ตัวแบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการบริหารลูกค้าสัมพันธ์
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาตัวแบบเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีประสิทธิภาพสำหรับการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ กลุ่มตัวอย่างคือ รีสอร์ทที่ตั้ง อยู่ในอำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าไค-สแควร์
ผลการวิจัย พบว่า 1) การตรวจสอบประสิทธิภาพของตัวแบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ โดยผู้เชี่ยวชาญ ด้วยการใช้สถิติการทดสอบสัมประสิทธิ์ความสอดคล้องของเคนดอลล์ ปรากฏว่าผู้เชี่ยวชาญยอมรับความมีประสิทธิภาพของตัวแบบตั้งแต่ระดับสูงขึ้นไปที่มีความสอดคล้องกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 2) ทดสอบความพึงพอใจตัวแบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ โดยบุคลากร ผลปรากฏว่าบุคลากรมีความพึงพอใจในตัวแบบตั้งแต่ระดับสูงและสูงสุด ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 3) ทดสอบความพึงพอใจตัวแบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ โดยผู้ใช้บริการ ผลปรากฏว่าลูกค้า มีความพึงพอใจในตัวแบบตั้งแต่ระดับสูงและสูงสุด ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 90 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
ข้อค้นพบในงานวิจัยนี้ คือ ตัวแบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ที่มีการตรวจสอบคุณภาพในทุกขั้นตอนของการพัฒนา โดยเป็นตัวแบบที่พัฒนาและบูรณาการขึ้นมาเป็นนวัตกรรมใหม่ แล้วนำมาใช้ในการพัฒนาตัวแบบเทคโนโลยีสารสนเทศสำหรับการบริหารลูกค้าสัมพันธ์
Article Details
- ผู้เขียนต้องยินยอมปฏิบัติตามเงื่อนไขที่กองบรรณาธิการวารสารกำหนด และผู้เขียนต้องยินยอมให้บรรณาธิการ แก้ไขความสมบูรณ์ของบทความได้ในขั้นตอนสุดท้ายก่อนเผยแพร่
- ลิขสิทธิ์บทความเป็นของผู้เขียน แต่วารสารเทคโนโลยีภาคใต้คงไว้ซึ่งสิทธิ์ในการตีพิมพ์ครั้งแรก โดยเหตุที่บทความนี้ปรากฏในวารสารที่เข้าถึงได้จึงอนุญาตให้นำบทความไปใช้เพื่อประโยชน์ทางการศึกษา แต่มิใช่เพื่อการพาณิชย์
References
กิติศักดิ์ พลอยพานิชเจริญ. (2551). หลักการการควบคุมคุณภาพ. กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
เชฐธิดา กุศลาไสยานนท์. (2550). ผลกระทบของศักยภาพด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและประสิทธิผลการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ที่มีต่อผลการดำเนินงานของบริษัทจดทะเบียนใน ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยีและพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
ธาวินี โชติวรรณกุล. (2550). ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีอิทธิพลต่อการเลือกเข้าพักในโรงแรมในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย. การศึกษาอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง.
นวลฉวี นาคประดิษฐ์. (2550). การศึกษาความ สัมพันธ์ลูกค้าโดยนำหลักการสื่อสาร การตลาดแบบบูรณาการร่วมกับหลักการบริหารลูกค้าสัมพันธ์ กรณีศึกษาบริษัท
คิงเพาเวอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด. การศึกษาอิสระวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต วิทยาลัยนวัตกรรมศึกษา, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
พัชรพล ตุลยนิษกะ. (2552). ความคิดเห็นต่อปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีต่อการใช้บริการ
รีสอร์ทขนาดเล็กในจังหวัดสงขลา. บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาบริหารธุรกิจ, มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์.
เลห์ทิเนน, จาร์โม อาร์. (2550). การบริหารลูกค้าสัมพันธ์เชิงรุก (Active Customer Relationship Management). (ธีระศักดิ์ กำบรรณารักษ์. ผู้แปล). กรุงเทพฯ : พิมพ์ดี.
วรชัย เยาวปาณี. (2550). วิธีการวิจัยทางเทคโนโลยี คอมพิวเตอร์. เพชรบุรี : คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี.
วรรณศิลป์ จีระกาศ. (2550). พฤติกรรมการเลือกใช้บริการที่พักรีสอร์ทของผู้บริโภคในเขตพื้นที่ อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย. การศึกษาอิสระ บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการทั่วไป, มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย.
วรรัช จันทร์ภัคร. (2547). ปัจจัยพฤติกรรมการเลือกใช้บริการโรงแรมของนักท่องเที่ยวชาว ต่างประเทศ ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่. การค้นคว้าอิสระบริหารธุรกิจ มหาบัณฑิต สาขาวิชาการตลาด, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
สิทธิศักดิ์ พฤกษ์ปิติกุล. (2548). การพัฒนาคุณภาพ แบบก้าวกระโดดด้วยวิธี Six Sigma. กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น).
สุธาสินี คำสำราญ. (2551). การศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค และปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกที่พักแรมของนักท่องเที่ยวชาวต่างประเทศ กรณีศึกษา โรงแรมรีสอร์ท และบังกะโล ในอำเภอเกาะสมุย. วิทยานิพนธ์เศรษฐศาสตรมหาบัณฑิต (เศรษฐศาสตรธุรกิจ) คณะเศรษฐศาสตร์, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.
อภินันท์ เลขพัฒน์. (2552). ปัจจัยการตลาดที่มีผลต่อการตัดสินใจใช้บริการโรงแรมในจังหวัดนครราชสีมา. วิทยานิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.
Johnson, J. T. (1996). The Influence of Interfirm Structure and Buyer Sale Person Behavior on Relations Outcomes (Relationship Marketing Customer Relationships). Dissertation : Georgia State University.
Konecnik, M., & Gartner, C. W. (2006). Customer-Based brand equity for a destination. Annals of Tourism Research, 34(2), 400 - 421.
Moore, M. P. (1997). Maintaining Consumer Relationship : An Analysis of Justice Evaluations and Consumer Actions in a Problem Resolution Process (Relationship Marketing). Doctor’s Thesis. The University of Memphis.
O’Cass, A. & Grace, D. (2004). Exploring consumer experiences with a service brand. Journal of Product & Brand Management, 13(4), 257-268.
Pan, S. & Lee, Jae-Nam. (2003, April). Using E-CRM for a unified view of the customer. Communications of the ACM, 46(4), 95-99.