PEACEACT “สุขกระทำ” เพื่อการพัฒนาการบริหารสู่สมการความยั่งยืน

Main Article Content

สุดเฉลิม ศัสตราพฤกษ์

Abstract

การพัฒนาการบริหารในประเทศไทยยังมีปัญหาทางโครงสร้างและวิธีการ ไม่ว่าจะเป็นปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่น การขาดเหตุผลในการบริหารเพื่อการพัฒนา และความไร้ประสิทธิภาพจากผลสัมฤทธิ์ของการดำเนินงาน จึงเป็นสิ่งที่ท้าทายความสามารถของรัฐบาลที่จะบริหารงานให้เกิดการพัฒนา โดยในทางนิตินัยต้องมีการปรับปรุงและพัฒนาตัวบทกฎหมายให้มีความชัดเจน ยืดหยุ่น และมีสภาพบังคับ ส่วนในทางพฤตินัย ต้องมีการปรับปรุงวิธีการทำงานที่อาศัยความชัดเจนและความเข้าใจ รวมไปถึงการจัดการความรู้ เพื่อทำให้การพัฒนาการบริหารเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพจะส่งผลให้เกิดการพัฒนาที่มีประสิทธิผล บทความนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอมุมมองด้านวิชาการในการพัฒนาการบริหาร และสร้างระบบความสัมพันธ์ทางการบริหารในรูปแบบสมการเพื่อการพัฒนาการบริหารที่ยั่งยืน โดยนำเสนอแนวความคิด PEACEACT หรือ “สุขกระทำ” ซึ่งประกอบไปด้วย การมีส่วนร่วม ความเสมอภาค การกำหนดข้อตกลง การเอาใจใส่ ความประหยัด ความตระหนัก ความคิดสร้างสรรค์ และความโปร่งใสที่ได้จากการสังเคราะห์แนวคิดธรรมาภิบาลมาใช้ในการพัฒนาการบริหารองค์การที่สามารถพิจารณาได้ใน 2 ส่วน ได้แก่ ตัวบุคคล และระบบบริหาร เพื่อทำให้การดำเนินงานขององค์การเป็นไปตามเป้าหมายของการจัดตั้งและวัตถุประสงค์ที่ได้วางไว้ สมการความสัมพันธ์สามารถอธิบายได้ใน 3 สมการ ได้แก่ สมการที่ (1) D of A+A of D=DA สมการที่ (2) D of A+PEACEACT=A of D และ สมการที่ (3) D of A+PEACEACT+KM = A of D+SD เป็นการขยายขอบข่ายในแง่ของแนวความคิดเพื่อให้เกิดการประยุกต์ใช้ให้เกิดขึ้นจริงในการพัฒนาการบริหารองค์การอย่างยั่งยืน

 

“PEACEACT” for Development of Administration to Sustainable Equations

Development of the administration in Thailand has problems relating to both structure and process, including corruption, irrational decision-making, and inefficiency in performance, all of which present significant challenges to the Thai Government for the development of administration. In principle, any improvement of development must be legal, transparent, able to be accomplished, and sanctioned. In practice, working methods must be improved, to ensure clarity and understanding, including knowledge management to ensure efficient administration in order to promote effective development. This academic article aims to propose a theoretical model for the development of administration, and to create a relationship to systems of sustainable development, in an equation form. The concept “PEACEACT” including; participation, equality, agreement, carefulness, economy, awareness, creativity, and transparency which were synthesized by Good Governance applied to an organization, can be considered in two sections. Firstly, application at the personal level, and secondly, application to the administration systems that the processes of the organization are aligned with the goals and objectives of that organization’s establishment. The 3 relevant equations are: (1) D of A+A of D=DA, (2) D of A+PEACEACT=A of D, and (3) D of A+PEACEACT+KM=A of D+SD. All of these enlarge the scope of the concept, and allow adaptation to promote action towards the sustainable development of an effective administration.

Article Details

How to Cite
ศัสตราพฤกษ์ ส. (2016). PEACEACT “สุขกระทำ” เพื่อการพัฒนาการบริหารสู่สมการความยั่งยืน. JOURNAL OF SOUTHERN TECHNOLOGY, 9(2), 133–140. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/journal_sct/article/view/82152
Section
Research Manuscript