การพัฒนาระบบสารสนเทศควบคุมเครื่องเติมอากาศสมองกลอัตโนมัติ พลังงานแสงอาทิตย์

Main Article Content

ไพโรจน์ ขาวผ่อง
ปุญฑรษา อุ่นเลิศ

บทคัดย่อ

เครื่องเติมอากาศเป็นอุปกรณ์ที่ช่วยเพิ่มออกซิเจนให้แก่น้ำ ทำให้น้ำมีคุณภาพที่ดีขึ้นและแหล่งน้ำนั้นมีความอุดมสมบูรณ์เพิ่มขึ้น ปัจจุบันเครื่องเติมอากาศส่วนใหญ่ใช้พลังงานจากเครื่องยนต์หรือไฟฟ้าขับเคลื่อนเพื่อเติมออกซิเจนให้กับน้ำ ส่งผลให้มีค่าใช้จ่ายด้านพลังงานสูงรวมถึงมีค่าใช้จ่ายด้านการซ่อมบำรุงเพิ่มขึ้นเนื่องจากการเปิดใช้งานเครื่องตลอดเวลา งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาระบบสารสนเทศควบคุมเครื่องเติมอากาศสมองกลอัตโนมัติพลังงานแสงอาทิตย์ การออกแบบและพัฒนาระบบสารสนเทศควบคุมเครื่องเติมอากาศสมองกลอัตโนมัติพลังงานแสงอาทิตย์ เป็นการออกแบบและพัฒนาโดยใช้วงจรการพัฒนาระบบ (SDLC) และประเมินประสิทธิภาพของระบบทั้งในห้องปฏิบัติการและในแหล่งน้ำธรรมชาติโดยการทดสอบสัดส่วนของค่าที่ถูกต้องตามเกณฑ์ที่กำหนดอย่างน้อย 90% ที่ระดับนัยสำคัญ .05 จากการเก็บข้อมูลค่าออกซิเจน ค่าความเป็นกรด-ด่าง และค่าอุณหภูมิในแหล่งน้ำธรรมชาติ จำนวน 100 ครั้ง ผลการวิจัย พบว่า ระบบสารสนเทศที่พัฒนาขึ้นสามารถควบคุมและสั่งการเครื่องเติมอากาศให้เติมอากาศในน้ำได้โดยอัตโนมัติเมื่อปริมาณออกซิเจนในน้ำต่ำกว่าค่าที่กำหนด และหยุดเติมอากาศเมื่อปริมาณออกซิเจนในน้ำมีค่าเท่ากับหรือสูงกว่าค่าที่กำหนด และสามารถแสดงผลลัพธ์ในรูปแบบของกราฟได้ ส่วนการประเมินประสิทธิภาพการทำงานของระบบในห้องปฏิบัติการโดยการใช้อุปกรณ์เซนเซอร์วัดค่าออกซิเจน ค่าความเป็นกรด-ด่าง และอุณหภูมิในน้ำ จำนวน 3 ครั้ง พบว่า อุปกรณ์เซนเซอร์สามารถทำงานและวัดค่าได้ถูกต้องตรงกับค่ามาตรฐานที่กำหนดไว้ เมื่อทดสอบในแหล่งน้ำธรรมชาติ พบว่า ระบบสามารถสั่งการให้เครื่องทำงานและควบคุมให้หยุดทำงานโดยอัตโนมัติและวัดค่าออกซิเจน (Z=2.33) ค่าความเป็นกรด-ด่าง (Z=2.66) และอุณหภูมิในน้ำ (Z=3.33) ได้ถูกต้องตามเกณฑ์มากกว่า 90% ที่ระดับนัยสำคัญ .05 โดยเกษตรกรสามารถนำเครื่องเติมอากาศสมองกลอัตโนมัติพลังงานแสงอาทิตย์ไปใช้บำบัดน้ำเสียสำหรับการเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่ห่างไกลจากที่ที่ไม่มีไฟฟ้าและ/หรือสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายด้านพลังงานไฟฟ้าของเกษตรกรในระยะยาวได้

