ภาวะผู้นำของผู้บริหารตามทัศนะของครูมัธยมศึกษา ในจังหวัดนครศรีธรรมราช

Main Article Content

กัลยา พรมทิพย์

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารตามทัศนะของครูมัธยมศึกษาในจังหวัดนครศรีธรรมราช 4 ด้าน คือ ด้านการสร้างบารมี ด้านการสร้างแรงบันดาลใจ ด้านการกระตุ้นเชาวน์ปัญญา และด้านการคำนึงถึงเอกัตบุคคล (2) เปรียบเทียบภาวะผู้นำของผู้บริหารตามทัศนะของครูมัธยมศึกษาในจังหวัดนครศรีธรรมราช ตามตัวแปร เพศ ตำแหน่งวิทยฐานะ ประสบการณ์ในการทำงาน และขนาดโรงเรียน และ (3) ศึกษาข้อเสนอแนะเกี่ยวกับภาวะผู้นำของผู้บริหารตามทัศนะของครูมัธยมศึกษาในจังหวัดนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ ครูที่ปฏิบัติการสอนโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดนครศรีธรรมราช ปีการศึกษา 2556 จำนวน 341 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม จำนวน 60 ข้อ ความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ .98 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบพหุคูณด้วยวิธี LSD

ผลการวิจัยพบว่า (1) ภาวะผู้นำของผู้บริหารโดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับสูง (2) ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำของผู้บริหารตามทัศนะของครูพบว่า ครูที่มีเพศต่างกัน ประสบการณ์ในการทำงานต่างกัน และขนาดโรงเรียนต่างกัน มีทัศนะต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารโดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05, .001 และ .05 ตามลำดับ สำหรับครูที่มีตำแหน่งวิทยฐานะต่างกันมีทัศนะต่อภาวะผู้นำของผู้บริหารโดยภาพรวมและพิจารณารายด้านไม่แตกต่างกัน และ (3) ข้อเสนอแนะของครูเกี่ยวกับภาวะผู้นำของผู้บริหารที่มีความสำคัญประกอบด้วย (3.1) บริหารด้วยหลักธรรมาภิบาล (3.2) ประพฤติตนเป็นแบบอย่างที่ดีต่อผู้ใต้บังคับบัญชา (3.3) มีความรู้ความสามารถและวิสัยทัศน์กว้างไกลในการบริหาร (3.4) ส่งเสริมการพัฒนาตนเองของผู้ใต้บังคับบัญชาอย่างต่อเนื่อง และ (3.5) มอบหมายงานอย่างโปร่งใสโดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล

 

Administrators Leaderships as Perceived by Secondary School Teacher in Nakhon Si Thammarat

The objectives of this research were to (1) investigate high school teachers’ perceptions of administrators’ leadership behaviors in four areas namely: building popularity, providing incentives, stimulating intellects, and considering one’s individuality; (2) compare their leadership behaviors according to variables of gender, position, work experience, and school size; and (3) examine suggestions regarding their leadership. A sample of 341 teachers who worked in high schools in Nakhon Si Thammarat in 2013 was selected for the study. A questionnaire of 60 items which had a reliability of .98 was used as the instrument to collect the data. The statistics used for data analysis included percentages, estimating of means, one-way ANOVA and LSD.

The finding revealed that the administrators’ leadership were rated as high. Surprisingly, differences in genders, work experiences of the teachers and school size resulted in significant differences in their perceptions of administrators’ leadership at .05, .001, and .05 levels, respectively. Nevertheless, differences in positions of the teachers did not affect differences in their perceptions. There are five suggestions given by the teachers regarding their leadership. First, they should observe morality in their execution. Second, they should exhibit exemplary characters to their subordinates. Third, they must be capable and have good visions in administrating human resources. Fourth, they should promote constant development of the subordinates. Finally, they should consider individual differences when assigning works.

Article Details

How to Cite
พรมทิพย์ ก. (2015). ภาวะผู้นำของผู้บริหารตามทัศนะของครูมัธยมศึกษา ในจังหวัดนครศรีธรรมราช. JOURNAL OF SOUTHERN TECHNOLOGY, 8(2), 79–90. Retrieved from https://so04.tci-thaijo.org/index.php/journal_sct/article/view/82765
Section
Research Manuscript