การสร้างแอปพลิเคชันต้นแบบ เรื่อง ระบบการปลูกข้าวต้นเดียว ด้วยเทคโนโลยีออคเมนเต็ดเรียลลิตี้
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาแอปพลิเคชันต้นแบบ เรื่อง ระบบการปลูกข้าวต้นเดียว โดยเทคโนโลยีออคเมนเต็ดเรียลลิตี้ และเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้ใช้สื่อด้วยแอปพลิเคชันต้นแบบด้วยเทคโนโลยีออคเมนเต็ดเรียลลิตี้ เรื่อง ระบบการปลูกข้าวต้นเดียว มีการออกแบบวัตถุในการสร้างโมเดล 3 มิติ โดยมีการแบ่งการเจริญเติบโตออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ 1) ระยะต้นกล้า 2) ระยะแตกกอ 3) ระยะตั้งท้องและ 4) ระยะน้ำนมและข้าวสุก ในรูปแบบของการสร้างแบบจำลองสามมิติ สามารถใช้งานได้ภายใต้อุปกรณ์สมาร์ทโฟนหรือแท็บเล็ตซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่นำไปใช้งานกับแอปพลิเคชันที่ใช้ระบบปฏิบัติการแอนดรอยด์ ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้ จำนวน 30 คน ได้แก่ บุคลากรโครงการโรงสีข้าว มหาวิทยาลัยสวนดุสิต จำนวน 3 คน และนักศึกษามหาวิทยาลัยสวนดุสิต หลักสูตรคหกรรมศาสตร์ ชั้นปีที่ 4 จำนวน 27 คน ความพึงพอใจที่มีต่อแอปพลิเคชันที่สร้างขึ้นโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =3.87, S.D.=0.33) โดยมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดในด้านความพึงพอใจในภาพรวมของแอปพลิเคชัน (
=3.91, S.D.=0.29) ด้านเนื้อหา (
=3.88, S.D.=0.32) ด้านประสิทธิภาพและคุณสมบัติ (
=3.86, S.D.=0.34) และด้านการออกแบบ (
=3.85, S.D.=0.35) ตามลำดับ จากการพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันด้วยเทคโนโลยีออคเมนเต็ดเรียลลิตี้ เรื่อง ระบบการปลูกข้าวต้นเดียว เนื้อหามีความชัดเจนเข้าใจง่าย แอปพลิเคชันมีการใช้สีสันที่เหมาะสม มีความพึงพอใจต่อความเร็วจากแอปพลิเคชัน การออกแบบภายในแอปพลิเคชัน
Article Details
- ผู้เขียนต้องยินยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กองบรรณาธิการวารสารกำหนด และผู้เขียนต้องยินยอมให้บรรณาธิการ แก้ไขความสมบูรณ์ของบทความได้ในขั้นตอนสุดท้ายก่อนเผยแพร่
- ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียน แต่วารสารเทคโนโลยีภาคใต้คงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรก โดยเหตุที่บทความนี้ปรากฏในวารสารที่เข้าถึงได้จึงอนุญาตให้นำบทความไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา แต่มิใช่เพื่อการพาณิชย์
References
Hsu, T.C. (2017). Learning English with augmented reality: do learning styles matter?. Computers & Education, 106, 137-149.
Kajonwongwatana, A. (2009). In-depth Interview, Retrieved July 13, 2016, from https://www.gotoknow.org/posts/285191[in Thai]
Kampipak, W. (2015). What is Augmented Reality or AR?, retrieved July 21, 2016, from https://www.ubu.ac.th/blog/wichit-132[in Thai]
Lungsiripiyakul, A. (2014). VR/AR and Learning and Teaching, Retrieved July 21, 2016, from https://www.think.co.th/ar/author/ admin [in Thai]
Mesuwan, W. (2013). Design Applications. Retrieved July 6, 2016, from https://wiwatmee.blogspot.com/2012/08/Blog-post_28.html [in Thai]
Norraji, M. F., & Sunar, M. S. (2015). wARna-Mobile-based Augmented Reality Coloring Book. International Conference on Interactive Digital Media (ICIDM) (4th), 1-5 December 2015 Bandung-Indonesia. IEEE.
Siripituk, N. (2008). SDLC System, Retrieved July 21, 2016, from https://www.gotoknow.org/posts/25351 [in Thai]
Wang, R., Geng., Z., Zhang, Z., Pei R., & Meny, X., (2017). Auto stereoscopic augmented reality visualization for depth perception in endoscopic surgery. Displays, 48, 50-60.
Wongmun, S. (2014). AR Technology and Applications, Retrieved July 6 2016, from https://supachai287.wordpress.com/2014/06/01/augmented-reality-aurasma. [in Thai]