Article Details

How to Cite
ขาวผ่อง ไ., & อุ่นเลิศ ป. (2024). การพัฒนาระบบสารสนเทศควบคุมเครื่องเติมอากาศสมองกลอัตโนมัติ พลังงานแสงอาทิตย์. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 17(1), 128–139. สืบค้น จาก https://so04.tci-thaijo.org/index.php/journal_sct/article/view/265583
บท
บทความวิจัย

References

Al-Fuqaha, A., Guizani, M., Mohammedi, M., Aledhari, M., & Ayyash, M. (2015). Internet of things: a survey on enabling technologies, protocols, and applications. IEEE COMMUNICATION SURVEYS & TUTORIALS, 17(4), 2347-2376.

Eamsiriwong, O. (2007). Systems Analysis and Design. Bangkok: SE-Education. [in Thai]

Intamas, P., Krainara, A., Khemwong, T., & Boonraksa, P. (2022). Performance testing of solar turbine aerators controlled via mobile phone. Rattanakosin Journal of Science and Technology, 4(1), 43-53. [in Thai]

Kaewsuwan, T., & Sudsomboon, W. (2015). Design and develop for constructing the turbine aeration with solar energy. The 5th PKRU Conference (pp. 1497-1502). Phuket: Phuket Rajabhat University. [in Thai]

Kaewta, C., Khantikachenchart, C., & Thongsan, Y. (2018). The Development of embedded systems for automatic water quality measurement via online networking. Journal of Science and Technology, Ubon Ratchathani University, 25(1), 73-89. [in Thai]

Konglumpan, S. (2017). The dissolved oxygen alert machine in fish cages. The 9th Conference on Application Research and Development (pp. 109-112). Loei Thailand: Electrical Engineering/Electronics, Computer, Telecommunications, and Information Technology Association. [in Thai]

Muangplub, T., Chaisayun, I., & Tadsuan, S. (2017). The design and development of dissolved oxygen alarming instrument. SAU Journal of Science and Technology, 3(2), 41-52. [in Thai]

Musika, T., Pluem-arom, K., Kosaipat, P., Kheowree, T., & Watchanathepin, N. (2015). 3-Buoy water mill machine driven by the photovoltaic energy system. The 8th Thailand Renewable Energy for Community Conference (pp. 160-163). Pathum Thani Thailand: Rajamangala University of Technology Thanyaburi. [in Thai]

Nakhon Nayok Fisheries Provincial Office. (2021). What is Dissolved Oxygen in Water? Why is it Necessary to Measure Dissolved Oxygen in Water? Retrieved 4 28, 2023, from https://www4.fisheries.go.th/local/index.php/main/view_activities/16/116613. [in Thai]

Office of The National Broadcasting and Telecommunication Commission. (2017). Internet of Things Technology and Thailand 4.0 Policy. Retrieved 07 28, 2023, from https://www.nbtc.go.th/Services/quarter2560/ปี-2560/ไตรมาส-3-ปี-2560.aspx [in Thai]

Somchaiwong, N., Intayuang, T., Paoka, A., & Namaung, I. (2017). Design and building pH and dissolved oxygen control systems in fancy carp pond. Kasalongkham Research Journal Chiangrai Rajabhat University, 11(3), 327-341. [in Thai]

Sonsanam, T., Phoosomma, P., Nisapakul, P., & Intarachai, C. (2022). The aerator water for treatment using solar cell energy. Journal of Science Engineering and Technology Rajabhat Maha Sarakham University, 1(3), 57-66. [in Thai]

Suesuwan, W., Jittavisuttikul, P., & Wasuri, B. (2022). Development of a networked real-time water quality monitoring module. ECTI Transaction on Application Research and Development, 2(2), 7-13. [in Thai]

Termkla, R., Prathaithep, W. B., & Khuntong, T. (2019). Determination effectiveness of solar energy aerator. Industrial Technology Journal Surindra Rajabhat University, 4(3), 1-8. [in Thai]