พฤติกรรมของผู้ดูแลในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่

Main Article Content

ศิริรักษ์ เกียรติเฉลิมพร
อารี พุ่มประไวทย์
วันเพ็ญ แก้วปาน

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมของผู้ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ในอำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ และปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของผู้ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ในอำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้มีจำนวน 120 คน เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และวิเคราะห์ความสัมพันธ์โดยการหาค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติทดสอบไคสแควร์

ผลการวิจัยพบว่า ผู้ดูแลผู้สูงอายุมีความรู้ในการดูแลสุขภาพโดยรวมเฉลี่ยอยู่ในระดับปานกลาง (\inline \bar{X}=7.92, S.D.=2.53) ทัศนคติต่อการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้อยู่ในระดับปานกลาง (\inline \bar{X}=36.33, S.D.=4.31) ปัจจัยเอื้ออยู่ในระดับปานกลาง (\inline \bar{X}=7.88, S.D.=1.56) ปัจจัยเสริมอยู่ในระดับปานกลาง (\inline \bar{X}=15.57, S.D.=3.17) และพฤติกรรมในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุอยู่ในระดับปานกลางโดยรวม (\inline \bar{X}=78.99, S.D.=11.48) ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของผู้ดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ ได้แก่ ความสัมพันธ์กับผู้สูงอายุ ระดับการศึกษา รายได้ของครอบครัว ทัศนคติต่อการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ และปัจจัยเสริมมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมของผู้ดูแลผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

 

Caregivers’ Behavior in Caring for the Disabled Elderly Persons in Mueang District, Krabi Province

The purposes of this study were to investigate the caregivers’ behavior in caring for the elderly persons who were unable to help themselves in Mueang District, Krabi Province, and to determine the factors related to the caregivers’ behavior in caring for the elderly persons who were unable to help themselves in Mueang District, Krabi Province. A sample of 120 caregivers in Mueang District, Krabi Province was selected using simple random sampling. The research instrument was a questionnaire which had a reliability coefficient of .858. The mean, percentage, Pearson correlation coefficient, and Chi-square test were applied in the data analysis.

The results revealed that the caregiver’s knowledge in caring for the elderly persons was at a moderate level (\inline \bar{X}=7.92, S.D.=2.53), attitude toward caring for the elderly persons who were unable to help themselves was at a moderate level (\inline \bar{X}=36.33, S.D.=4.31), enabling factors was at a moderate level (\inline \bar{X}=7.88, S.D.=1.56), reinforcing factors was at a moderate level (\inline \bar{X}=15.57, S.D.=3.17), and the behavior in caring for the elderly persons was at a moderate level (\inline \bar{X}=78.99, S.D.=11.48). Factors resulting to the caregivers’ behavior in caring for the elderly persons who were unable to help themselves had significant relationships with the elderly, education level, family income, attitude toward caring for the elderly persons who were unable to help themselves, and reinforcing factors at .05 level.

Article Details

How to Cite
เกียรติเฉลิมพร ศ., พุ่มประไวทย์ อ., & แก้วปาน ว. (2016). พฤติกรรมของผู้ดูแลในการดูแลสุขภาพผู้สูงอายุที่ช่วยเหลือตนเองไม่ได้ อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่. JOURNAL OF SOUTHERN TECHNOLOGY, 9(1), 83–90. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/journal_sct/article/view/82441
Section
Research Manuscript