แนวทางการพัฒนาระบบโลจิสติกส์การท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร

Main Article Content

เศรษฐวัสภุ์ พรมสิทธิ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาสถานการณ์ปัจจุบันของระบบโลจิสติกส์การท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครที่รองรับการเดินทางของนักท่องเที่ยวตั้งแต่การเข้าสู่แหล่งท่องเที่ยว การคงอยู่ในแหล่งท่องเที่ยว และการออกจากแหล่งท่องเที่ยว (2) เพื่อศึกษาและวิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายในและภายนอกของระบบโลจิสติกส์การท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครรวมถึงศักยภาพในการให้บริการนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศและ (3) เพื่อนำเสนอแนวทางในการพัฒนาระบบโลจิสติกส์การท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครโดยเป็นกระบวนการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างคือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการให้บริการโลจิสติกส์การท่องเที่ยว 34 คน ใช้แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งมีโครงสร้าง โดยการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า สภาพปัจจุบันของระบบโลจิสติกส์การท่องเที่ยวในกรุงเทพมหานครคือ การเข้าสู่กรุงเทพมหานคร มี 2 สนามบิน 1 สถานีรถไฟหลัก และ 3 สถานีขนส่งหลัก มีสถานีขนส่งเอกชน คิวรถตู้กระจายอยู่ทั่วกรุงเทพมหานคร เช่น อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ และมีเรือด่วนเจ้าพระยา โดยในแต่ละสถานที่ได้มี ที่พักระหว่างรอเดินทาง ร้านค้า และห้องน้ำสะอาด แต่ยังมีปัญหาเรื่องป้ายบอกทางที่ไม่ชัดเจนทำให้การเดินทางเข้าสู่ที่พักหรือที่ท่องเที่ยวยาก การคงอยู่ในแหล่งท่องเที่ยว มีหลายช่องทางในการเดินทางจากที่พักไปสู่สถานที่ท่องเที่ยว เช่น รถไฟฟ้าบีทีเอส รถไฟฟ้ามหานคร รถตุ๊กตุ๊ก รถแท็กซี่ รถเมล์ รถจักรยานยนต์รับจ้าง เรือ แต่มีปัญหาเรื่องการบังคับใช้ราคามาตรฐานแก่นักท่องเที่ยว และการออกจากแหล่งท่องเที่ยว มีระบบออนไลน์เข้ามาช่วยในการลงทะเบียนเข้าพักล่วงหน้า การซื้อตั๋วทั้งทางโทรศัพท์และอินเทอร์เน็ต และยังมีรถไฟฟ้าแอร์พอร์ตเรลลิ้งที่ช่วยให้เดินทางไปยังสนามบินได้ง่ายและรวดเร็วซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นและต้องการของนักท่องเที่ยวซึ่งมีแนวทางในการพัฒนาดังนี้ (1) การพัฒนาทางด้านการเคลื่อนที่ทางกายภาพ ควรดึงจุดแข็งที่มีความหลายหลากของการเดินทาง รัฐบาลพร้อมที่จะส่งเสริมให้จัดทำความร่วมมือระหว่างหน่วยงานต่าง ๆ (2) การพัฒนาทางด้านการเคลื่อนที่ของข้อมูลข่าวสารซึ่งมีความพร้อมทางด้านระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและให้การสนับสนุนจากหน่วยงานรัฐบาลอยู่แล้ว มาพัฒนาส่งเสริมเรื่องการสื่อความหมาย ป้ายบอกทางและระบบการให้บริการสัญญาณไวไฟให้ทั่วถึงทุกแหล่งท่องเที่ยว และ (3) การพัฒนาทางด้านการเคลื่อนที่ทางการเงิน ควรจะต้องมีการพัฒนาร่วมกันให้ความรู้และพัฒนาระบบการจองและชำระค่าตั๋วเดินทางประเภทต่าง ๆ จากช่องทางที่หลากหลาย พร้อมทั้งจัดประสานเรื่องตู้เอทีเอ็มให้กระจายทั่วตามแหล่งท่องเที่ยว

 

Approaches to Development of Tourism Logistic System in Bangkok Metropolis

This research aimed to (1) explore current situations of tourism logistics in Bangkok metropolis which support tourists from the points of their entry, stay and departure (2) study and analyze internal and external environment of tourism logistics in Bangkok metropolis including its potentials in providing services to both local and foreign visitors, and (3) offer guidelines to the development of tourism logistics in Bangkok metropolis through qualitative research. The sample of 34 stakeholders in tourism logistics was interviewed using semi-structural interview questions. Later, the information obtained was broken down for content analysis. Results showed that the current state of tourism logistics in Bangkok metropolis can be categorised as follows. First, visitors can access to two international airports, one major train station, three main bus stations, private bus stations, van stations and, the Chao Phraya Express Boats. In each of these places, visitors are provided with comfortable rest areas with many shops and restrooms. However, visitors find that there are not clear signposts which cause difficulties to access to places and hotels or directions to places during their stay. Second, there are many options for travelers to travel from hotels to tourist attractions such as through BTS sky trains, MRT subway trains, tuk tuk, taxis, buses, motorcycle taxis, and boats. There is also a problem to enforcing standard logistic price imposed on tourists. To leave the site, there is an online channel to assist visitors in purchasing tickets and checking-in via the Internet. In addition, it also has a Metro Airport Rail link, which allows them to move easily and quickly to the airports that suit the tourists’ needs. In terms of approaches to development in different aspects, the followings are what were suggested. First, as for the development of physical flow, it should exhibit tourism logistic strengths and government willingness to support the system for future cooperation from various agencies. Second, with regards to the development of information flow, there is availability of Information Technology systems provided by the government. However, it should promote the development of communication signs, interpretation of meanings, signposts and, WIFI service system at all sites. Last, for the development of financial flow, individuals should work together to educate travelers and develop booking and payment systems through multiple channels as well as coordination for ATM settings at all tourist attractions.

Article Details

How to Cite
พรมสิทธิ์ เ. (2016). แนวทางการพัฒนาระบบโลจิสติกส์การท่องเที่ยวในเขตกรุงเทพมหานคร. JOURNAL OF SOUTHERN TECHNOLOGY, 9(1), 37–44. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/journal_sct/article/view/82418
Section
Research Manuscript