การรับรู้และความคาดหวังของประชาชนต่อบทบาทของคณะกรรมการบริหารกองทุนสุขภาพตำบลกะปาง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

กิตติศักดิ์ แสงทอง
พุธวิมล คชรัตน์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาการการรับรู้และความคาดหวังของประชาชนต่อบทบาทของคณะกรรมการบริหารกองทุนสุขภาพตำบลกะปาง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช (2) เปรียบเทียบระหว่างบทบาทที่ประชาชนรับรู้และบทบาทที่ประชาชนคาดหวังต่อคณะกรรมการบริหารในการจัดการกองทุนสุขภาพ และ (3) วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันการรับรู้และความคาดหวังของประชาชนต่อบทบาทของคณะกรรมการบริหารกองทุน ตามโมเดลสมมุติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ตัวแปรที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 4 ตัวแปร ได้แก่ ด้านการวางแผน ด้านการดำเนินการ ด้านการตรวจสอบและประเมิน และด้านการนำผลประเมินมาปรับปรุง กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการใช้สูตรทาโร่ ยามาเน่ และใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง จำนวน 440 คน จากประชาชนตำบลกะปาง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม ประกอบด้วย ข้อมูลลักษณะทางประชากร การรับรู้บทบาทที่เป็นจริง และบทบาทที่คาดหวัง โดยมีค่าความเชื่อมั่นด้านบทบาทที่เป็นจริงโดยรวมเท่ากับ .91 และบทบาทที่คาดหวังโดยรวมเท่ากับ .95 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรม SPSS for Windows และการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ใช้โปรแกรม LISREL 8.72


ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับการรับรู้ของประชาชนต่อบทบาทที่ปฏิบัติจริงของคณะกรรมการบริหารในการจัดการกองทุน โดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง และบทบาทที่ประชาชนคาดหวังโดยรวมอยู่ในระดับมาก (2) เปรียบเทียบการรับรู้ของประชาชนต่อบทบาทที่ปฏิบัติจริงของคณะกรรมการบริหารกองทุน และบทบาทที่ประชาชนคาดหวัง โดยภาพรวมทุกด้านมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และพบว่า บทบาทที่ประชาชนคาดหวังมีค่าเฉลี่ยสูงกว่าบทบาทที่เป็นจริง และ (3) ผลการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันการรับรู้และความคาดหวังของประชาชนต่อบทบาทของคณะกรรมการบริหารในการจัดการกองทุน พบว่า โมเดลการวิจัยสอดคล้องกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยค่าน้ำหนักองค์ประกอบของบทบาทปฏิบัติจริงที่มากที่สุด คือ บทบาทด้านการดำเนินการ (W=.98, R2=.91) ส่วนบทบาทคาดหวังที่มีค่าน้ำหนักองค์ประกอบมากที่สุด คือ บทบาทด้านการนำผลประเมินมาปรับปรุง (W=.92, R2=.85) ผลการตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ พบว่า ค่า gif.latex?X^{2}/df=2.41, P-value= .05, GFI=.99, AGFI=.95, CFI=1.00, FRMR=.03 และ RMSEA=.05 คณะกรรมการบริหารกองทุนสามารถนำผลการวิจัยนี้ไปใช้ในการจัดการกองทุน โดยคำนึงถึงองค์ประกอบทั้งสอง เพื่อให้การทำงานมีประสิทธิภาพสูงขึ้น

Article Details

How to Cite
แสงทอง ก., & คชรัตน์ พ. (2018). การรับรู้และความคาดหวังของประชาชนต่อบทบาทของคณะกรรมการบริหารกองทุนสุขภาพตำบลกะปาง อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 11(1), 131–138. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/journal_sct/article/view/125125
บท
บทความวิจัย

References

Comrey, A. L., & Lee, H. B. (1992). A First Course in Factor Analysis (2nd ed.). New Jersey: Lawrence Erlbaum Associates.
Deming, W. E. (1986). Out of the Crisis. Cambridge, Mass: Massachusetts Institute of Technology.
Kume, H. (1996). TQM promotion guide book. Tokyo: Japanese Standards Association.
Mehnyk, S. A., & Denzler, D. R. (1996). Operations Management: A Value Driven Approach. Boston, MASS: Irwin McGraw-Hill.
Na Patthalung, P. (2016). Expected and actual supervision role of head nurses in application of nursing process on nursing record and knowledge development of personnel at Songkhla Hospital. The Southern College Network Journal of Nursing and Public Health, 3(1), 190–201. [in Thai]
National Health Security Office. (2010). Handbook for Local Health Insurance Fund. Bangkok: Tanaplas Co. [in Thai]
______________. (2016). Report Outlines a Number of Health Insurance fund. Retrieved from https://obt.nhso. go.th/obt/obt_report. [in Thai]
Preyakorn, P. (2002). Project management: Concept and Determine to Success.
(5th ed.). Bangkok: Sematham. [in Thai]
Rojanai, T. (2014). The operating in real state along with role expectation of the Basic Education School Committee according to attitude of teacher officials in school under the office of Sisaket primary education service area 4. Sisaket Rajabhat University Journal, 8(30), 107-119. [in Thai]
Simachokdee, V. (1999). TQM Handbook for Excellent Organizational Development. (5th ed.). Bangkok: Nation Book. [in Thai]
Sinturavej, S. (2007). Achievement to Quality in Education. Bangkok: Wattanapanij Press. [in Thai]
Taylor, D. (2001). Advancing the science of symptoms management. Journal of Advanced Nursing, 33(5), 668-676.
Walton, M. (1989). The Deming Management Method. London: W. H. Allen & Mercury.
Wasri, P. (1997). The Development of the Productive Forces for Organization. (5th ed.). Bangkok: Morchawban Press. [in Thai]
Yamane, T. (1967). Statistics: An Introductory Analysis (2nd ed.). New York: Harper and Row.