ผลกระทบของระบบการผลิตเกษตรเชิงพาณิชย์ต่อกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง

Main Article Content

กัมปนาท วงษ์วัฒนพงษ์

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระบบเศรษฐกิจของกลุ่มชาติพันธุ์ม้งที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้านทับเบิก ตำบลวังบาล อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ ซึ่งเน้นศึกษาโครงสร้างระบบเศรษฐกิจ ได้แก่ ระบบการผลิต ตลาดสินค้า แรงงาน และทุน และ (2) ผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงซึ่งเกิดจากระบบการผลิตเกษตรเชิงพาณิชย์ต่อชุมชนม้งบ้านทับเบิก ใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพในรูปแบบของงานวิจัยสนามทางมานุษยวิทยา เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ การสังเกต และกล้องถ่ายภาพนิ่ง ประชากรที่ใช้ในการสัมภาษณ์เชิงลึก จำนวน 20 คน และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า ระบบการผลิตของชาวม้งบ้านทับเบิก ตำบลวังบาล อำเภอหล่มเก่า จังหวัดเพชรบูรณ์ เป็นระบบการผลิตเกษตรเชิงพาณิชย์ โดยเน้นการปลูกพืชเชิงเดี่ยวคือการปลูกกะหล่ำปลี ซึ่งถือเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของหมู่บ้าน โดยชาวม้งบ้านทับเบิกจะส่งพืชผักไปขายที่ตลาดค้าผักและผลผลิตทางการเกษตรตรงบริเวณสี่แยกพ่อขุนผาเมือง อำเภอหล่มสัก ห่างจากบ้านทับเบิกไปประมาณ 40 กิโลเมตร โดยตลาดแห่งนี้เป็นศูนย์กลางซื้อ-ขายผักของภาคเหนือ ด้านแรงงาน ชาวเขาเผ่าม้งบ้านทับเบิกส่วนใหญ่จะใช้แรงงานภายในครอบครัวเป็นหลัก และมีการจ้างแรงงานภายนอกบ้าง โดยเฉพาะในช่วงตัดกะหล่ำปลีออกขาย เพราะช่วงดังกล่าวพ่อค้าจะมารอรับซื้อ ชาวม้งต้องทำงานแข่งกับเวลา ส่วนทุนในการทำไร่กะหล่ำปลีของชาวเขาเผ่าม้ง ถือว่าใช้ทุนอย่างเข้มข้น ตามแนวคิดระบบทุนนิยม ซึ่งชาวม้งไม่ได้ปลูกพืชเพื่อการยังชีพเหมือนแต่ก่อน แต่มุ่งเน้นเพื่อการค้า ซึ่งเห็นได้จากการเร่งเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้น และเริ่มมีการใช้เทคโนโลยีในการผลิตอย่างเข้มข้น และผลการวิจัยยังพบว่า ชาวเขาเผ่าม้งบ้านทับเบิกได้รับผลกระทบจากระบบการผลิตเกษตรเชิงพาณิชย์ซึ่งเห็นได้จากมีการพึ่งพิงระบบตลาดภายนอกหมู่บ้านสูง ชาวม้งบ้านทับเบิกมีฐานะทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นเมื่อเทียบกับอดีต และเกิดการเปลี่ยนแปลงด้านวัฒนธรรมการแต่งกาย 

 

Impacts of Commercial Agricultural Production System on Hmong Ethnic Groups

This research has two purposes: (1) to study the economic system of Hmong ethnic groups inhabiting in Thap Boek village, Wang Ban Sub-District, Lom Kao District, Phetchabun Province, with focused study on such economic structures as production, goods market, labor and capital; and (2) to study change impacts influenced by outside economic systems. This research used a qualitative methods, in the form of anthropological field research. The data were collected by interviewing, observing, and photo taking, using the in-depth interviews technic, the researcher conducted in-depth interviews with twenty key informants, and data analyzed by content analysis.

It was found from the research findings that the production system of Hmong people in Ban Thap Boek, Wang Ban, Lom Kao, Petchabun is a commercial agricultural production system focusing on monoculture by growing cabbage, which is considered the main industrial crop of the village. The Hmong people send their crops and vegetables for sales at the vegetable and agricultural product market located at Pho Khun Pha Mueang Intersection in Lom Sak district about 40 kilometers away from Ban Thap Boek. This market is central to vegetables trading for the northern region. In terms of labor, most Hmong hill tribe members primarily use household labor, and probably hire outside labor, especially during cutting cabbage for sales, as merchants will be waiting to buy. Having to work against the clock, funding for Hmong cabbage plantation is intensively based on capital under the capitalist economics, with which Hmong’s growing of crops is no longer for subsistence like in the past, but focused on trade, as evidenced by the acceleration of higher yield of crop per unit area and the introduction of intensive use of production technology. The research findings also reveal that the Hmong hill tribe of Ban Thap Boek is influenced by commercial agricultural production system, which can be seen from the high reliance on markets outside the village. Hmong members of Ban Thap Boek take over the economic status better when compared to the past, and change the culture of dress.

Article Details

How to Cite
วงษ์วัฒนพงษ์ ก. (2016). ผลกระทบของระบบการผลิตเกษตรเชิงพาณิชย์ต่อกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง. JOURNAL OF SOUTHERN TECHNOLOGY, 9(1), 69–74. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/journal_sct/article/view/82437
Section
Research Manuscript