บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดูแลผู้สูงอายุไทย

Main Article Content

สุดารัตน์ สุดสมบูรณ์
วิรัตน์ ธรรมาภรณ์
ทวีศักดิ์ พุฒสุขขี
ปุญญพัฒน์ ไชยเมล์

Abstract

การศึกษานี้เป็นการศึกษาจากการทบทวนเอกสาร บทความ งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง รวมถึงการสัมภาษณ์ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ทั้งนี้เพื่อศึกษาถึงบทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการให้การสงเคราะห์และการดูแลผู้สูงอายุ รวมถึงแนวคิดของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการเตรียมพร้อมรับการเป็นสังคมผู้สูงอายุในท้องถิ่นนั้น ๆ

ผลการศึกษาพบว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นองค์กรของรัฐที่อยู่ใกล้ชิดกับประชาชน ได้รับทราบถึงปัญหาและความต้องการด้านต่าง ๆ ของประชาชนมากที่สุด ได้ให้การสงเคราะห์และดูแลผู้สูงอายุเป็นไปตามอำนาจหน้าที่ที่ระบุไว้ในกฎหมายแต่ละประเภทตามรัฐธรรมนูญ ซึ่งถือว่าเป็นกฎหมายหลักในการบริหารประเทศ พระราชบัญญัติที่เกี่ยวข้องต่าง ๆ และนโยบายของรัฐบาลในแต่ละยุค รวมทั้งนโยบายของผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีการเตรียมความพร้อมรับมือสังคมผู้สูงอายุ ที่กำลังอยู่ในระยะเริ่มต้น เช่น การจ่ายเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ การจัดตั้งชมรมผู้สูงอายุ ระบบการบริหารจัดการเชิงรุก เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่ยังปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดหรือตามนโยบายของผู้บริหารในระดับต่าง ๆ ซึ่งถือว่าเป็นงานที่ทุกองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นถือปฏิบัติอย่างเคร่งครัด เนื่องจากเป็นส่วนหนึ่งในการส่งเสริมสวัสดิการหรือการสงเคราะห์ให้กับผู้สูงอายุ นอกจากนี้มีแนวคิดว่า องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นจะต้องเป็นหน่วยงานหลักในการส่งเสริมและสนับสนุนการให้การสงเคราะห์และดูแลผู้สูงอายุ โดยบูรณาการการทำงานร่วมกับทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นครอบครัว ชุมชน องค์กรต่าง ๆ ทั้งภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อเตรียมความพร้อมให้กับประชาชนก่อนเข้าสู่วัยสูงอายุ ซึ่งหมายความว่าจะต้องเตรียมความพร้อมให้กับวัยแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นด้านการออม ด้านการดูแลรักษาสุขภาพ และด้านสังคม รวมทั้งส่งเสริมและสนับสนุนให้ครอบครัวและชุมชน ตระหนักถึงความสำคัญ คุณค่าของผู้สูงอายุ เพราะผู้สูงอายุเปรียบเสมือนผู้ทรงคุณค่าของสังคม

 

Role of Local Government Organization for Elderly Care

This study aimed to examine roles of Local Government Organizations (LGO) across Thailand in promoting elderly care and assistance and the LGO administrators’ beliefs in preparing aging members of the community. The data were obtained from reviews of related literature and semi-structured interviews with two LGO Administrators. It was found that LGOs as the closest government agencies to people, are aware of local problems and community needs. Accordingly, they implement elderly care and assistance policy as prescribed by law as well as by respective local LGOs. Moreover, they establish several aging initiatives especially to those who newly enter elderly years. For example, distributing elderly allowances, elderly clubs are executed to promote elderly welfare. In terms of beliefs about elderly care, the administrators focus on the importance of cooperation of individuals from different social levels and organizations such as family, communities, private and public sectors. This can also raise aging awareness among those who are in pre-elderly period. This means that people of all professions must be taught on how to cope with aging in different planning such as saving, health care and social education. Also, their families and communities should be made aware on the importance value of elderly . Because elderly as valued in society.


Article Details

How to Cite
สุดสมบูรณ์ ส., ธรรมาภรณ์ ว., พุฒสุขขี ท., & ไชยเมล์ ป. (2016). บทบาทขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในการดูแลผู้สูงอายุไทย. JOURNAL OF SOUTHERN TECHNOLOGY, 9(1), 121–128. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/journal_sct/article/view/82452
Section
Academic Manuscript