ความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการบริโภคไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ ที่แผนกฝากครรภ์โรงพยาบาลเขาพนม อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่

Main Article Content

พิราภรณ์ แหลมสัก

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเชื่อด้านสุขภาพ พฤติกรรมการบริโภคและความสัมพันธ์ระหว่างความเชื่อด้านสุขภาพกับพฤติกรรมการบริโภคสารไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์ที่มาฝากครรภ์ที่โรงพยาบาลเขาพนม อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่ ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์-เมษายน พ.ศ. 2555 เลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง ตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 84 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสัมภาษณ์ได้รับการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญได้ค่า IOC=.94 แบบสอบถามความเชื่อด้านสุขภาพมีค่าความเชื่อมั่น .91 และแบบสอบถามพฤติกรรมการบริโภคสารไอโอดีนเท่ากับ .71 การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน

ผลการวิจัยพบว่า ความเชื่อด้านสุขภาพโดยรวมกับพฤติกรรมการบริโภคสารไอโอดีนมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับค่อนข้างสูงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (r=.70, p<.00) เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า การรับรู้โอกาสเสี่ยงต่อการเกิดโรคขาดสารไอโอดีนมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับค่อนข้างสูง (r=.72, p<.00) การรับรู้ความรุนแรงของโรคขาดสารไอโอดีน มีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับปานกลาง (r=.64, p<.00) ส่วนการรับรู้ประโยชน์ของการบริโภคอาหารที่มีสารไอโอดีนและการรับรู้อุปสรรคของการป้องกันโรคขาดสารไอโอดีนมีความสัมพันธ์ทางบวกในระดับต่ำกับพฤติกรรมการบริโภคสารไอโอดีน (r=.40, p<.00 และ r=.34, p<.001) ตามลำดับ

ข้อเสนอแนะจากการวิจัย คือ (1) บุคลากรทีมสุขภาพควรคำนึงถึงอุปสรรคของการปฏิบัติเชิงพฤติกรรมการบริโภคอาหารที่มีสารไอโอดีน (2) จัดช่องทางการให้ความรู้ที่หลากหลาย (3) ควรศึกษาในลักษณะเดียวกันในกลุ่มประชากรหญิงตั้งครรภ์ในพื้นที่อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่และพื้นที่อื่น ๆ และ (4) ควรมีการศึกษาปัจจัยทางสังคมและวัฒนธรรมบางประการ เช่น อาชีพ งานเลี้ยงและประเพณี เพื่อนำผลการวิจัยไปปรับปรุงในการศึกษาครั้งต่อไป

 

Relationships between Health Belief Model and Iodine Consumption Behavior of Pregnant Women Attending Antenatal Unit at Khao Panom Hospital, Khao Panom District, Krabi Province

This research aimed to examine the relationship between their health beliefs and iodine consumption of pregnant women who attended antenatal visits at the antenatal unit, Khao Panom Hospital, Khao Panom District, Krabi Province. The sample included 84 pregnant women who attended antenatal visits at Khao Panom hospital during February-April 2012. Structured interviews with questionnaire items derived from comprehensive literature review were conducted for data collection. The item contents were approved by three professionals in the field, having IOC=0.94. Cronbach’s alpha reliabilities show inter-item correlation of 0.91 on health belief, and 0.71 on iodine consumption. The data were analyzed using descriptive statistics and Pearson product moment correlation.

Results showed fairly high correlation between overall health beliefs and iodine consumption (r=0.70, p<0.00). Examining  each dimension of their health beliefs, correlation between perceived risk of iodine consumption deprivation and iodine consumption was rather high (r=0.72, p<0.00) and correlation between perceived severity of illness and iodine consumption was fairly high (r=0.64, p<0.00). The other two dimensions of health belief, including perceived benefits of iodine food consumption and perceived difficulty of iodine deprivation prevention, had low correlations with iodine consumption (r=0.40, p<0.00 and r=0.34, p<0.01) respectively.

This study recommends that (1) health department personnel offer more preventive programs to ensure high levels of iodine consumption concerning among pregnant women,
(2) health department personnel provide more useful information of iodine consumption to pregnant women via multiple communication channels, (3)  the future study should include pregnant women in other areas of Krabi province, and (4) it should include some societal and cultural dimensions as the main factors influencing iodine consumption of the pregnant women e.g. career, meeting and culture for improvement in the further study.


Article Details

How to Cite
แหลมสัก พ. (2015). ความสัมพันธ์ระหว่างแบบแผนความเชื่อด้านสุขภาพและพฤติกรรมการบริโภคไอโอดีนของหญิงตั้งครรภ์ที่มารับบริการฝากครรภ์ ที่แผนกฝากครรภ์โรงพยาบาลเขาพนม อำเภอเขาพนม จังหวัดกระบี่. JOURNAL OF SOUTHERN TECHNOLOGY, 8(2), 39–46. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/journal_sct/article/view/82468
Section
Research Manuscript