การพัฒนากระบวนการนิเทศเพื่อพัฒนาการสอนของครู ให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง

Main Article Content

กิตติศักดิ์ แป้นงาม

บทคัดย่อ

        การนิเทศการสอนเป็นกระบวนการหนึ่งของการพัฒนาพฤติกรรมการสอนของครูให้สามารถดำเนินการสอนอย่างมีประสิทธิภาพ เพราะการนิเทศการสอนเป็นการที่ช่วยให้ครูพัฒนาตนเองให้มีความสามารถในการสอนนักเรียนให้มีความรู้ ความสามารถเชื่อมโยงความรู้กับกระบวนการเรียนรู้ มีทักษะสำคัญในการค้นคว้าและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง การวิจัยนี้
มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างกระบวนการนิเทศเพื่อพัฒนาการสอนของครูให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง 2) ศึกษาความรู้ด้านการสอนของครูให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองก่อนและหลังรับการนิเทศเพื่อพัฒนาการสอนของครูให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของครูที่มีต่อกระบวนการนิเทศเพื่อพัฒนาการสอนของครูให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ประชากรที่ใช้ ได้แก่ ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนวิทยาศาสตร์ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ได้จากการสุ่มหลายขั้นตอน จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) กระบวนการนิเทศเพื่อพัฒนาการสอนของครูให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง 2) คู่มือการนิเทศเพื่อพัฒนาการสอนของครูให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง 3) แบบสอบถามแบบประเมินค่า 5 ระดับ และ 4) แบบทดสอบความรู้ด้านการสอนของครูให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบสมมติฐานโดยใช้สถิติ t-test ผลการวิจัย พบว่า 1) กระบวนการนิเทศเพื่อพัฒนาการสอนของครูให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง ประกอบด้วย วางแผนการนิเทศ  ปฏิบัติการนิเทศ  สะท้อนคิดการนิเทศ  ประเมินผลการนิเทศ และแบ่งปันการนิเทศ 2) ความสามารถในการสอนของครูให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง มีความสามารถอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.06 3) คะแนนหลังการนิเทศสูงกว่าก่อนการนิเทศอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 และ 4) ครูมีความพึงพอใจต่อกระบวนการนิเทศเพื่อพัฒนาการสอนของครูให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.33 การนำผลการศึกษาที่ได้ประยุกต์ให้ศึกษานิเทศก์นำไปใช้เป็นเครื่องมือในการนิเทศ และเป็นข้อมูลเพื่อการพัฒนาให้การสอนของครู
ให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง และที่สำคัญที่สุดทำให้ผลการประเมินการนิเทศย้อนกลับให้ครูไปปรับปรุงตนเอง 

Article Details

How to Cite
แป้นงาม ก. (2021). การพัฒนากระบวนการนิเทศเพื่อพัฒนาการสอนของครู ให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง . วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 14(1), 136–144. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/journal_sct/article/view/242280
บท
บทความวิจัย

References

Afework, E. A., Frew, A.T., & Abeya, G. G. (2016). Cluster Supervision Practices in Primary School of Jimma Zone (Doctoral Dissertation). Jimma University, Ethiopia.

Cogan, D. (1973). The Supervision and Evaluation of High School Principals as Described by Central Office Administrators. New York: McGraw-Hill.

Glathon, A. A. (1984). Differentiated Supervision. Washington D.C.: Association for Supervision and Curriculum Development.

Harris, B.M. (1974). Supervisory Behavior in Education. New York: Dodd.

Issarasena, Na-A. P. (2005). Pankhon Penpolamuanglok. Bangkok: Thaicom foundation. [In Thai]

Isariyaphorn, C. (2018). Development Guideline Internal Supervision Instructional for School on Roiet Primary Educational Service Area Office (Master’s Thesis). Mahasarakham University. [in Thai]

Kaemmanee, T. (2010). Learning Style. Bangkok: Chulalongkorn University Press. [in Thai]

Khenpho, A. (2019). The Development Supervision Model to Enhance Learning Management Competency in Primary Schools (Doctoral Dissertation) Mahasarakham University. [in Thai]

Laoriendee, W. (2013). The Science of Teaching and Supervision Coaching Professional Development: Strategic Theory to Implementation. Nakhon Pathom: Silpakorn Press. [in Thai]

Nakhonnayok Primary Educational Service Area Office. (2016). Teaching Report Self-Learning for Prathomsuksa 5 on Nakhonnayok Primary Educational Service Area. Nakhon Nayok. Nakhon Nayok: Nakhonnayok Press. [in Thai]

Office of the Education Council. (2007). Learning Management by Project Based Learning. Bangkok: The Agricultural Co-operative Federation of Thailand Press. [in Thai]

Papert, S. (1993). Mindstorms: Children, Computers, and Powerful Ideas, Basic Books. New York: Harper Collins Publishers, Inc.

Petcharaksa, S. (2001). The Learning Process for Constructionism in Thailand. Bangkok: Kurusapa Press. [in Thai]

Spears, H. (1967). Improving the Supervision of Instruction. New York: Prentice-Hall.

Susaorat, P. (2013). Thinking Development, Rearrange. Bangkok: 9119 Techniques Printing Press. [in Thai]

Tubsuli, N. (2016). Team-Based Internal Supervision System Development for Primary Schools under the Office of Basic Education Commission (Doctoral Dissertation). Mahasarakham University [in Thai]

Utharanan, S. (1989). Supervision and Study of Principles, Theory and Practice, (Improvement).Bangkok: Chulalongkorn University Press. [in Thai]

Wongpracharat, C. (2013). Educational Supervision by the Educational Institution Committee Basic Outsiders (Doctoral Dissertation). Silpakorn University. [in Thai]