ความชุกของการควบคุมความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจังหวัดพัทลุง

Main Article Content

ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์
สมเกียรติยศ วรเดช
รัตนา รุณแสง
ฐิติมา ชูใหม่
จิรพงษ์ แสงทอง

Abstract

การศึกษาระยะยาวครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความชุกของการควบคุมความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงในจังหวัดพัทลุง ประชากรที่ศึกษา คือ ผู้ป่วยที่ได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ว่าป่วยด้วยโรคความดันโลหิตสูงที่เข้ารับการรักษาและขึ้นทะเบียนในฐานข้อมูลโรคเรื้อรังจังหวัดพัทลุง ระหว่างปี พ.ศ. 2553-2556 จำนวน 56,091 คน ตัวแปรที่ศึกษา คือ ความชุกของการควบคุมความดันโลหิต (<140/90 mmHg) วิเคราะห์ข้อมูลคุณลักษณะทางประชากรปัจจัยเสี่ยงและการควบคุมความดันโลหิตด้วยสถิติเชิงพรรณนา ผลการศึกษาความชุกของการควบคุมความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจังหวัดพัทลุง ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553–2556 พบว่า ความชุกของการควบคุมความดันโลหิตตัวบนได้ เท่ากับร้อยละ 65.11, 64.76, 64.90 และ 69.21 ตามลำดับ และการควบคุมความดันโลหิตตัวล่างได้ เท่ากับร้อยละ 87.21, 86.18, 86.73 และ 90.33 ตามลำดับ จากผลการศึกษาดังกล่าว บุคลากรสาธารณสุขควรส่งเสริมและจัดกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการดูแลสุขภาพตนเองในกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูง เพื่อเพิ่มอัตราการควบคุมความดันโลหิตในกลุ่มผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงให้ได้ผลเพิ่มขึ้น นอกจากนี้ ควรใช้ข้อมูลจากฐานข้อมูลโรคเรื้อรังในการควบคุมกำกับและประเมินผล และวางแผนจัดกิจกรรมดูแลผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงได้อย่างมีประสิทธิภาพ
      

Prevalence of Controllable Blood Pressure among Hypertensive Patients in Phatthalung Province

The purpose of this study was to investigate prevalence of controllable blood pressure among hypertensive patients in Phatthalung province. Of these, 56,091 hypertensive patients were diagnosed by physicians and registered into the Phatthalung provincial chronic diseases databases between 2010 and 2013 were included. The study variable was prevalence of controllable blood pressure (<140/90 mmHg). Demographic characteristics, risk factors and controllable blood pressure were analyzed using descriptive statistics. The main results revealed that prevalence of controllable systolic blood pressure was 65.11, 64.76, 64.90 and 69.21, respectively. In addition, the prevalence of controllable diastolic blood pressure was 87.21, 86.18, 86.73 and 90.33, respectively. The results suggested that health promoting activities related to self-health care should be established in order to promote and increase prevalence of controllable blood pressure. In addition, the information of chronic database should be monitored, evaluated and planned to providing health care activities among hypertensive patients effectively.

Article Details

How to Cite
ไชยเมล์ ป., วรเดช ส., รุณแสง ร., ชูใหม่ ฐ., & แสงทอง จ. (2016). ความชุกของการควบคุมความดันโลหิตในผู้ป่วยโรคความดันโลหิตสูงจังหวัดพัทลุง. JOURNAL OF SOUTHERN TECHNOLOGY, 9(1), 103–110. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/journal_sct/article/view/82445
Section
Research Manuscript