การรับรู้และพฤติกรรมการใช้บริการ KTB Netbank ของลูกค้าในจังหวัดสุราษฎร์ธานี

Main Article Content

วริสรา วรยศ
สมนึก เอื้อจิระพงษ์พันธ์
จินตนีย์ รู้ซื่อ
ญาณินี ทรงขจร

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับการรับรู้และพฤติกรรมของลูกค้ากลุ่มข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ต่อการใช้บริการ KTB Netbank 2) ความแตกต่างของปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยแวดล้อมของลูกค้ากลุ่มข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ต่อระดับการรับรู้การใช้บริการ KTB Netbank และ
3) ความสัมพันธ์ระหว่างระดับการรับรู้ของลูกค้ากลุ่มข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ต่อพฤติกรรมการใช้บริการ KTB Netbank เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม จำนวน 400 ชุด สุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ โดยเทียบสัดส่วนจากประชากรกลุ่มข้าราชการในหน่วยงานต่าง ๆ วิเคราะห์ข้อมูล และทดสอบสมมติฐาน โดยใช้สถิติ t–test, F-test ทดสอบความแตกต่างรายคู่ของเชฟเฟ่ และทดสอบความสัมพันธ์ โดยใช้สถิติไคสแควร์ ผลการวิจัย พบว่า ลูกค้าส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุระหว่าง 31–40 ปี สถานภาพสมรส/อยู่ด้วยกัน รายได้เฉลี่ยต่อเดือนมากกว่า 30,001–40,000 บาท ระดับการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า สังกัดข้าราชการในฝ่ายพลเรือน นโยบายในหน่วยงานต้นสังกัด คือ ผู้บริหาร และพนักงานภายในหน่วยงาน ส่วนใหญ่ใช้บริการ Internet Banking รับรู้โฆษณาเกี่ยวกับบริการ KTB Netbank จากโซเชียลมีเดีย ระดับการรับรู้ต่อการใช้บริการ KTB Netbank ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ประเภทของธุรกรรมที่ใช้บริการบ่อยที่สุด คือ ใช้โอนเงิน ประเภทบัญชีที่ใช้มากที่สุด คือ บัญชีออมทรัพย์ ส่วนใหญ่ทำธุรกรรมครั้งละมากกว่า 1,001–5,000 บาท ผ่านสมาร์ตโฟน เพื่อชำระสินค้าหรือบริการ เวลาที่ใช้บริการไม่แน่นอน มักเป็นวันจันทร์–วันศุกร์ หรือวันทำงาน ลูกค้าส่วนใหญ่ใช้บริการ 2–3 วันครั้ง หรือใช้บริการเกือบทุกวัน เนื่องจากทำธุรกรรมทางการเงินต่าง ๆ ได้ง่าย สะดวก รวดเร็วยิ่งขึ้น พนักงานธนาคารเป็นผู้มีส่วนร่วมในการใช้บริการมากที่สุด ระดับการรับรู้ของลูกค้ากลุ่มข้าราชการและพนักงานรัฐวิสาหกิจในจังหวัดสุราษฎร์ธานี มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการ KTB Netbank ด้านผลิตภัณฑ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการ KTB Netbank ในด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด ยกเว้นด้านความถี่ในการใช้บริการมีความสัมพันธ์ที่นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Article Details

How to Cite
วรยศ ว. ., เอื้อจิระพงษ์พันธ์ ส. ., รู้ซื่อ จ. ., & ทรงขจร ญ. . (2020). การรับรู้และพฤติกรรมการใช้บริการ KTB Netbank ของลูกค้าในจังหวัดสุราษฎร์ธานี. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 13(1), 135–145. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/journal_sct/article/view/192055
บท
บทความวิจัย

References

Bank of Thailand. (2017). Report of the number of Internet banking transactions. Retrieved from the Bank of Thailand Website: www2.bot.or.th/statistics/BOTWEBSTAT.aspx?reportID=688&language=TH. [in Thai]

Chainiwattana, K. (2008). The use of Internet Banking Services of Small and Medium Enterprises in Nakhon Si Thammarat Province (Master's Independent Study). Walailak University, Nakhon Si Thammarat Province.

[in Thai]

Chaiyat, T. (2012). Factors Affecting the Decision to use Online Banking Services of users in Mueang Phitsanulok District Phitsanulok Province (Master's Independent Study). University of Naresuan, Phitsanulok Province. [in Thai]

Chananithitham, P. (2012). Customer Satisfaction

with the use of Electronic Banking (E-Banking) Services of Kasikorn Bank (Master's Independent Study). Walailak University, Nakhon Si Thammarat Province.

[in Thai]

Cochran, W.G. (1977). Sampling Techniques (3rd ed.). John Wiley & Sons: New York.

Jacques, N., & Christo, B. (2015). Enhancing of internet banking in an emerging market. South African Journal of Economic and Management Sciences, 17(5), 624-638.

Kaew-Suk, P. (2016). Consumer Confidence and Behavior towards using KTB Netbank Service Krung Thai Bank Public Company Limited in Prachuap Khiri Khan Province (Master's Independent Study). Stamford University. [in Thai]

Kengchon, C., Mahachariyawong, P., & Surapon, T.W. (2014). Reducing Restrictions on Access to Capital in the Thai Banking System (Mitigation of Financing in the Thai Banking System). Bangkok: Kasikorn Research Center. [in Thai]

Krung Thai Bank Public Company Limited. (2014). Annual Report 2014. Bangkok: Krung Thai Plc. Public Company Limited. [in Thai]

Mathivanan, B., & Kavitha, S., (2015). A study on consumer perception towards E-Banking Services of ICICI Bank. International Journal of Innovative Research and Development, 4(12), 26-33.

Nanthapiboon, C. (2008). Service Psychology. Bangkok: Se-education Corporation. [in Thai]

Office of the Civil Service Commission. (2017). Government Manpower (1st ed). Bangkok: Office of the Civil Service Commission. [in Thai]

Rikornorn, C., Thongyoo, P., Bangsuanluang, S., Sathaporn, S.F. (2015). Service behavior and importance to internet banking services of consumers in Bangkok. ICT Silpakorn Journal, 2(1), 62-80. [in Thai]

Saensiriphan, P. (2012). Factors Related to Internet Banking Business Operation of Middle-Aged People in Bang Kapi District, Bangkok (Master's Thesis). Silpakorn University. [in Thai]

Serirat, S., Serirat, S., Pathawanich, O-P., & Laksitonon, P. (2003). New Market Management. Bangkok: Dhammasarn. [in Thai]

Sirikun, P.A. (2013). Opinions and Behavior of using KTB NETBANK Online Banking Services for Customers using Krung Thai Bank Public Company Limited, Tesco Lotus Khon Kaen 2 branch in Mueang District Khon Kaen (Master's Thesis). Khon Kaen University. [in Thai]

Smithitkrai, C. (2005). Personnel Training in the Organization. Bangkok: Chulalongkorn University. [in Thai]

Waranich, C. (2013). Perception of Consumer Attitudes and Behavior towards KTB Netbank service of Krung Thai Bank Public Company Limited (Master's Thesis). Kasetsart University. [in Thai]

Wongmonthda, S. (1999). Marketing Strategy: Marketing Planning. Bangkok: Diamond in Business World. [in Thai]