สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาตามความเป็นจริง และตามความคาดหวัง ในทัศนะของครูโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

สุวรรณา รำเพย

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาตามความเป็นจริงและตามความคาดหวัง ในทัศนะของครูโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช และ (2) เพื่อเปรียบเทียบสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาตามความเป็นจริงและตามความคาดหวัง ในทัศนะของครูโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช จำแนกตามเพศ กลุ่มสาระ ประสบการณ์ในการทำงานของครู ขนาดโรงเรียน เพศ กลุ่มตัวอย่างได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้นภูมิตามสัดส่วนของประชากรตามขนาดโรงเรียน ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 367 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามเกี่ยวกับสมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาตามความเป็นจริงและตามความคาดหวัง ในทัศนะของครูโรงเรียนประถมศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่ามี 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นโดยรวมที่ .90 สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และการเปรียบเทียบพหุคูณด้วยวิธี LSD

ผลการวิจัยพบว่า สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาตามความเป็นจริงในทัศนะของครูโดยภาพรวมอยู่ในระดับดี สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคาดหวังในทัศนะของครูโดยภาพรวมอยู่ในระดับดีมาก สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาตามความเป็นจริงต่ำกว่าสมรรถนะตามความคาดหวังในทัศนะของครู สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาตามความเป็นจริงและตามความคาดหวังจำแนกตามตัวแปร พบว่า เพศ ขนาดโรงเรียน มีความแตกต่างกันตามทัศนะของครู ส่วนตัวแปรที่ไม่พบความแตกต่างคือ ประสบการณ์ในการทำงานของครู และกลุ่มสาระการเรียนรู้


Actual and Expected Competencies of Administrator as Perceived by Elementary School Teachers in Nakhon Si Thammarat

The objectives of this research were to study and compare perceptions held by primary school teachers in Nakhon Si Thammarat of the actual and expected administrators’ competencies considering variables of teacher’s gender, subject group, teacher’s work experience and school size. A sample of 367 primary school teachers were asked to answer a questionnaire. A software package was employed for statistical analysis of the data obtained including frequencies, percentages, mean, standard deviation, F-test, one-way ANOVA, and LSD. It was revealed that the teachers perceived the administrators capabilities as good while rated the expected ones as very good. However, gender of both teachers and administrators as well as school sizes resulted in differences in perceptions of the primary school administrators’ capabilities. On the other hand, factors of teacher’s work experience and subject group did not affect the differences in their perceptions.


Article Details

How to Cite
รำเพย ส. (2016). สมรรถนะของผู้บริหารสถานศึกษาตามความเป็นจริง และตามความคาดหวัง ในทัศนะของครูโรงเรียนประถมศึกษา จังหวัดนครศรีธรรมราช. JOURNAL OF SOUTHERN TECHNOLOGY, 9(1), 25–30. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/journal_sct/article/view/82412
Section
Research Manuscript