บทบาทของกลุ่มผู้สูงอายุต่อการมีส่วนร่วมพัฒนาสังคม ชุมชน และท้องถิ่น ในพื้นที่เทศบาลตำบลบ้านกล้วย อำเภอเมือง จังหวัดสุโขทัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
ปัญหาการดูแลและขาดการส่งเสริมให้ผู้สูงอายุได้เข้าร่วมในกิจกรรมทางสังคมที่มีความจำเป็น จะทำให้ผู้สูงอายุ
มีความเครียดในการใช้ชีวิตและไม่มีความสุข ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง ไม่สามารถพัฒนาศักยภาพและปรับตัวให้เข้ากับการเปลี่ยนแปลงทางสังคม การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาบทบาทของกลุ่มผู้สูงอายุต่อการมีส่วนร่วมพัฒนาสังคม ชุมชน และท้องถิ่นในพื้นที่เทศบาลตำบลบ้านกล้วย 2) เปรียบเทียบบทบาทของกลุ่มผู้สูงอายุต่อการมีส่วนร่วมพัฒนาสังคม ชุมชนและท้องถิ่น จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคล และ 3) หาความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของกลุ่มผู้สูงอายุต่อการมีส่วนร่วมพัฒนาสังคม ชุมชนและท้องถิ่นกับการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัวและการรับรู้ภาวะสุขภาพของตนเอง ประชากรที่ใช้ในการวิจัย คือ
ผู้สูงอายุที่อาศัยอยู่ในตำบลบ้านกล้วย โดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย จำนวน 353 คน ด้วยวิธีจับฉลากแบบไม่ใส่กลับ เครื่องมือ
ที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม ผลการวิจัย พบว่า 1) บทบาทของกลุ่มผู้สูงอายุต่อการมีส่วนร่วมพัฒนาสังคม ชุมชน
และท้องถิ่น ในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง 2) การเปรียบเทียบบทบาทของกลุ่มผู้สูงอายุต่อการมีส่วนร่วมพัฒนาสังคม
ชุมชนและท้องถิ่น จำแนกตามปัจจัยส่วนบุคคลที่ต่างกัน มีบทบาทต่อการพัฒนาสังคม ชุมชนและท้องถิ่น แตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี LSD พบว่า ผู้สูงอายุที่มีตัวแปรลักษณะการอยู่อาศัยกับการเข้าร่วมกิจกรรมทางศาสนา และตัวแปรลักษณะการอยู่อาศัยกับการเข้าร่วมกิจกรรมกีฬาและนันทนาการ มีความแตกต่างกัน
อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3) ค่าความสัมพันธ์ระหว่างบทบาทของกลุ่มผู้สูงอายุต่อการมีส่วนร่วมพัฒนาสังคม ชุมชนและท้องถิ่นกับการสนับสนุนทางสังคมจากครอบครัว และการรับรู้ภาวะสุขภาพของตนโดยรวม มีความสัมพันธ์กันในระดับมาก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 มีทิศทางเดียวกัน จากผลการวิจัย บทบาทของกลุ่มผู้สูงอายุต่อการมีส่วนร่วมพัฒนาสังคม ชุมชนและท้องถิ่น เทศบาลตำบลบ้านกล้วยมีการนำไปใช้อย่างเป็นรูปธรรม โดยอาศัยความร่วมมือจากภาคเอกชนที่มีความรู้ด้านผู้สูงอายุ รวมพลังเป็นจิตอาสาดูแล ช่วยเหลือผู้สูงอายุภายในชุมชน ได้แก่ โครงการตรวจเยี่ยมบ้านผู้สูงอายุและการตรวจสุขภาพในเชิงรุก โครงการส่งเสริมให้มีลานกิจกรรมในทุกชุมชน ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนประจำปี และเพิ่มงบประมาณเพื่อจัดสรรให้เพียงพอต่อจำนวนผู้สูงอายุ
Article Details
- ผู้เขียนต้องยินยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กองบรรณาธิการวารสารกำหนด และผู้เขียนต้องยินยอมให้บรรณาธิการ แก้ไขความสมบูรณ์ของบทความได้ในขั้นตอนสุดท้ายก่อนเผยแพร่
- ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียน แต่วารสารเทคโนโลยีภาคใต้คงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรก โดยเหตุที่บทความนี้ปรากฏในวารสารที่เข้าถึงได้จึงอนุญาตให้นำบทความไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา แต่มิใช่เพื่อการพาณิชย์
References
Anantakul, A. (2017). Aged Society, the Challenge of Thailand. Bangkok: Thammasat and Political Institution, Royal Society. [in Thai]
Ban Kuai District Municipality. (2019). Elder Registration Book. Ban Kuai sub-district, Mueang Sukhothai District, Sukhothai Province. [in Thai]
Buranakalus, W. (2017). The relation between self-take-caring behavior, the relationship of family and happiness of elder of some community in Sai Mai District, Bangkok. Journal of the Police Nurses, 9(2), 24-32. [in Thai]
Hakhen, M. (2009). Quality of Life of Mon People Elder in Ko Kert, Nontaburi Province (Master’s Thesis). Chandrakasem Rajabhat University, Bangkok. [in Thai]
Hmeun-Hoa, C., & Poonpol, S. (2016). The related factors associate with the elderly’s care giver part of caring elders in Nakhon Phanom Province. Journal of Humanities and Social Sciences Nakhon Phanom University, 6(1), 79-86. [in Thai].
