การพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแบบการบูรณาการของ Fogarty แบบ Nested เรื่อง ทฤษฎีกราฟเบื้องต้น สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) พัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแบบการบูรณาการของ Fogarty แบบ Nested เรื่อง ทฤษฎีกราฟเบื้องต้นให้มีประสิทธิภาพ 80/80 (2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และ (3) เปรียบเทียบความสามารถด้านทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย (1) ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแบบการบูรณาการของ Fogarty แบบ Nested เรื่อง ทฤษฎีกราฟเบื้องต้นประกอบด้วย คู่มือครูสำหรับการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแบบปรนัยใช้ทดสอบหลังเรียนมีความเชื่อมั่นเท่ากับ.78 และ (3) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์แบบอัตนัยใช้ทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนมีความเชื่อมั่นเท่ากับ.93 ผลการวิจัยพบว่า (1) ประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแบบการบูรณาการของ Fogarty แบบ Nested เรื่อง ทฤษฎีกราฟเบื้องต้นมีประสิทธิภาพเท่ากับ 91.92/88.03 (2) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนปรากฏว่าคะแนนของผลสัมฤทธิ์หลังการเรียนเฉลี่ยมากกว่าร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ (3) ความสามารถด้านทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์ก่อนและหลังได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ปรากฏว่าคะแนนหลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยสรุปชุดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแบบการบูรณาการของ Fogarty แบบ Nested เรื่อง ทฤษฎีกราฟเบื้องต้นของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่พัฒนาขึ้นสามารถนำไปใช้พัฒนาผลการเรียนรู้และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง ทฤษฎีกราฟเบื้องต้นให้ดีขึ้น
Development of an Integrated Learning Activity Package on Basic Graph Theory Applying the Nested Model of Fogarty for Grade 10 Students
This study aimed to (1) develop the integrated learning activity package on Basic Graph Theory applying the Nested Model of Fogarty, (2) investigate the learning achievements of the students, and (3) compare mathematical skills and processes of the students before and after learning through the learning activity package. The research instruments were (1) the learning activity package on Basic Graph Theory according to the Nested Model of Fogarty including a teacher manual, (2) mathematical learning achivement tests in multiple choice format with .78 reliability coefficient, and (3) mathematical skills and processes tests with .93 reliability coefficient .
The results showed that (1) the efficiency of the learning activity package according to the Nested model of Fogarty was E1/E2=91.92/88.03, (2) the students’ learning achievements were higher than 80 percent significantly at 0.01 level of significance, and (3) the posttest scores of the mathematical skills and processes of the students was higher significantly than the pretest scores at .01 level of significance. In conclusion, the learning activity package on Basic Graph Theory According to the Nested Model of Fogarty for Grade 10 students can be used to improve the learning outcome and the Basic Graph Theory achievements of the students.
Article Details
-
Authors must agree to the journal publication rules and allow the editors to edit the manuscripts for publication.
-
Author’s right belongs to the author but Journal of Southern Technology holds the right of first publication and thus allow readers to use the article for the purpose of education but not commercial.