การจัดการศึกษาปฐมวัยในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2

Main Article Content

ศุภลักษณ์ วิเศษโชค

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสภาพและปัญหาการจัดการศึกษาปฐมวัยในสถานศึกษา และ (2) หาแนวทางในการส่งเสริมพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัยในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ซึ่งศึกษาจากผู้บริหารและครูผู้สอนระดับปฐมวัยในสถานศึกษาที่จัดการศึกษาปฐมวัยทั่วไป สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ประกอบด้วยผู้บริหาร 154 คน และครู 155 คน รวมทั้งหมด 309 คน เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม ใช้สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และหาแนวทางพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัย จากการสนทนากลุ่มโดยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการศึกษาพบว่า สภาพและปัญหาการจัดการศึกษาปฐมวัยในโรงเรียนประถมศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง มีค่าเฉลี่ย (\inline \bar{X}=3.29, S.D.=0.138) เมื่อพิจาณารายด้านพบว่าด้านที่มีค่าเฉลี่ยมากที่สุดคือด้านการสร้างหลักสูตรที่เหมาะสมอยู่ในระดับมาก (\inline \bar{X}=4.04, S.D.=0.366) รองลงมาคือด้านความสัมพันธ์ระหว่างผู้สอนกับครอบครัวอยู่ในระดับปานกลาง (\inline \bar{X}=3.48, S.D.=0.418) ด้านการประเมินพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กอยู่ในระดับปานกลาง (\inline \bar{X}=3.32, S.D.=0.485) ด้านการบูรณาการเรียนรู้อยู่ในระดับปานกลาง (\inline \bar{X}=3.25, S.D.=0.348) ด้านการจัดกิจกรรมที่ส่งเสริมพัฒนาการและการเรียนรู้ของเด็กอยู่ในระดับปานกลาง (\inline \bar{X}=3.22, S.D.=0.485) และด้านที่มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุดคือ ด้านการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของเด็กอยู่ในระดับปานกลาง (\inline \bar{X}=2.63, S.D.=0.294) แนวทางในการส่งเสริมพัฒนาการจัดการศึกษาปฐมวัย พบว่า (1) โรงเรียนควรพัฒนาหลักสูตรให้เหมาะสมกับวัยและประสบการณ์ของเด็ก และควรจัดหลักสูตรให้ยืดหยุ่นกับการบูรณาการเนื้อหาต่าง ๆ เข้าด้วยกัน พัฒนาเด็กให้รู้สึกเป็นสุขทั้งปัจจุบันและอนาคต (2) ครูและผู้ปกครองควรมีส่วนร่วมในการกำหนดเนื้อหาตามหลักสูตรที่เหมาะสมสำหรับการพัฒนาเด็ก (3) ควรมีการประเมินและบันทึกพัฒนาการของเด็กครอบคลุมในทุกด้าน (4) ควรมีการจัดกิจกรรมเพื่อการบูรณาการ การเรียนรู้ของเด็กให้สอดคล้องกับหลักสูตร และ สถานศึกษาและสอดคล้องกับบริบทของชุมชนของเด็ก (5) ผู้สอนควรมีการพัฒนาตนเองอยู่เสมอเพื่อนำมาปรับปรุงและใช้เทคนิคใหม่ ๆ ในการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ของเด็กอยู่เสมอ และ (6) ควรมีการวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกของสถานศึกษาอย่างสม่ำเสมอ 

 

Early Childhood Education Administration in the Institution under the Office of Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area 2

This research aimed to study states and problems in early childhood education administration and to seek approaches to promotion of educational development in educational institutions under supervision of the office of Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area 2. The study was conducted from a team of directors and teachers of the early childhood students in the institutions within the area. The team of 309 members in total consisted of 154 directors and 155 teachers. The tool used for the research was a questionnaire, and statistics used in data analysis included percentages, mean, and standard deviation, in which a software package was used to assist the data processing. Results revealed that in overall, directors and teachers rated states and problems of early childhood education administration in primary schools at a moderate level (\inline \bar{X}=3.29, S.D.=0.138). When considering each factor individually, creation of appropriate curriculum was rated as highest (\inline \bar{X}=4.04, S.D.=0.366), followed by relationship between teachers and child’s family (\inline \bar{X}=3.48, S.D.=0.418), assessment of child acquisition progress (\inline \bar{X}=3.25, S.D.=0.348) integration of learning contents, activities and promotion of child learning development (\inline \bar{X}=3.32, S.D.=0.485), and creating supportive learning environment (\inline \bar{X}=2.63, S.D.=0.294), respectively. As for approaches to promote development in educational administration, six suggestions were offered through the study. First, schools should design a curriculum that matches children’s age and experience. In addition, the curriculum should be flexible and could be integrated with other content areas. Second, teachers and parents should work together in designing curriculum contents that are appropriate for children’s development. Third, there should be an evaluation and records of children’s development that cover all aspects of development. Fourth, activities designed for children should match the curriculum and suit their community. Fifth, teachers should aim for constant self improvement which will lead to new development in their teaching and creating new activities for children. Finally, there should be constant analysis of learning environment both inside and outside schools.

Article Details

How to Cite
วิเศษโชค ศ. (2016). การจัดการศึกษาปฐมวัยในสถานศึกษา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2. JOURNAL OF SOUTHERN TECHNOLOGY, 9(1), 19–24. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/journal_sct/article/view/82411
Section
Research Manuscript