตรถยนต์
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์หลักเพื่อวิเคราะห์ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงอุปสงค์ในรถยนต์และการลดอัตราภาษีขาเข้ารถยนต์ในกลุ่มประเทศอาเซียน โดยข้อมูลซึ่งใช้อนุกรมเวลารายปี พ.ศ. 2533-2557 รวมทั้งสิ้น 20 ปี มาประมาณการอุปสงค์รถยนต์ในประเทศและอุปสงค์รถยนต์เพื่อการส่งออก แล้วนำผลการศึกษาไปวิเคราะห์ผลกระทบต่อขนาดของผลกำไรของผู้ผลิตรถยนต์จากการลดภาษี
ผลการศึกษาพบว่า (1) ปัจจัยที่มีต่อความต้องการอุปสงค์รถยนต์ในประเทศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ราคารถยนต์ในประเทศมีค่าความยืดหยุ่น ปริมาณของอุปสงค์ต่อราคาเท่ากับ -3.8457 ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศที่แท้จริงของไทยต่อหัวประชากรมีค่าความยืดหยุ่นเท่ากับ 5.2196 และนโยบายรถยนต์คันแรกมีค่าความยืดหยุ่นเท่ากับ 0.4167 ในขณะที่อุปทานการผลิตรถยนต์เพื่อการส่งออกมีปัจจัยที่มีผลอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ราคารถยนต์ส่งออกมีค่าความยืดหยุ่นเท่ากับ 11.6454 และอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศมีค่าความยืดหยุ่นเท่ากับ 8.3130 และ (2) ผลจากการลดลงในอัตราภาษีขาเข้ารถยนต์สำเร็จรูปมีผลต่อราคารถยนต์ที่จำหน่ายในประเทศ ตามค่าความยืดหยุ่นที่ได้จากการจะทำให้ยอดขายของผู้ผลิตเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งการเปลี่ยนแปลงของอุปสงค์มีผลต่อกำไรของผู้ผลิต การลดราคาไม่ได้ส่งผลให้กำไรของผู้ผลิตลดลงแต่กลับทำให้ผู้ผลิตมีกำไรเพิ่มสูงขึ้น เนื่องจากรถยนต์มีค่าความยืดหยุ่นต่อราคาสูง และผู้ผลิตยังสามารถทำกำไรและอยู่ได้ แม้ว่าในขณะที่มีการลดการคุ้มครองจากการลดภาษีนำเข้าลง
Article Details
- ผู้เขียนต้องยินยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กองบรรณาธิการวารสารกำหนด และผู้เขียนต้องยินยอมให้บรรณาธิการ แก้ไขความสมบูรณ์ของบทความได้ในขั้นตอนสุดท้ายก่อนเผยแพร่
- ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียน แต่วารสารเทคโนโลยีภาคใต้คงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรก โดยเหตุที่บทความนี้ปรากฏในวารสารที่เข้าถึงได้จึงอนุญาตให้นำบทความไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา แต่มิใช่เพื่อการพาณิชย์