Intisan, M. (2012). The Elder’S Role Associates to Community Development of Hang Hong Sub-district Municipality, Mueang Sakhon Nakhon, Sakhon Nakhon Province (Master’s Thesis). Sakhon Nakhon Rajabhat University, Sakhon. [in Thai]
Jiangdon, C. (2011). Quality of Life of Elder in Rural Region: Wan Nam Keaw District; Nakhon Ratchsima Province (Master’s Thesis). Mahidol University. [in Thai].
Laotong, W. (2012). Quality of Life of Elder in Ko Si Chang District Municipality, Ko Si Chang District, Chonburi Province (Master’s Thesis). Burapha University, Chonburi. [in Thai]
Na Ratch, N. (2012). Quality of Life of Elder in Mueang Nong Prue Municipality; Bang Lamung District; Chonburi Province (Master’s Thesis). Burapha University, Chonburi. [in Thai].
Nid-ananchai, S., & Santitirasak, M. (2010). Social supporting and environment that effect self-caring of elder in Samut Prakan Province. Journal of Nursing Division, 37(2), 64-76. [in Thai]
Nodtaisong, P. (2018). No More 3 Years, Thai Society is a Complete Elderly. Thairath Online. Retrieved September 10, 2018, from https://www. Thairath.Co.Th/Content/1253407. [in Thai]
Office of the Council of State. (2019). District Council Act and Sub-district Administrative Organization 1994. Retrieved September 4, 2019, from https://www.krisdika.go.th/. [in Thai]
Otakanon, N., & Ket-Phichayawattana, J. (1994). Nursing Needs of the Elderly. In Clubs and Nursing Homes P.O. [in Thai]
Prompakdee, C. (2013). Approaching a Thai Aging Society. Bangkok: Academic Office, The Secretariat of the Senate. [in Thai].
Sansang, J. (2018). Quality of Life and Behavior to Promote the Elders’ Health; Tung Khaw Puang Sub-district; Chiang Dao District; Chiang Mai Province (Master’s Thesis). Chiang Mai Rajabhat University, Chiang Mai. [in Thai].
Senchoom, V., et al., (2011). Factors predicting the role of family members in providing care and promoting health to the elderly in Phawo Sub-district, Maesod District, Tak Province. Journal of Nursing and Health, 5(2), 23-33. [in Thai].
Siriwannabut, P. (2007). Family Psychology. Bangkok: Chulalongkorn University Press.
Tavisin, N., & Wongsawad, T. (2018). The role of social activity participation of neo-elder in Tawee Wattana Community District, Bangkok. Journal of Suvarnabhumi Institute of Technology (Humanities and Social Sciences), 6(1), 115-128. [in Thai]
Teerakiadkajorn, A. (2011). Quality of Life of Elder in Su Thep Sub-district Municipality, Mueang Chiang Mai, Chiang Mai Province (Master’s Thesis). Chiang Mai University, Chiang Mai. [in Thai]
Tongsawang, K. (2003). The Related Factors Associates to Quality of Life of the Elders in Aom-Ngein Community Housing (Master’s Thesis) Burapha University. [in Thai].
Uth-to, N. (2009). Elder’s role in Mueang Kalasin Municipality Effects Community Development, Religion Study and Traditional Culture (Master’s Thesis). Mahasarakham Rajabhat University. [in Thai]
Visayon, J. (2010). Elder’s Role in Society Activity of Sub-district Administrative Organization; Wiangchai Sub-district; Payakphumpisai District; Mahasarakham Province (Master’s Independent Study), Mahasarakham
University. [in Thai].
Wanichkham, A. (2019). The preparation for approaching an aged society: study case in Sai Mai District, Bangkok. Association of Private Higher Education Institutions of Thailand unbder The Patronage of Her Royal Highness
Princess Mahachakri Sirindhorn, 25(1), 164-179. [in Thai]
Yamane, T. (1973). Statistics: An Introductory Statistics (2rd ed.). New York: Harper & Row.
Yodpetch, S. (2001). Social Supporting to Elder: South of Thailand (Master’s Thesis). Mahidol University, Bangkok. [in Thai]